สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ส.ค. 2563
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ส.ค. 2563
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ทำสถิติพุ่งขึ้นเหนือระดับ 11,000 จุดเป็นครั้งแรก เนื่องจากนักลงทุนขานรับความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐที่ออกมาต่ำกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 27,386.98 จุด เพิ่มขึ้น 185.46 จุด หรือ +0.68% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,349.16 จุด เพิ่มขึ้น 21.39 จุด หรือ +0.64% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,108.07 จุด เพิ่มขึ้น 109.67 จุด หรือ +1.00%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) นำโดยตลาดหุ้นลอนดอน หลังนักลงทุนผิดหวังที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ลงมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลง และนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น ขณะรอความคืบหน้าของสหรัฐในการผลักดันมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบใหม่ ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่และน้ำมันร่วงนำตลาด
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.73% ปิดที่ 362.49 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 12,591.68 จุด ลดลง 68.57 จุด หรือ -0.54%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,885.13 จุด ลดลง 48.21 จุด หรือ -0.98% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,026.94 จุด ลดลง 77.78 จุด หรือ -1.27%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) โดยถูกกดดันจากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้จากผลกระทบของโรคโควิด-19
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,026.94 จุด ลดลง 77.78 จุด หรือ -1.27%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) โดยราคาน้ำมันร่วงหลุดจากระดับ 42 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากความกังวลที่ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 24 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 41.95 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 8 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 45.09 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ย และส่งสัญญาณว่าจะยังไม่คุมเข้มนโยบายการเงินจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนตัวสู่ระดับเป้าหมายอย่างยั่งยืน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 20.1 ดอลลาร์ หรือ 0.98% ปิดที่ 2,069.4 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 1.51 ดอลลาร์ หรือ 5.62% ปิดที่ 28.4 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 24.8 ดอลลาร์ หรือ 2.51% ปิดที่ 1,013.9 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. พุ่งขึ้น 43.90 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 2,259.40 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ส.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเจรจาระหว่างสภาคองเกรสและทำเนียบขาวเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในวันนี้
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.07% สู่ระดับ 92.8025 เมื่อคืนนี้
ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.57 เยน จากระดับ 105.62 เยน แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9103 ฟรังก์ จากระดับ 0.9084 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3289 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3280 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1873 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1860 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3149 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3115 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7234 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7192 ดอลลาร์สหรัฐ