PYLON พุ่ง 7% นิวไฮรอบ 7 เดือน ลุ้นคว้างานเพิ่ม รับอานิสงส์งานรถไฟไทย-จีนคืบ

PYLON พุ่ง 7% นิวไฮรอบ 7 เดือน ลุ้นคว้างานเพิ่ม รับอานิสงส์งานรถไฟไทย-จีนคืบ ล่าสุดอยู่ที่ 4.58 บาท บวก 0.28 บาท หรือ 6.51% มูลค่าซื้อขาย 38.18 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน) หรือ PYLON ล่าสุด ณ เวลา 10.34 น. อยู่ที่ 4.58 บาท บวก 0.28 บาท หรือ 6.51% สูงสุดที่ 4.66 บาท ต่ำสุดที่ 4.46 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 38.18 ล้านบาท

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 4.56 บาท เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2563 คาดว่ามาจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐเริ่มมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทมีโอกาสได้รับงานใหม่เพิ่มขึ้น

โดย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ ปรับเพิ่มคำแนะนำจากขายเป็น “ถือ” และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 4.10 บาท อิงจาก PER ระยะยาวที่ 16 เท่า เชื่อว่าราคาหุ้นมี downside จำกัดเพราะมีปัจจัยกระตุ้นด้านบวกจากโครงการภาครัฐ (รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก, รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน)

ขณะที่จากข้อมูลโดยรวมที่ได้จากงาน opportunity day อยู่ในเชิงกลาง โดยผู้บริหารคาดว่าจะมีงานภาครัฐเข้ามาในไตรมาส 4/64 อย่างเช่น 1.รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 2.รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 3.รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก MRT 4. ทางด่วนพระรามสาม – ดาวคะนอง (2 สัญญา) และ 5.สะพานลอยข้ามแยกบนถนนพระรามสอง ซึ่งจะเริ่มเข้ามาตั้งแต่ไตรมาส 4/64 เป็นต้นไป

ทั้งนี้บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) มองว่าแค่โครงการรถไฟความเร็วสูงสองโครงการก็จะจะดูดซับอุปทานที่มีในตลาดไปได้หมด ซึ่งจะทำให้การแข่งขันการแข่งขันลดความเข้มข้นลง ในขณะที่บริษัทจะไม่ถูกกระทบจากต้นทุนเหล็กที่แพงขึ้น เพราะบริษัทล็อกราคาและปริมาณเหล็กที่ต้องใช้เอาไว้แล้วตั้งแต่ตอนเริ่มก่อสร้าง

โดยในปัจจุบัน PYLON มี backlog ในมือ 500 ล้านบาท (เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564) ซึ่งเพียงพอที่จะรับรู้เป็นรายได้ในครึ่งแรกปี 2564 ในขณะที่บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) คาดว่าการแข่งขันจะยังคงเข้มข้นต่อไปตลอดช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 เป็นอย่างน้อย โดยการลงทุนภาคเอกชน (กลุ่มที่อยู่อาศัย และการพาณิชย์) จะยังคงซบเซาในปีนี้

ขณะที่ backlog ใหม่จากโครงการภาครัฐ อย่างเช่น รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน, รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน, รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก MRT, ทางด่วนพระรามสาม – ดาวคะนอง (2 สัญญา) และสะพานลอยข้ามแยกบนถนนพระรามสอง จะเริ่มเข้ามาตั้งแต่ 4Q64 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ยอดรับรู้รายได้จากโครงการที่รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จะดูดซับอุปทานที่มีในตลาดไปได้หมด ทั้งนี้ กระแสงานก่อสร้างภาครัฐที่จะทะลักเข้ามาจะทำให้ความเข้มข้นของการแข่งขันผ่อนคลายลงไปในปี 2565

Back to top button