ก.ล.ต.-ตลท.หนุน บจ.ไทยทำ ESG เน้นใส่ใจสิ่งแวดล้อม-ยึดหลัก “บรรษัทภิบาล”

ก.ล.ต.-ตลท.หนุน บจ.ไทยทำ ESG เน้นใส่ใจสิ่งแวดล้อม-ยึดหลัก "บรรษัทภิบาล"


นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในการสัมนา ESG อนาคตประเทศไทยสู่ความยั่งยืน หัวข้อการสร้างความยั่งยืนให้กับตลาดทุนไทยว่า ก.ล.ต.ในฐานะผู้กำกับดูและตลาดทุนได้ให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาล (CG) และขยายมาเป็นการให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล (ESG) ที่ตอบโจทย์กับสังคมยุคปัจจุบัน และเป็นเรื่องสำคัญในตลาดทุน และเป็นยุทธศาสตร์ของชาติด้วย

โดย ก.ล.ต.มองว่า ESG ในมุมมองผู้กำกับ เน้นเรื่องความโปร่งใส อาทิ การทำ One Report ที่จะเริ่ม 1 ม.ค. 65 ที่เป็นระบบชัดเจนเพื่อให้นักลงทุนนำข้อมูลใช้เปรียบเทียบ โดยรูปแบบเป็น soft law เป็นคู่มือในการดูแลกำกับดูแล

ทั้งนี้ในระดับอาเซียนมีโรดแมพวางไว้ 4 ด้าน คือ การเปิดเผยข้อมูล การผลักดันผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่เอกชนสามารถมีส่วนขับเคลื่อน เช่น บลจ.ออกกองทุน ESG Fund การสร้างความตระหนักรู้ ที่จะมีการจัดอบรมความรู้ที่ร่วมสร้างความเข้าใจร่วมกัน ซึ่ง ก.ล.ต.ต้องการให้นักลงทุนรายย่อยมองมากกว่ากำไร เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน และความเชื่อมโยงการดำเนนิการร่วมกันระหว่างเอกชนและภาครัฐ ฉะนั้น ก.ล.ต.มอง ESG ไว้ 6 ด้านได้แก่

1.ผลิตภัณฑ์ เช่น Sustainable Finance ที่ได้รับการตอบรับด้วยการออกกรีนบอนด์, Social Impact Bond ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) 12 แห่ง มูลค่ารวม 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงานบริหารหนี้ (สบน.) ออก Sustainable Bond ธนาคารอาคารสงเคราะห์ การเคหะแห่งชาติ ก็มีการออก Sustainable Bond ซึ่ง ก.ล.ต.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกบอนด์ดังกล่าว ซึ่งล่าสุดยกเว้นไปถึงปีหน้า

2.การเพิ่ม Local Reviewer ซึ่งจะมีรายที่ 2 หลังจากที่มี ทริสเรทติ้ง เป็นเจ้าเดียวขณะนี้

3.Guideline ให้ บลจ.ที่จะออกผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงนักลงทุนรายย่อย

4.Bulletin Platform เพื่อให้มี platform มาเปรียบเทียบข้อมูลให้ง่าย ซึ่งสมาคมตราสารกนี้ไทย (ThaiBMA) ได้ทำอยู่แล้ว แต่มองว่าจะนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ของไทยโชว์ในตลาดต่างประเทศ ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ร่วมมือกับตลาดทุนของลักซ์เซมเบอร์ เพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์ของไทย

5.One Report โดยก.ล.ต. ยืนยันไม่ต้องการสร้างภาระให้ บจ.แต่ต้องการให้มีข้อมูลที่เปรียบเทียบได้ง่ายให้กับนักลงทุน ซึ่งหลายบริษัทใหญ่เริ่มดำเนินการก่อนที่จะมีผลบังคับในวันที่ 1 ม.ค. 65

6.ให้ความสำคัญกับนักลงทุนรายย่อยซึ่งสิ่งนี้ผลักดันมาตลอด โดยให้ผู้แนะนำการลงทุนอบรมเรื่อง ESG และแนะนำการลงทุนได้ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจเพื่อไปสู้ความยั่งยืน

ด้าน นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)  กล่าวว่า ตลาดทุนไทยได้รับบทเรียนหลังจากเกิกวิกฤติปี 40 ที่มีปัญหาในการระดมทุน เพราะไม่มีใครเชื่อถือข้อมูล ทำให้ต่อมามีการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และพัฒนามาให้ความสำคัญธรรมาภิบาล (CG) และ CSR

ทั้งนี้ ตลท.เห็นว่าการทำ CSR นั้น บจ.ไม่ได้ประโยชน์ แต่เป็นแค่อีเว้นท์ จึงหันมาให้ความสนใจเรื่อง ESG ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์เรื่องการเปิดเผยข้อมูล การตระหนักรู้ และให้เปิดเผยข้อมูลตาม Format ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ อาทิ  DJSI หรือ ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ Dow Jones Sustainability Indices ซึ่ง บจ.ไทยได้รับแล้ว 21 บริษัท โดย 7 บจ.ไทยเป็นผู้นำแต่ละอุตสาหกรรมโลก

ส่วนจะทำอย่างไรให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะบจ.ของไทยไม่มีเทคโนโบลี แต่เราสามารถมีส่วนปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น ด้าน health care ,ด้านอาหาร ทั้งนี้ Sustainable ที่บจ.ไทยให้ความสำคัญมากขึ้นจะเป็นจุดขาย

นอกจากนี้ ตลท.ยังได้ดำเนินการต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับสถาบันการจัดอันดับเครดิตอีก 2 ราย ที่จะนำข้อมูลเกี่ยวกับ ESG มาวิเคราะห์และคำนวณ ESG ว่ามีมูลค่าเพิ่มอย่างไร และนำมาลงใน platform ตลท.ผ่านเว็บไซด์ของตลท. โดยเห็นว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และมีความหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูล ESG สามารถจับต้องได้ พร้อมขอความร่วมมือ บจ.ไทยให้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับ ESG ตามมาตรฐานที่มี format เพื่อสามารถประเมินกันได้ง่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน

ส่วนนักลงทุนก็ไม่ได้มองเพียงเรื่องผลกำไรเมื่อในอดีตเพราะเป็นเรื่องชั่วคราว แต่จะพิจารณาว่า บจ.สามารถมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ซึ่งก็ต้องมีข้อมูลให้นักลงทุนที่สามารถวิเคราะห์ได้ โดยในอดีตนักลงทุนรายย่อยของไทยจะให้ความสำคัญตัวเลขทางการเงินอย่าง กำไร เงินปันผล ขณะที่ ESG ไม่มีความสำคัญกับนักลงทุนรายย่อย แต่หลังเกิดโควิด-19 ทำให้นักลงทุนรายย่อยเริ่มให้ความสำคัญกับคุณภาพเรื่องเกี่ยวกับ  ESG มากขึ้น

“ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปมีความไม่แน่นอนมากขึ้น สิ่งที่นักลงทุนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นแล้ว บนริทจดทะเบียนปรับตัวอย่างไรที่จะทำให้มีกำไรได้ต่อเนื่องมีความหลากหลายอย่างไรกับรายได้ สามารถปรับตัวได้เร็วอย่างไรบ้างกับความไม่แน่นอน ฝั่งนักลงทุนคิดว่ากำไรเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราว สิ่งที่เขาอยากเห็นคือบริษัทมีความอึดอย่างไรบ้างกับการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญ เรามีข้อมูลที่ให้นักลงทุนเห็นหรือยังว่า บริษัทหรือธุรกิจสามารถ Sustain ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ เรามีข้อมูล หรือนักวิเคราะห์ ทำเรื่องนี้หรือยัง ดังนั้น เรื่อง ESG ไม่ใช่เรื่อง nice to have แต่เป็นเรื่อง must have” ผู้จัดการ ตลท.กล่าว

 

 

Back to top button