“ภัทร” หั่น GDP ปีนี้เป็นติดลบ 9% มองครึ่งหลังฟื้นตัวช้า-หวั่นโควิดเกิด “Second Wave”

“ภัทร” หั่น GDP ปีนี้เป็นติดลบ 9% มองครึ่งหลังฟื้นตัวช้า-หวั่นโควิดเกิด "Second Wave"


บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ โดยได้ทำการปรับคาดการณ์ GDP ในปีนี้ลงเป็น  -9.0% จาก -6.8% ก่อนหน้า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 63 ที่ช้ากว่าคาด บนมุมมองเชิงลบต่อภาคการท่องเที่ยว (คิดเป็น 12% ของ GDP ในปี 2562) ซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาในไตรมาส 4/63 (เทียบไตรมาส 3/63)

ขณะที่คิดว่ามี Scenario ที่ต้องจับตาดูและมีนัยต่อศก.ในประเทศและการท่องเที่ยว คือ

  1. โอกาสของการเกิด “Second Wave” หรือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้ออีกระรอก ซึ่งทำให้ทางการจำเป็นต้องใช้มาตรการ lockdown อีกครั้ง และก่อให้เกิดแรงกดดันต่อศก.อีกรอบ
  2. แม้มีการผ่อนปรนการดำเนินกิจกรรมทางศก.ในประเทศ มาตรการทางสาธารณสุขที่ยังไม่เอื้อให้เปิดพรมแดนหรือนุญาตให้มีการไหลเข้าของนักท่องเที่ยว ก็ยังส่งผลให้ศก.ยังไม่สามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพ
  3. หากสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น กล่าวคือการควบคุมการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายประเทศ เราอาจเห็นการทยอยปลดล็อกการเดินทางระหว่างประเทศเป็นรายประเทศเกิดขึ้นในเบื้องต้น ส่งผลให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

Stock Focus

BAM (Buy/PO 26.0 บาท) – คาดว่า BAM จะรายงานกำไรไตรมาส 1/63  ที่ 819 ลบ. (-75% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -51% จากไตรมาสก่อน) โดยการปรับลงแรงหลักๆ เป็นเพราะยอดเก็บเงินสดรายการพิเศษขนาดใหญ่และ tax benefit จากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่หายไป โดยต้องเสียภาษีที่ฐาน 20%

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานปกติของบริษัทในไตรมาส 1/63 ถือว่าสอดคล้องกับผลการดำเนินงานในอดีต อนึ่ง บริษัทมีการเปิดเผยว่ามีลูกค้าราว 200 ราย (3% ของทั้งหมด) ที่เข้าเกณฑ์การผ่อนผันหนี้ โดยส่วนใหญ่เลือกที่จะเลื่อนการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปสามเดือน และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยในอีกสามเดือนถัดไป นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าการเปิดประมูลหนี้จะกลับมาเริ่มอีกขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้ (หลังจากหยุดไปช่วง มี.ค. –เม.ย.) ขณะกลยุทธ์การตั้งราคา NPA ให้ลดลง 5-10% เพื่อเพิ่มการเก็บเงินก็น่าจะกลับมาอีกครั้งในเดือน มิ.ย. ส่งผลให้ โมเมนตัมของบริษัทในครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก คงคำแนะนำ Buy

CPN (Buy/PO* 55 บาท) – เริ่มเห็นการหดตัวของผู้ที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในเดือน มี.ค. โดย CPN ก็เริ่มให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าราว 40-50% ในเดือนดังกล่าว หรือคิดเป็น 20% ของไตรมาส 1/63 คาดว่า SSSG จะร่วงลงน้อยกว่า 10% ในไตรมาส 1/63 ขณะคาดว่ากำไรปกติจะอยู่ที่ 2 พันลบ. (-29% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -41% จากไตรมาสก่อน) คิดเป็น 41% ของกำไรเต็มปีของเรา ขณะกำไรสุทธิน่าจะอยู่ที่ 2.1 พันลบ. (-25% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -41% จากไตรมาสก่อน) ทั้งนี้ นำเอา divestment gain ของการต่อสัญญาlease เซ็นทรัลพระรามสองที่ 3.6 พันลบ. ให้กับ CPNREIT ออกจากการคำนวณกำไรสุทธิปี 2563 หลังกลต. กลับมาประเมินว่ากำไรส่วนนี้ควรจะถูกนำไปคิดในปี 2025 ที่สัญญาณจะ effective หรือไม่ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงผลกระทบทางบัญชีเท่านั้น

SAWAD (Neutral/PO 46.0 บาท) – คาดว่าบริษัทจะรายงานกำไรของไตรมาส 1/63 ที่ 968 ลบ. (+15% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน,-11% จากไตรมาสก่อน) โดยเชื่อว่ากำไรจะได้รับปัจจัยหนุนจาก loan growth ที่ขยายตัว 21% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน มาอยู่ที่ 3.86 หมื่นลบ. อย่างไรก็ตาม SAWAD มีความระมัดระวังมากขึ้นต่อการปล่อยสินเชื่อ โดยลด LTV จาก 40-50% มาอยู่ที่ 30-40% ด้าน NIM คาดขยายตัว 34bp จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 19.42% ขณะ non-NII  น่าจะอยู่ที่ 681 ลบ. (+39% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -18% จากไตรมาสก่อน) สำหรับ NPL คาดว่าจะอยู่ที่ราว 4% (vs 3.83% ใน ไตรมาส 4/62) ส่วน credit cost น่าจะอยู่ที่ 2.63% (vs 1.46% ในไตรมาส 4/62) อย่างไรก็ตามเชื่อว่าคุณภาพสินทรัพย์น่าจะแย่ลงต่อเนื่องโดย NPL formation คาดโต 3.7% เทียบกับปกติที่ 2.1%

TU (Neutral/PO 16.0 บาท) – บริษัทรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/63 ที่ 1 พันลบ. (-20% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน,-4% จากไตรมาสก่อน) สูงกว่าคาดการณ์ที่ 900 ลบ. โดยรายได้สามารถปรับตัวขึ้นได้ 5.9% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน หนุนโดย volume ที่โตได้ดีมาก (+6.7% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) ทั้งนี้ยอดขายอาหารกระป๋องที่พุ่งขึ้น 16.2% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนชดเชยยอดขายในส่วนของอาหารแช่แข็งที่ชะลอลง 5% ได้ดี ขณะ gross margin ก็ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 16.2% (vs 14.9% ในปีที่แล้ว) หนุนโดยยอดขายสินค้า brand ของตัวเองที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น45% (vs 41% ในปีที่แล้ว) แม้ว่ากำไรสุทธิจะร่วงลงจากผลประกอบการของ Red Lobster, รายการพิเศษพิเศษที่หายไป, และผลกระทบจากค่าเงินบาท แต่เรามองว่าผลประกอบการพื้นฐานของบริษัทยังแข็งแกร่ง คงคำแนะนำ ซื้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Back to top button