“บล.เออีซี”ชี้ SET วันนี้ Sideway รอทิศทางการประชุม กนง. ชู 6 หุ้นเด่นเน้น 4 ธีมหลัก
“บล.เออีซี”ชี้ SET วันนี้ Sideway รอทิศทางการประชุม กนง. ชู 6 หุ้นเด่นเน้น 4 ธีมหลัก
บล.เออีซี ประเมินดัชนีวันนี้ (26 มิ.ย.62) ช่วงสั้นมอง SET INDEX กลับมา Sideway ในกรอบ 1,715-1,725 จุด หลังขาดปัจจัยหนุนใหม่ และอยู่ระหว่างรอทิศทางการประชุม กนง.
Investment Strategy
ภาพระยะกลางมอง SET Index มีโอกาสแกว่งขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 1,730 จุด หลังได้แรงหนุนจากสภาพคล่องทางการเงินในต่างประเทศที่มีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นทั้งในจีน และ EU บวกกับผลการประชุม Fed ครั้งล่าสุดที่ส่งสัญญาณ? Dovish มากขึ้น อีกทั้งมีแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่คาดปรับขึ้นเด่นตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ช่วงปลายสัปดาห์ยังคงต้องจับตาการพูดคุยระหว่างผู้นำสหรัฐฯและจีนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสงครามการค้า หลังประชุม G20 วันที่ 28-29 มิ.ย.? เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วงถัดไป ดังนั้นจึงยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นเด่น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
กลุ่มเนื้อสัตว์: คาดได้อานิสงส์บวกจากราคาเฉลี่ยของเนื้อหมูและเนื้อไก่ในประเทศช่วง 5M62 เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยของปี 61 ราว 25.9% และ 9.5% ตามลำดับอีกทั้งมีแรงหนุนจากต้นทุนกากถั่วเหลืองนำเข้าที่มีราคาเฉลี่ย 5M62 ลดลงจากราคาเฉลี่ยของปี 61 ราว 4% แนะนำ CPF (ช่วงไตรมาส1/62 กำไรเติบโต 40.37%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากธุรกิจสุกรของไทย เวียดนาม และกัมพูชา ปรับตัวดีขึ้น เพราะราคาสุกรที่ลดต่ำลงในปีที่แล้วกลับเข้ามาสู่สภาวะปกติรวมทั้งการบริหารจัดการด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ส่วนภาพทั้งปีมองสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ระบาดในประเทศจีนส่งผลให้ราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้น)
กลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น: ด้วยอานิสงส์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นโดย YTD ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯราว 2.13% เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งปี 61 และ 2QTD ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯราว 0.91% เทียบกับค่าเฉลี่ยช่วง 2Q61 โดยเลือกหุ้นนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ได้ประโยชน์ดังกล่าวจากต้นทุนสินค้าถูกลง ได้แก่ SYNEX (ตั้งเป้าปีนี้รายได้เติบโต ไม่ต่ำกว่า 15% นำโดยสินค้าประเภทอุปกรณ์สื่อสารและสินค้ากลุ่มคอมเมอร์เชียลที่มีแนวโน้มเติบโตสูงบวกกับมีแผนเพิ่มกลุ่มสินค้าใหม่ทั้ง Gaming, Cloud service, Security และ Internet of Things) และ HARN (คาดกำไรปี 62 เติบโต 12.7%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก Backlog ณสิ้น ไตรมาส1/62 อยู่ที่ 520.7 ลบ. และมีโอกาสได้งานต่อเนื่องจากโครงการภาครัฐและเอกชน อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันเทรด ForwardPER ปีนี้ที่ระดับ 8.92x)
กลุ่มค้าปลีก: คาดได้ประโยชน์จากการเมืองไทยที่ชัดเจนมากขึ้นบวกกับได้อานิสงส์บวกจากนโยบายกระตุ้น ศก. ของรัฐบาลชุดใหม่ที่คาดมุ่งเป้ามาที่การบริโภคของภาคเอกชนเป็นอันดับต้นๆ แนะนำ CPALL (ตั้งเป้ายอดขายปี 62 โตไม่ต่ำกว่า 7%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หนุนด้วยแผนเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่องที่ 700 สาขา ส่วนภาพใหญ่มีเป้าหมายใหม่ที่จะขยายสาขาให้ครบ 13,000 สาขาภายในปี 2564)
กลุ่มหุ้นกระแสเงินสดแข็งแกร่ง: ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นเลือกหุ้นที่มีความมั่นคงทางกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ได้แก่ กลุ่มพลังงานทางเลือก แนะนำ TPCH (แม้ช่วง ไตรมาส1/62 กำไรโตเพียง 4.4%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะมีโรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ดีมองระยะยาวมีแนวโน้มโตสดใสจากเป้าปี 63 จะเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็น 200 MW และโรงไฟฟ้าจากขยะกำลังการผลิต 50 MW จากปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 60 MW, โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 49 MW และโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา 10 MW) และ BAFS (กำไรสุทธิช่วง ไตรมาส1/62 เติบโต 7.8%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.9%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปี 62 ตั้งเป้ารายได้โต 8-9%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป้าปริมาณการเติมน้ำมันโต 4%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับเริ่มรับรู้รายได้ท่อส่งน้ำมันบางปะอิน-พิจิตร และเตรียมเข้าประมูลโครงการจัดเก็บและเติมน้ำมันในสนามบินอู่ตะเภา)
Trading Idea
กลุ่มเรือเทกอง: คาดผลประกอบการช่วง ไตรมาส2/62 จะฟื้นตัวจากช่วง ไตรมาส1/62 หลัง BDIY Index ในช่วง 2QTD ฟื้นตัวกว่า 20.1% เทียบกับช่วง ไตรมาส1/62 ซึ่งสูงกว่าการปรับขึ้นของต้นทุนราคาน้ำมันโดย WTI CRUDE FUTURE ช่วง 2QTD เพิ่มขึ้นเพียง 6.5% เทียบกับช่วง ไตรมาส1/62 มองหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ PSL ปัจจุบันเทรด Trailing PBV ที่ระดับ 1xต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV 10 ปีย้อนหลังที่ 1.14x
กลุ่มธนาคาร: มองเป็นกลุ่มที่ราคาน่าดึงดูด จากปัจจุบันซื้อขายที่ P/BV ต่ำเพียง 1.04x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังช่วง 3 ปีที่ 1.19x อีกทั้งหลังมีการรายงานแบบ ธ.พ.1.1พบหุ้นในกลุ่มธนาคารที่มีอัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อโดดเด่นได้แก่ BAY (+8.1%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) และ KTB (+6.6%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน)