สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 11 ธ.ค. 2563
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 11 ธ.ค. 2563
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (11 ธ.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดลดลง เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐนั้น ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,046.37 จุด เพิ่มขึ้น 47.11 จุด หรือ +0.16% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,663.46 จุด ลดลง 4.64 จุด หรือ -0.13% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,377.87 จุด ลดลง 27.94 จุด หรือ -0.23%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (11 ธ.ค.) โดยถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรป (EU)
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.77% ปิดที่ 390.12 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,114.30 จุด ลดลง 181.43 จุด หรือ -1.36%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,507.55 จุด ลดลง 42.10 จุด หรือ -0.76% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,546.75 จุด ลดลง 53.01 จุด หรือ -0.80%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (11 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่า อังกฤษอาจจะต้องถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) แบบไร้ข้อตกลง (no-deal Brexit)
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,546.75 จุด ลดลง 53.01 จุด หรือ -0.80%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (11 ธ.ค.) อันเป็นผลจากแรงขายทำกำไรหลังราคาพุ่งขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แต่สัญญาน้ำมันดิบก็ยังคงปรับตัวขึ้นได้ในรอบสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัว และจะมีความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น หลังจากที่มีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ในประเทศต่างๆ
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 21 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 46.57 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้นราว 0.7% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 28 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 49.97 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่เพิ่มขึ้น 1.5% ในรอบสัปดาห์นี้ และปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (11 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ในสหรัฐ, ความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลงการค้า (no-deal Brexit) รวมถึงสัญญาณเงินเฟ้อจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในสหรัฐ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 6.2 ดอลลาร์ หรือ 0.34% ปิดที่ 1,843.6 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวขึ้น 0.2% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 0.2 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 24.092 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 5.9 ดอลลาร์ หรือ 0.57% ปิดที่ 1,021.8 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 2.40 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 2,333.10 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (11 ธ.ค.) เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.17% สู่ระดับ 90.9726
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8894 ฟรังก์ จากระดับ 0.8870 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2771 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2744 ดอลลาร์แคนาดา แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 104.00 เยน จากระดับ 104.18 เยน
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2114 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2133 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3225 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3290 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7536 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7527 ดอลลาร์สหรัฐ