“ราชกิจจาฯ” ประกาศคำสั่งรับมือพท. เสี่ยงสูงสุด มอบอำนาจผู้ว่าฯ 28 จ.คุมเข้ม “โควิด”
“ราชกิจจาฯ” ประกาศคำสั่งรับมือพท. เสี่ยงสูงสุด มอบอำนาจผู้ว่าฯ 28 จ.คุมเข้ม “โควิด”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (3 ม.ค.64) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 1/2564
เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา
9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
โดยระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2564 นั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำมแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2564 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ
ศูนย์บริหาารสถานการณ์โควิด - 19 โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกำหนดฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามบัญชีรายชื่อจังหวัด แนบท้ายคำสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ 3 มกราคม 2564
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -18
อ่านประกาศฉบับเต็ม คลิกที่นี่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/001/T_0004.PDF
นอกจากนี้เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษายังได้เผยแพร่ประกาศ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ 2548 (ฉบับที่ 16) เพื่อเป็นข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
1.ห้ามใช้อาคาร หรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามใช้อาคารของโรงเรียน สถาบันการศึกษาทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดง 28 จังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและจังหวัดใกล้เคียง
2.ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการควบคุมโรค เช่น การประชุมสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่างๆ เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการของพนักงานและเจ้าหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่แต่ต้องมีมาตรการสาธารณสุขรองรับด้วย โดยได้ให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยคำแนะนำคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ความรับผิดชอบ
3.การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณา สั่งปิดสถานบริการสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
4.เงื่อนไขการเปิดดำเนินการเขตพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ที่ควบคุมสูงสุด ให้สถานที่กิจการหรือการทำกิจกรรมดังต่อไปนี้เปิดดำเนินการภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลาและการจัดระบบและระเบียบต่างๆ ที่กำหนด
(1) การจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน การจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด โดยอาจให้เป็นลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่น โดยให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของกระทรวงมหาดไทย และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกันพิจารณาประเมินกำหนดรูปแบบ และกำกับการดำเนินการตามข้อปฏิบัติและมาตรการดังกล่าวของแต่ละพื้นที่จังหวัดให้มีความเหมาะสม
โดยข้อนี้จะบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายกรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน
(2) การจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร สถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
5.ห้างสรรพสินค้า ก็ยังให้เปิดทำการได้ตามเวลาปกติ โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ มอบให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งเปิดปิดในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดได้
6.ให้มีการตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่ควบคุมสูงสุด ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามมาตรการที่ ศบค.กำหนด โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่ เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็น โดยขอความร่วมมือ ไม่ได้สั่งห้ามการเดินทาง แต่อาจจะมีหลายด่านเพื่อคัดกรองที่ทำให้ไม่สะดวก
7.ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลานี้ ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือการสลับวันหรือการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติงาน เพื่อลดจำนวนผู้ปฎิบัติงานและปริมาณการเดินทางซึ่งเป็นมาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
8.ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายข้อบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งโรค เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่ออนุญาตให้ผ่อนคลาย หรือบังคับกิจกรรม กิจการตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -18
อ่านประกาศฉบับเต็ม คลิกที่นี่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/001/T_0001.PDF