ประธาน FETCO ชี้คะแนนพปชร.ดีเกินคาด ส่งผลตั้งรบ.เร็วขึ้น หนุนสานโครงการต่อเนื่อง

ประธาน FETCO ชี้คะแนนพปชร.ดีเกินคาด ส่งผลตั้งรบ.เร็วขึ้น หนุนสานโครงการต่อเนื่อง


สืบเนื่องจากกรณีที่วานนี้ (24 มีนาคม 2562) มีการปิดหีบการเลือกตั้ง และเริ่มนับคะแนนเสียงในแต่ละเขต โดยขณะนี้นับคะแนนเสียงได้ประมาณ 94% จากทั้งหมด โดยผลการเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทย คะแนนเสียงยังคงสูสีกัน และยังไม่มีผลออกมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะต้องจับตาการแถลงข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในเวลา 14.00 น. ของวันนี้

โดยในประเด็นดังกล่าว นายไพบูล นลินทรางกูร ประธานกรรมการสถาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO ) เปิดเผยผ่านรายการ “ข่าวหุ้นเจาะตลาด” ออกอากาศทาง Facebook Live ข่าวหุ้นธุรกิจ และสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) FM 102 MHz. หลังการผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการแต่ผลที่ออกมาดีเกินคาด โดยเฉพาะคะแนนฝั่งพรรคพลังประชารัฐ แต่หากมองในแง่การลงทุนถือว่ามองในแง่การของการจัดตั้งรัฐบาลหากวิเคราะห์คือ

ในกรณีหากฝั่งพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาลต้องรอให้สภาเปิด ซึ่งต้องรอประมาณ 60 วัน และมาลุ้นด้วยว่าผลการโหวตจาก สว. 250 เสียง ว่าจะสนับสนุนหรือไม่ตรงนี้ก็อาจจะเกิดความอึมครึมในการลงทุน

อย่างไรก็ตามหากในกรณีพรรคพลังประชารัฐได้เสียงข้างมากและเป็นแกนนำในการจัดตั้งความชัดเจนก็เกิดความชัดเจนขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ เพราะเชื่อว่าสว.ก็น่าจะโหวตให้พรรคพลังประชารัฐอยู่แล้ว

สำหรับการเลือกตั้งหากชัดเจนภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลในแง่โอกาสและข้อดีคือ ความต่อเนื่องหากพรรคพลังประชารัฐกลับเข้ามาใหม่ โดยมองว่านโยบายในชุด 5 ปีที่ผ่านมาก็น่าจะประสานกันต่อไป และมีนโยบายจากพรรคร่วมรัฐบาลอื่นเข้ามาด้วย แต่หลักๆนโยบายเศรษฐกิจกระทรวงหลักๆก็น่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐซึ่งจะได้คุมสภา และความต่อเนื่องในโครงการใหญ่ๆโดยเฉพาะโครงสร้างการลงทุนพื้นฐานที่จะเดินหน้าต่อไป

ส่วนความเสี่ยงคือ คะแนนเสียงระหว่างพรรคพลังประชารัฐ และเพื่อไทยหากคะแนนเสียงห่างกันไม่มาก ทางพรรคเพื่อไทยอาจได้คะแนนเสียงรวมไม่ถึง 250 เสียง ส่วนพรรพลังประชารัฐอาจจะมีที่ 270 เสียง โดยคะแนนเสียงที่ห่างกันไม่มากนั้น มองว่าอาจมีปัญหาในเรื่องเสถียรภาพรัฐบาล เนื่องจากการจัดทำนโยบาย และออกกฎหมายสำคัญได้ยากขึ้น

ส่วนในเชิงปัจจัยพื้นฐาน มองว่าหากยังเป็นพรรครัฐบาลชุดเดิมกับนโยบายเดิม เชื่อว่านักวิเคราะห์ยังคงประมาณการเศรษฐกิจแบบเดิม หรืออาจจะมีการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยต้องดูสถานการณ์การในต่างประเทศว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้มากน้อยขนาดไหน รวมถึงตัวเลขการบริโภคภายในประเทศช่วงครึ่งปีหลังอีกด้วย

https://youtu.be/YmsN5fgLW14

Back to top button