“ฐากร” ลั่นไม่เลื่อน 5G เตรียมจัดประมูล 16 ก.พ.63 ตามแผน!
"ฐากร" ลั่นไม่เลื่อน 5G เตรียมจัดประมูล 16 ก.พ.63 ตามแผน!
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช. ) กล่าวว่า วันนี้(3ธ.ค.62) สำนักงาน กสทช.จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 700 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz), 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz, (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2500-2690 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz) และ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 24.25-27 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ร่างฯ มีความรัดกุม เพียงพอที่จะจัดสรรคลื่นความถี่อย่างโปร่งใส เชื่อว่ายังมีหลายประเด็นหลายจุดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งประชาชน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะนำเสนอความเห็น
เลขาธิกา กสทช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาจากการรับฟังหลายประเด็นทำให้รู้สึกไม่สบายใจ โดยเฉพาะความเห็นที่จะขอให้ กสทช.นำไปปฏิบัติ แต่เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถทำได้ในเวลานี้ เช่น การนำคลื่นความถี่ย่าน 3500 เมกกะเฮิรตซ์ มาประมูลพร้อมกัน ซึ่งคงไม่สามารถทำได้ เพราะยังไม่มีการเรียกคืนคลื่นความถี่จากบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ที่ยังใช้งานไปถึง ก.ย.64 การเรียกคืนคลื่นยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย 300 วัน หรืออาจถึง 500 วัน
“ความเห็นที่ต้องการให้เลื่อนการประมูลออกไป คงเป็นไปไม่ได้ กสทช. ได้กำหนดวันประมูลคลื่นความถี่ไว้ชัดเจนแล้ว ถึงอย่างไร ก็ต้องจัดการประมูลในวันที่ 16 ก.พ.63 ฉะนั้นการแสดงความคิดเห็น ขอให้อยู่บนเงื่อนไขที่เป็นไปได้ 5G จะเกิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับร่างประกาศนี้ที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์” นายฐากร ระบุ
การรับฟังความคิดเห็นในวันนี้จะได้รับทราบว่าผู้ประกอบการจะเข้าประมูลคลื่นความถี่หรือไม่ และจะเข้าประมูลคลื่นความถี่ย่านใดบ้าง เพราะอาจจะเข้าประมูลไม่ครบทั้ง 4 คลื่นความถี่ โดยยอมรับว่าคลื่นความถี่ 2600 MHz สามารถนำมาทำ5G ได้ทันที ส่วนคลื่น 700 MHz และ 1800 MHz ยังไปไม่ถึง 5G คงต้องรออีก 1-2 ปี แต่คลื่น 26 GHz ยังไม่ชัดเจนถึงความพร้อมในการทำ 5G
“วันนี้อาจมีการแสดงความคิดเห็นว่าจะใช้คลื่นไหน และเข้าประมูลคลื่นไหน คลื่น 1800, 700 MHz อยากเข้าประมูลหรือไม่ โดยวันที่ 16 ก.พ.63 อย่างน้อยมีคลื่น 2600MHz ที่ทำ 5G ได้นำมาประมูล”เลขาธิการ กสทช.กล่าว
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากุล ย่าน 700 เมกกะเฮิรตซ์ ( MHz) 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz. กำหนดคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลและการจัดชุดคลื่นความถี่ในการประมูล ได้แก่
1.คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz คลื่นความถี่ที่จะนามาประมูลเป็นคลื่นความถรีในย่าน 733 – 748 MHz/788 – 803 MHz ตามแผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่ 703 – 748/758 – 803 เมกะเฮิรตซ์ โดยจัดเป็น 3 ชุดคลื่นความถี่ ชุดละ 2 x 5 MHz กำหนดราคาขั้นต่ำ 8,792 ล้านบาท/ชุด ใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิท่าประมูลคลื่นความถี่ได้ 3 ชุดคลื่นความถี่
2.คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลเป็นคลื่นความถี่ในช่วง 1750 – 1785/1845 – 1880 MHz ตามแผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่ 1710 – 1785/1805 – 1880 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยจัดเป็น 7 ชุด ชุดละ 2 x 5 MHz และผู้รับ ใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยท่าประมูลคลื่นความถี่ได้ 4 ชุดคลื่นความถี่ กำหนดราคาขั้นต่ำ 12,486 ล้านบาท/ชุด
3.คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz เป็นคลื่นความถี่ในช่วง 2500 – 2690 MHz ตามแผนความถี่ วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถรี 2500 – 2690 เมกะเฮิรตซ์ โดยจัดเป็น 19 ชุด ชุดละ 10 MHz และผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูล คลื่นความถี่ได้ 10 ชุดคลื่นท่าความถี่ กำหนดราคาขั้นต่ำ 1,862 ล้านบาท/ชุด
4.คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz เป็นคลื่นความถี่ในช่วง 24.3 – 27.0 GHz ตามแผนความถี่ วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่ 24.25 – 27 กิกะเฮิรตซ์ โดยจัดเป็น 27 ชุด ชุดละ 100 MHz และผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้ 12 ชุดคลื่นความถี่ กำหนดราคาขั้นต่ำ 423 ล้านบาท/ชุด
“ทั้งคลื่น 700 MHz และ 1800 MHz ใช้ราคาตลาดที่มีการใช้อยู่แล้ว ส่วนคลื่นความถี่ 2600 MHz และคลื่นความถี่ 26 GHz ได้จ้างที่ปรึกษาตั้งราคาขั้นต่ำ ผู้เข้าร่วมประมูลไม่จำเป็นต้องซื้อคลื่นทุกคลื่น แต่เลือกประมูลคลื่นความถี่ย่านใดบ้าง ไม่จำเป็นต้องประมูลทุกคลื่นความถี่ เป็นการประมูลหลายคลื่นความถี่ในคราวเดียวกัน”เลขาธิการ กสทช.ระบุ