สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 เม.ย. 2564
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 23 เม.ย. 2564
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (23 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดของสหรัฐ และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลายตัวพุ่งขึ้นจากการคาดการณ์ที่ว่า บริษัทต่างๆ จะรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งในสัปดาห์หน้า
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,043.49 จุด เพิ่มขึ้น 227.59 จุด หรือ +0.67%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,180.17 จุด เพิ่มขึ้น 45.19 จุด หรือ +1.09% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,016.81 จุด เพิ่มขึ้น 198.40 จุด, +1.44%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ (23 เม.ย.) และลดลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 8 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นทั่วโลก ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของยูโรโซน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดตลาดที่ระดับ 439.04 จุด ลดลง 0.59 จุด หรือ -0.13%
ดัชนี CAC 40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,257.94 จุด ลดลง 9.34 จุด หรือ -0.15% และดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,279.62 จุด ลดลง 40.90 จุด หรือ -0.27% ส่วนดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,938.56 จุด เพิ่มขึ้น 0.32 จุด หรือ +0.00%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อวันศุกร์ (23 เม.ย.) แต่ลดลงในรอบสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของอังกฤษ
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,938.56 จุด เพิ่มขึ้น 0.32 จุด หรือ +0.00%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (23 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐและยุโรป แม้นักลงทุนยังคงวิตกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันก็ตาม
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 62.14 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 1.7% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 66.11 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 1% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (23 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งซึ่งหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น และได้ลดความน่าดึงดูดใจของทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 4.2 ดอลลาร์ หรือ 0.24% ปิดที่ 1,777.8 ดอลลาร์/ออนซ์ และลดลง 0.1% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 10.5 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 26.075 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 24.6 ดอลลาร์ หรือ 2.04% ปิดที่ 1,233.1 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 14.10 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 2,857 ดอลลาร์/ออนซ์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (23 เม.ย.) เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังคงชะลอตัว ซึ่งลดความน่าดึงดูดใจของดอลลาร์ และได้บดบังปัจจัยบวกจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.52% สู่ระดับ 90.8621 เมื่อคืนนี้
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 107.94 เยน จากระดับ 108.09 เยน, อ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9134 ฟรังก์ จากระดับ 0.9182 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2473 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2498 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2091 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2007 ดอลลาร์, เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3875 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3836 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าแตะที่ระดับ 0.7756 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7706 ดอลลาร์สหรัฐ