GPSC ทุ่ม 1.6 หมื่นลบ. รุกถือหุ้น 25% “วินด์ฟาร์มไต้หวัน 595 MW”
GPSC ทุ่ม 1.6 หมื่นลบ. ซื้อหุ้น “CI Changfang-CI Xidao” สัดส่วน 25% ลุยวินด์ฟาร์มไต้หวัน 595 เมกะวัตต์ คาดโอนหุ้นแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/2565
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ คร้ังที่ 6/2564 ได้มีมติอนุมัติการยื่นข้อเสนอซื้อหุ้นในบริษัท CI Changfang Limited และบริษัท CI Xidao Limited (“บริษัทเป้าหมาย”) จากกองทุน Copenhagen Infrastructure II K/S (“CI-II”) และ Copenhagen Infrastructure III K/S (“CI-III”)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 บริษัท โกลบอลรีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (“GRSC”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯถือหุ้นทั้งหมดร้อยละ 100 ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้น (Share Purchase Agreement) กับ CI-II และ CI-III โดย GRSC จะเข้าลงทุนในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 25 ในบริษัทเป้าหมายคิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมจนโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 16,000 ล้านบาท
ทั้งนี้การซื้อขายหุ้นจะเสร็จสมบูรณ์ได้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไข บังคับก่อน (Conditions precedent) บางประการภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้น ได้แก่การยื่นขออนุมัติการลงทุนจาก ต่างประเทศ (Foreign Investment Approval) และขออนุมัติจาก Ministry of Economic Affairs ของไต้หวัน เป็นต้น โดยคาดว่าการดำเนินการตามเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถดำเนินการโอนหุ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
บริษัทเป้าหมายเป็นผู้พัฒนาโครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง (Offshore wind) ในไต้หวัน โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมจำนวน 595 เมกะวัตต์(MW) ประกอบด้วย โครงการ Changfangและ โครงการ Xidao ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจำนวน 547 เมกะวัตต์ และ 48 เมกะวัตต์ตามลำดับ
โดยโครงการ Changfang phase 1 จำนวน 96 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเปิดดำเนินการในปี 2565 โครงการ Changfang phase 2 และ Xidao รวมจำนวน 499 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเปิดดำเนินการในปี 2566 และทุกโครงการจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567
ทั้งนี้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้จะขายให้กับบริษัท Taiwan Power Company ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลไต้หวันและเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียวในไต้หวัน (Single Buyer) ภายใต้สัญญซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี โดยมีการกำ หนดอตัราการารรับซื้อไฟฟ้าคงที่ในรูปแบบ Feed-in Tariff ตลอดอายุโครงการ จึงเป็นการสร้างความมมั่นคงของ กระแสเงินสดให้กับบริษัทฯ ในระยะยาว
การลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ ในการขยายกิจการด้าธุรกิจ พลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ ทั้งนี้ไต้หวันเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มีศักยภาพและ ได้รับการสนับสนุนนจากรัฐบาลในการลงทุนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะเทคโนโลยีพลังงานลมนอกชายฝั่ง
อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความร่วมมือจากการร่วมลงทุนกับ CI-II และ CI-III ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนช้ันนำจากประเทศเดนมาร์ก และเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในการพัฒนาโครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง รวมถึงการพัฒนาโครงการ พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ทั่วโลก
รายการดังกล่าวไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกันและขนาดของรายการไม่เข้าข่ายที่จะต้องรายงานสารสนเทศ ตามหลักเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพยข์องบริษัทจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย