“เครดิตสวิส” มองหุ้น “พลังงาน-ปิโตรฯ” เข้าสู่ยุคเปราะบาง ชูกลุ่ม “บริโภค” ยืนเหนือตลาด

“เครดิตสวิส” มองหุ้น “พลังงาน-ปิโตรฯ” เข้าสู่ยุคเปราะบาง ชูกลุ่ม “บริโภค” ยืนเหนือตลาด


บริษัทหลักทรัพย์ เครดิตสวิส ออกบทวิเคราะห์ประเมินเกี่ยวกับตลาดหุ้นไทย โดยมองว่าขณะนี้ถือเป็นไทยถือเป็นตลาดที่มีผลงานดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น (AxJ) นับจากต้นปีมาถึงช่วงเวลาปัจจุบันเช่นเดียวกันประเทศฮ่องกง ขณะที่ปัจจัยบวกส่วนมากที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยขึ้นมาถึงจุดนี้มาจากแรงกระตุ้นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ประเทศไทยรั้งอยู่อันดับที่ 4 ใน AxJ เท่ากับประเทศจีน แต่ในเวลาเพียงแค่หนึ่งเดือนประเทศไทยกลับตีขึ้นมาเป็นผู้นำในภูมิภาคได้

ด้านความผกผันอย่างฉับพลันของกระแสเงินที่ไหลออกไปต่างประเทศอธิบายถึงความแข็งแกร่งแบบใหม่ของประเทศไทย ประมาณห้าเดือนมาจนถึง 25 พฤษภาคมที่ MSCI ปรับสมดุล

โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 2 ตลาดที่ประสบกับยอดขายสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ แต่เปิดการซื้อขายในวันทำการต่อมาซึ่งเป็นวันที่ 27 พฤษภาคม ประเทศไทยได้เห็นการไหลเข้ามาอย่างหนักของกระแสเงินด้วยยอดการซื้อสุทธิ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นยอดที่มากกว่าการซื้อสุทธิของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียยกเว้นจีน (EM Asia ex-China) อยู่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตามเม็ดเงินที่ไหลเข้ามากำลังสูญเสียแรงกระตุ้นไป ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะดึงดูดกระแสเงินให้ไหลเข้ามามากกว่าตลาดอื่นๆ ในช่วงสามอาทิตย์แรกหลังจากการปรับสมดุลของ MSCI แต่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกลับเสียตำแหน่งผู้นำของตลาดให้กับไต้หวัน

ทั้งนี้ จากการไหลเข้ามาของเงินทุนทำให้ตลาดไทยดูมีมูลค่าขึ้นมาอีกครั้ง โดย P/E อยู่ในระดับใกล้กับจุดสูงสุดของภาวะช่วงหลังวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ (Global Financial Crisis) ส่วนมูลค่าแบบสัมพัทธ์ P/E กับ AxJ นั้น มากกว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี

ทั้งนี้ เครดิต สวิสยังไม่เห็นถึงตัวเร่งสำหรับการปรับระดับเรตติ้งในครั้งต่อๆ ไป อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้และถูกนำไปรวมกับการปรับสมดุลตลาดของ MSCI คือการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายก แต่ดูเหมือนจะไม่มีประเด็นการเมืองอื่นๆ ที่สามารถมาเป็นตัวเร่งให้กับตลาดได้อีกแล้ว

อย่างไรก็ตาม เครดิต สวิส มองว่าตลาดพลังงาน ปิโตรเคมี สยามซีเมนต์ (หรือที่เรียกกันว่าหุ้นวัฏจักร) และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ดูจะเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ตามด้วยกลุ่มการแพทย์ใหญ่ๆ นอกจากนั้นแล้วการมีรัฐบาลผสมจะทำให้โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ต่างๆ ของประเทศช้าลง

ขณะที่กลุ่มหุ้นวัฏจักรถูกลดความสำคัญลง อธิบายได้จากการ EPS ที่ถูกลดลงในเดือนที่ผ่านมาทำให้มองว่าหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค เช่น การบริโภคสินเชื่อ, ทรัพย์สิน และการค้าปลีก นั้นจะเป็นกลุ่มหุ้นที่อยู่เหนือตลาด (Outperform) เนื่องจากนโยบายการคลังประจำปีนั้นที่ถูกเปลี่ยนจากมุ่งเน้นที่โครงสร้างพื้นฐานไปที่การบริโภคแทน

Back to top button