GUNKUL บวกต่อ 2% นิวไฮรอบ 1 ปี โบรกฯมองกำไรขาขึ้น วางเป้า 4.70 บ. อัพไซด์พุ่งปรี๊ด!

GUNKUL บวกต่อ 2% โบรกฯมองกำไรขาขึ้น วางเป้า 4.70 บ. อัพไซด์พุ่งปรี๊ด! ล่าสุดอยู่ที่ 3.14 บาท บวก 0.06 บาท หรือ 1.95% มูลค่าซื้อขาย 211.78 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ล่าสุด ณ เวลา 11.07 น. อยู่ที่ 3.14 บาท บวก 0.06 บาท หรือ 1.95% สูงสุดที่ 3.18 บาท ต่ำสุดที่ 3.10 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 211.78 ล้านบาท และยังมีอัพไซด์จากราคาเป้าหมาย 4.70 บาท อยู่ที่ 49.68%

ทั้งนี้ ราคาหุ้น  GUNKUL ปรับตัวขึ้น 2 วันติด นับตั้งแต่ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 2.98 บาท เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2562 และยังปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 3.15 บาท เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2561

ด้าน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อ” GUNKUL ราคาเป้าหมาย 4.70 บาท/หุ้น โดยคาดกำไรไตรมาส 2/62 เติบโตดีขึ้นจากไตรมาส 1/62 ที่ 225 ล้านบาท หนุนด้วยโซลาร์ฟาร์ม Kimitsu ที่เริ่มผลิตใน เม.ย.62 อีกทั้งประเมินกำไรปกติปี 62-63 เพิ่มเป็น 1,698-1,816 ล้านบาท เติบโต 29%CAGR โดยได้แรงหนุนจากโรงไฟฟ้าพลังลม 170 MW ซึ่งคาดว่าจะสร้างกำไรราว 900-1,000 ล้านบาท/ปี ด้วย adder 3.50 บาท/kwh เป็นเวลา 10 ปีเริ่มในปี 61

รวมทั้งธุรกิจก่อสร้าง (EPC) โดย บริษัทย่อย FEC มีโครงการในมือ (Backlog) ราว 7 พันล้านบาท (ไตรมาส 1/62) คาดจะรับรู้รายได้ปี 62 ราว 2.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้ที่ 8 พันล้านบาท จากธุรกิจพลังงานทดแทน 4 พันล้านบาท ธุรกิจ EPC 2.6 พันล้านบาท+Trading 1.4 พันล้านบาท หากเป็นไปตามคาด ถือเป็น upside risk ต่อประมาณกำไรของบล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

สำหรับการเติบโตของกำไรในระยะยาว มาจากธุรกิจพลังงานทดแทนและก่อสร้าง (EPC) เป็นหลัก โดย 1) ธุรกิจพลังงานทดแทน บริษัทตั้งเป้าหมาย 1 พันเกะวัตต์ภายในปี 2563 ปัจจุบันมีโครงการในมือ 542.4 MW แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่เปิดผลิตแล้ว 348 MW (ไตรมาส 1/62) และอีก 194.4 MW จะทยอยเริ่มผลิตในไตรมาส 2/62-ปี 2565 (+16% CAGR)

ส่วนที่เหลือมาจากโครงการใหม่ 458 MW ได้แก่ 1) โครงการ Private PPA ในไทย ตามแผน PDP 2018 คาดหวังจะได้ Solar rooftop ราว 70 MW/ปี 2) ในต่างประเทศ (300 MW) ได้แก่ โรงไฟฟ้าในมาเลเซีย 3 โครงการ กำลังผลิต 60+60+40=160 MW ซึ่งจะเปิดประมูลใน ส.ค.262 คาดหวังจะได้ราว 100 MW และไต้หวัน กำลังผลิตรวม 140 MW ประกอบด้วย Solar Farm ราว 40 MW และพลังลม 100 MW ส่วน Solar Farm ในเวียดนาม บริษัทอยู่ระหว่างเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าที่เปิดผลิต COD แล้ว ขนาด 100-150 MW คาดหวังจะได้ 40-50 MW

รวมทั้ง 2) ธุรกิจ EPC โดยบริษัทจะเข้าร่วมประมูล 3 โครงการใหญ่ของภาครัฐ มูลค่าราว 5 พันล้านบาท ได้แก่ โครงการเคเบิ้ลใต้ทะเล ที่เกาะสมุย (1.8 พันล้านบาท) เกาะเต่า (1.5-1.7 พันล้านบาท) และอีก 1 พันลบ.จากโครงการของ กฟภ. โดยคาดหวังจะได้รับงาน 50% รวมทั้งตั้งเป้าหมาย Backlog เพิ่มเป็น 1 หมื่นลบ. ณ สิ้นปี 62 โดยอิงจากมูลค่าโครงการที่เปิดประมูลของภาครัฐราว 3.4 หมื่นล้านบาท/ปี คาดหวังจะได้รับงาน 10% ขณะที่ Backlog ดังกล่าว จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 3 ปี (3 พันลบ./ปี)

Back to top button