DTC ปิด 7 โรงแรมชั่วคราว พร้อมปรับแผนลงทุน หวังคุมค่าใช้จ่ายรับมือ “โควิด-19”

DTC ปิดบริหาร 7 โรงแรมในไทยชั่วคราว พร้อมลุยเดลิเวอรี่เต็มสูบ-ปรับแผนลงทุนปี 63 ใหม่ หวังคุมค่าใช้จ่ายรับมือโควิด-19 แพร่ระบาด


บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC ระบุว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งยังคงมีแนวโน้มแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและขอความร่วมมือจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  ดังนั้น บริษัทฯ จึงขอหยุดการให้บริการธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยที่กลุ่มบริษัทในเครือดุสิตเป็นเจ้าของเป็นการชั่วคราว ซึ่งประกอบด้วยโรงแรม 7 แห่ง ได้แก่ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา และโรงแรมดุสิตธานี ภูเก็ต ซึ่งหยุดให้การบริการทันทีตามคำสั่งของจังหวัด

ส่วนอีก 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน โรงแรมดุสิตดีทู เชียงใหม่ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส เชียงใหม่ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ และโรงแรมดุสิต สวีท ราชดาริ กรุงเทพ ให้หยุดการรับจอง ยุติการรับลูกค้าใหม่ทันที และให้พนักงานทุกคนดูแลสุขภาพอนามัยของลูกค้าที่พักอยู่อย่างเคร่งครัด

โดยยึดหลักบริการที่ดีเลิศตามมาตรฐานดุสิตธานีจนกว่าลูกค้าคนสุดท้ายจะสิ้นสุดการเข้าพัก โดยมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการระยะสั้น เพื่อประคับประคองธุรกิจในระยะยาว และแม้จะหยุดการให้บริการโรงแรมเป็นการชั่วคราว แต่ทุกโรงแรมยังสามารถให้บริการส่งอาหารหรือ Food Delivery ได้

ส่วนการดำเนินการกับโรงแรมที่บริษัทฯ และกลุ่มบริษัท เป็นเจ้าของในต่างประเทศ บริษัทฯ จะพิจารณาดำเนินการตามสถานการณ์ กฎหมาย และคำสั่งของหน่วยราชการในประเทศนั้น ในขณะที่โรงแรมที่บริษัทฯ รับจ้างบริหาร สิทธิในการตัดสินใจจะเป็นของเจ้าของโรงแรมที่บริษัทฯ รับบริหาร

อย่างไรก็ตามการหยุดทำการของโรงแรมในประเทศที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของเป็นการชั่วคราวย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทฯ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้เตรียมแผนการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดาเนินการต่างๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อรายได้และความสามารถในการทากาไร โดยปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ได้มากที่สุด หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ตลอดจนมีการลดชั่วโมงการทำงานของพนักงานที่สานักงานส่วนกลาง โดยให้ทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น

ด้านสภาพคล่องทางการเงิน ณ สิ้นปี 2562 บริษัทฯ และกลุ่มบริษัท มีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น มากกว่า 3 พันล้านบาท และมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้ มากกว่า 1.2 พันล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมผ่านสถาบันการเงินในรูปแบบของเงินกู้โครงการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว อันเป็นการเพิ่มสภาพคล่องของบริษัทฯ โดยการลดยอดเงินกู้ระยะสั้นเมื่อได้เบิกถอนเงินกู้โครงการดังกล่าว

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงดำเนินการตามแผนการปรับปรุงคุณภาพพอร์ตทรัพย์สินที่มีอยู่ (Asset portfolio rationalization) ซึ่งจะทาให้บริษัทฯ  สามารถเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินรองรับในสถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและระยะยาวได้

ส่วนด้านการลงทุน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการทบทวนแผนการลงทุนในปี 2563 และปรับลดระดับเป้าหมายการขยายกิจการ เพื่อสำรองเงินไว้ในการดารงสภาพคล่องของกิจการ โดยตระหนักถึงผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ เป็นสำคัญ

Back to top button