สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 พ.ค. 2563

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 พ.ค. 2563


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ นักลงทุนบางส่วนชะลอการเข้าซื้อหุ้นก่อนวันหยุดยาวของตลาดในช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยตลาดหุ้นสหรัฐจะปิดทำการในวันจันทร์ที่ 25 พ.ค.เนื่องในวันเมมโมเรียล เดย์

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,465.16 จุด ลดลง 8.96 จุด หรือ -0.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 9,324.59 จุด เพิ่มขึ้น 39.71 จุด หรือ +0.43% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,955.45 จุด เพิ่มขึ้น 6.94 จุด, +0.24%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นออกมา ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน หลังจากจีนเสนอกฎหมายด้านความมั่นคงแห่งชาติเพื่อบังคับใช้กับฮ่องกง

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.03% ปิดที่ 340.17 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,444.56 จุด ลดลง 0.88 จุด หรือ -0.02% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,993.28 จุด ลดลง 21.97 จุด หรือ -0.37%, ส่วนดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 11,073.87 จุด เพิ่มขึ้น 7.94 จุด หรือ +0.07%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นที่ทำธุรกิจในเอเชียออกมา ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการที่จีนเสนอกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติเพื่อบังคับใช้กับฮ่องกง ซึ่งได้สร้างความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีนด้วย

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,993.28 จุด ลดลง 21.97 จุด หรือ -0.37%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) โดยถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน และความขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐ-จีน แม้มีรายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐที่มีการใช้งานมีจำนวนลดลงในสัปดาห์นี้ก็ตาม

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 67 เซนต์ หรือ 2% ปิดที่ 33.25  ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 93 เซนต์ หรือ 2.6% ปิดที่ 35.13  ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่การร่วงลงของตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นสหรัฐได้หนุนแรงซื้อทองด้วย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 13.6 ดอลลาร์ หรือ 0.79% ปิดที่ 1,735.5 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่สัญญาทองคำ ลดลง 1.2% ในรอบสัปดาห์นี้

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 32.9 เซนต์ หรือ 1.89% ปิดที่ 17.693 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. พุ่งขึ้น 19.8 ดอลลาร์ หรือ 2.29% ปิดที่ 886.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 85.20 ดอลลาร์ หรือ 4.1% to $1,977.10  ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (22 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ-จีน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.43% สู่ระดับ 99.7920

ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 107.58 เยน ขณะที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9725 ฟรังก์ จากระดับ 0.9701 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3995 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3947 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0897 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0955 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2174 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2235 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6533 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6564 ดอลลาร์สหรัฐ

 

Back to top button