อัพเดทเลือกตั้งสหรัฐ : ไขปม ผลนับคะแนนล่าช้า กว่าจะรู้ใครอยู่-ใครไป

อัพเดทเลือกตั้งสหรัฐ : ไขปม ผลนับคะแนนล่าช้า กว่าจะรู้ใครอยู่-ใครไป


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐฯ ที่เริ่มมีการเปิดหีบนับคะแนนตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 4 พ.ย.63 ตามเวลาประเทศไทย จะเข้มงวดเข้าไปทุกขณะ เนื่องจาก โจ ไบเดน ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต ต้องการคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) อีกแค่ 6 คะแนนเสียง เท่านั้น ก็จะได้รับชัยชนะเหนือโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ซึ่งแทนที่น่าจะใช้เวลาเพียงไม่นานในการรู้ผล แต่กลับกลายเป็นว่าล่าช้า ยืดเยื้อ ใช้เวลานับคะแนนข้ามวันข้ามคืน เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น มีการวิเคราะห์จากสำนักข่าวต่างประเทศดังนี้

1.ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีบางรัฐในอเมริกาที่ใช้เครื่องลงคะแนนหรือการเก็บอัตลักษณ์บุคคลทางดิจิทัลทำให้การสแกนกระดาษลงคะแนนนั้นมีความรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งทางไปรษณีย์นั้นกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเวลาการนับคะแนนอย่างใหญ่หลวง เพราะการเปิดซองจดหมายนับร้อยล้านซองนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา และในแต่ละรัฐก็ยังมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปว่าจะเปิดซองจดหมายบัตรเลือกตั้งได้ในเวลาเมื่อไร ปัจจัยทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ส่งผลทำให้การนับคะแนนล้วนประสบความล่าช้า

2.สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ประกอบด้วย 50 รัฐ และในแต่ละรัฐก็ยังมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปว่าจะเปิดซองจดหมายบัตรเลือกตั้งได้ในเวลาเมื่อไร มีอิสระที่จะบังคับใช้กฎหมายการเลือกตั้ง ทำให้กฎเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมถึงแนวทางการนับคะแนนไม่เหมือนกัน ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ส่งผลทำให้การนับคะแนนล้วนประสบความล่าช้า

ยกตัวอย่างเช่นแนวทางของรัฐเนวาดา ที่มีการแจ้งว่าผลโหวตที่ส่งทางไปรษณีย์ที่สแตมป์ตราภายในวันที่ 3 พ.ย. และส่งมาถึงที่นับคะแนนก่อนวันที่ 10 พ.ย. จะถูกนับทั้งหมด แต่ทางรัฐไม่สามารถบอกได้ว่าเหลือไปรษณีย์อีกเท่าไหร่ที่ถูกส่งมา ดังนั้นคะแนนอย่างเป็นทางการจริงๆของรัฐน่าจะประกาศได้ในวันที่ 10 ส่วนบัตรลงคะแนนที่ส่งมาถึงวันที่ 10 จะได้รับการนับ ซึ่งการนับจะมีจนถึงวันที่ 12 ดังนั้นผลอย่างเป็นทางการจะไม่ประกาศจนกว่าเช้าวันที่ 13 พ.ย. เป็นต้น

3.ความซับซ้อนของระบบเลือกตั้ง นอกจากวิธีการนับคะแนนในแต่ละรัฐที่มีกฎเกณฑ์ การบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันแล้ว การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ได้วัดผลกันที่คะแนนนิยมโดยตรง แต่ใช้คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งในทุกรัฐทั่วประเทศ จำนวน 538 คน ซึ่งหากใครได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่งคือ 270 คนก่อน ก็จะขึ้นแท่นเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป แต่ทั้งนี้ยังต้องรอผลการนับคะแนนเบ็ดเสร็จจากบัตรลงคะแนนของชาวอเมริกันประกอบด้วย รวมถึงท้ายที่สุดยังต้องรอเสียงโหวตจาก ส.ส. และวุฒิสภา จึงจะเป็นบทสรุปว่าใครที่จะได้เป็นประธานาธิบดี ลำดับที่ 46 ของสหรัฐฯ

Back to top button