สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 4 พ.ค. 2563
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 4 พ.ค. 2563
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มพลังงานที่นักลงทุนส่งเข้ามาในช่วงท้ายของการซื้อขาย ซึ่งได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากความตึงเครียดด้านการค้าครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,749.76 จุด เพิ่มขึ้น 26.07 จุด หรือ +0.11% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,842.74 จุด เพิ่มขึ้น 12.03 จุด หรือ +0.42% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,710.71 จุด เพิ่มขึ้น 105.77 จุด หรือ +1.23%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากสหรัฐขู่เก็บภาษีจีนเพื่อตอบโต้กรณีที่จีนเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.65% ปิดที่ 328.44 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,378.23 จุด ลดลง 193.95 จุด หรือ -4.24%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 10,466.80 จุด ลดลง 394.84 จุด หรือ -3.64% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,753.78 จุด ลดลง 9.28 จุด หรือ -0.16%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้าครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน หลังสหรัฐขู่ที่จะเก็บภาษีสินค้าจีนเพื่อตอบโต้กรณีที่จีนเป็นต้นตอที่ทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,753.78 จุด ลดลง 9.28 จุด หรือ -0.16%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 20 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) ขานรับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ที่เริ่มปรับลดการผลิตเพื่อรับมือกับภาวะน้ำมันล้นตลาดซึ่งเกิดจากผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้แรงหนุนจากการที่บริษัทพลังงานของสหรัฐได้ลดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันลงเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 61 เซนต์ หรือ 3.1% ปิดที่ 20.39 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 76 เซนต์ หรือ 2.9% ปิดที่ 27.20 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 12.4 ดอลลาร์ หรือ 0.73% ปิดที่ 1,713.3 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 14.2 เซนต์ หรือ 0.95% ปิดที่ 14.796 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 4.6 ดอลลาร์ หรือ 0.59% ปิดที่ 778.5 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 52.50 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 1,835.30 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูง ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้าครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากสหรัฐขู่เก็บภาษีจีนเพื่อตอบโต้กรณีที่จีนเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9654 ฟรังก์ จากระดับ 0.9617 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.4078 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.4074 ดอลลาร์แคนาดา แต่หากเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 106.72 เยน จากระดับ 106.83 เยน
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0907 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0975 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2441 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2484 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.6425 ดอลลาร์ จากระดับ 0.6410 ดอลลาร์สหรัฐ