สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 มี.ค. 2563

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 มี.ค. 2563


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (6 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แม้กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ.ก็ตาม

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,864.78 จุด ลดลง 256.50 จุด หรือ -0.98%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,972.37 จุด ลดลง 51.57 จุด หรือ -1.71% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,575.62 จุด ลดลง 162.98 จุด หรือ -1.87%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดดิ่งลงเมื่อวันศุกร์ (6 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกในวงกว้างว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กำลังส่งผลกระทบกับกิจกรรมทางธุรกิจ ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมันและก๊าซร่วงลงอย่างหนัก หลังราคาน้ำมันดิบดิ่งลงอย่างรุนแรง

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 3.67% ปิดที่ 366.80 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,139.11 จุด ลดลง 221.99 จุด หรือ -4.14%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,541.87 จุด ลดลง 402.85 จุด หรือ -3.37% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,462.55 จุด ลดลง 242.88 จุด หรือ -3.62%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อวีนศุกร์ (6 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมาจากความวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และนักลงทุนได้พากันเข้าซื้อพันธบัตรซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วงลง

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,462.55 จุด ลดลง 242.88 จุด หรือ -3.62%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (6 มี.ค.) สู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปี หลังโอเปกและพันธมิตรที่นำโดยรัสเซีย ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงลดการผลิตน้ำมันในการประชุมที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเมื่อวานนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 4.62 ดอลลาร์ หรือ 10.07% ปิดที่ 41.28 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค. ร่วงลง 4.72 ดอลลาร์ หรือ 9.44% ปิดที่ 45.27 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (6 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนแห่ซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลง และเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าได้ช่วยให้สัญญาทองคำมีความน่าดึงดูดเพิ่มขึ้นด้วย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 4.4 ดอลลาร์ หรือ 0.26% ปิดที่ 1,672.4 ดอลลาร์/ออนซ์ และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาทองคำ พุ่งขึ้น 6.79% ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบ 9 ปีนับตั้งแต่ปี 2554

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 13 เซนต์ หรือ 0.75% ปิดที่ 17.263 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 30.7 ดอลลาร์ หรือ 3.55% ปิดที่ 896.4 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 30.20 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 2,439.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (6 มี.ค.) โดยถูกกดดันจากการที่นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในเดือนนี้ ขณะที่ดอลลาร์ไม่ได้รับแรงหนุนแต่อย่างใดจากการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด

ดัชนีดอลลาร์ซึ่งวัดค่าดอลลาร์เมื่อเทียบกับ 6 สกุลเงินสำคัญ ลดลง 0.91% สู่ระดับ 95.9613

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.23 เยน จากระดับ 106.39 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สวิส ที่ระดับ 0.9368 ฟรังก์ จากระดับ 0.9486 ฟรังก์ และเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าแตะที่ระดับ 1.3423 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3427 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1314 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1199 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3013 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2945 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าแตะระดับ 0.6639 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ  0.6591 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button