“สนข.” เร่งศึกษา “ตั๋วร่วม”-รูปแบบจ่ายเงิน ระบบเปิด คาดใช้เชื่อม BTS-MRT ต้นปี 64

“สนข.” เร่งศึกษา “ตั๋วร่วม”-รูปแบบจ่ายเงิน ระบบเปิด คาดใช้เชื่อม BTS-MRT ต้นปี 64


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา “โครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม” ครั้งที่ 1 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้แนวทางการกำกับการบริหารตั๋วร่วมให้สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวสามารถเดินทางและใช้บริการขนส่งมวลชนได้ทุกระบบ โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วม

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการศึกษา จะกำหนดกรอบแนวทางสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมและรูปแบบการชำระเงินประเภท Open-Loop-System บนพื้นฐานการใช้ Account Based Ticketing (ABT) และการรองรับระบบ EMV ในการชำระค่าโดยสาร รวมถึงการใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่น ๆ นอกภาคขนส่ง (Non-Transit) ได้ โดยจะใช้เวลาในการศึกษา 20 เดือน (29 ส.ค.63-เม.ย.65)

โดยที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินโครงการศึกษาและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน และการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการรายได้  ซึ่งเป็นการศึกษาวางแผนเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมที่เหมาะสมสำหรับใช้กับระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสามารถใช้ร่วมกับระบบการจ่ายเงินอื่น ๆ ได้ ตลอดจนศึกษาถึงแนวทางในการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการรายได้ (Clearing House) ซึ่งจะเป็นศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารและจัดสรรรายได้แก่ผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนแต่ละรายตลอดจนผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่ขมาร่วมกับระบบตั๋วร่วม แต่ยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานในการบริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ที่ดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการใช้งาน “บัตรแมงมุม” จึงยังพบปัญหาบางประการในการเข้าร่วมระบบ

อีกทั้ง หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ยังไม่ได้มีการเจรจาเชิงธุรกิจ ในการกำหนดและประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ซึ่งจะใช้เป็นอัตราค่าโดยสารสำหรับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เข้าร่วมในระบบตั๋วร่วม

สำหรับโครงการแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการบริหารจัดการตั๋วร่วมให้สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุต โดยมีแนวคิดในการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้สอดคล้องกับแนวคิดระบบตั๋วร่วมและรูปแบบการชำระเงินประเภท Open-loop System บนพื้นฐานการใช้ Account Based Ticketing (ABT) และการรองรับระบบ EMV ในการชำระค่าโดยสาร รวมถึงการใช้งานและชำระเงินกับ บริการอื่น ๆ นอกภาคขนส่ง (Non-Transit) ได้

โดยในการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมในครั้งนี้ มี 5 ประเด็น ได้แก่

1. แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตั๋วร่วมของประเทศไทย ให้รองรับการชำระคำโดยสารด้วยบัตรแมงมุม บัตร MRT Plusนร บัตร MRT บัตร Rabbit และบัตรอื่นๆ ในรูปแบบ Account Based Ticketing (ABT) ตลอดจนในอนาคตสามารถพัฒนาจากระบบClosed-loop เป็นบริการบนระบบ Open-loop สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึง การใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่นนอกภาคขนส่ง(Non-Transit)

2.กลไกหรือแผนการกำกับดูแลการบริหารงานระบบตั๋วร่วมที่ชัดเจน และเป็นธรรมกับทุกฝายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการติดตามประเมินผลซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบและการใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพในระยะยาว

3.นโยบายและระบบโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ของระบบขนที่สามารถดึงดูดให้มีผู้มาใช้งานระบบขนส่งมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนค่าธรรมเนียมของระบบร่วมที่เป็นธรรมแก่ผู้ให้บริการ และไม่เป็นภาระแก่ผู้ใช้บริการ

4.รูปแบบเงินทุนและกลไกด้านการเงินของภาครัฐในการชดเชยรายได้จากค่าโดยสารร่วมและสนับสนุนการพัฒนาและการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

5.ร่างกฎหมายในการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ…..)

นายสมพงษ์ ปักษาสวรรค์ ผู้จัดการโครงการศึกษา กล่าวว่า ปัจจุบัน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่าง พัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability หรือการใช้บัตรข้ามระบบรถไฟฟ้า ระหว่าง MRT และ BTS หากไม่มีข้อติดขัดคาดว่าจะสามารถใช้ได้ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ปี 64 ส่วนการพัฒนาเป็นระบบเปิดและรองรับระบบ EMV ด้วยนั้นคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปีครึ่ง

 

Back to top button