สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 21 ก.พ. 2563
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 21 ก.พ. 2563
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศจีนและในต่างประเทศ นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงกิจกรรมทางธุรกิจเดือนก.พ.ที่อ่อนแอในสหรัฐ ได้กดดันตลาดด้วย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 28,992.41 จุด ลดลง 227.57 จุด หรือ -0.78%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,337.75 จุด ลดลง 35.48 จุด หรือ -1.05% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 9,576.59 จุด ลดลง 174.38 จุด หรือ -1.79%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศจีน และตลาดยังถูกกดดันจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคธุรกิจหดตัวลง
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.49% ปิดที่ 428.07 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,029.72 จุด ลดลง 32.58 จุด หรือ -0.54%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,579.33 จุด ลดลง 84.67 จุด หรือ -0.62% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,403.92 จุด ลดลง 32.72 จุด หรือ -0.44%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นจากความวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในจีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยหุ้นที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ บริษัทน้ำมันและเหมืองแร่ ได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมทางธุรกิจที่อ่อนแอในสหรัฐส่งผลถ่วงตลาดลงด้วย
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,403.92 จุด ลดลง 32.72 จุด หรือ -0.44%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนกลับมาวิตกเกี่ยวกับความต้องการน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และตลาดยังถูกกดดันจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมทางธุรกิจที่อ่อนแอลงในเดือนก.พ.
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 50 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 53.38 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 81 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 58.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 7 เมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2556 เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ลดลง และดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ได้กระตุ้นแรงซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังคงเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยด้วย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 28.3 ดอลลาร์ หรือ 1.75% ปิดที่ 1,648.8 ดอลลาร์/ออนซ์ และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาทองปรับขึ้น 3.9%
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 21.1 เซนต์ หรือ 1.15% ปิดที่ 18.53 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 2.9 ดอลลาร์ หรือ 0.3% ปิดที่ 976.1 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 31.50 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 2,605.4 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 111.61 เยน จากระดับ 112.04 เยน, อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9777 ฟรังก์ จากระดับ 0.9840 ฟรังก์ และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3208 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3262 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0857 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0789 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2973 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2880 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6630 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6614 ดอลลาร์สหรัฐ