IEC ลงทุนโครงการสร้างต้นแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากขยะชุมชน วงเงิน 125 ลบ.
IEC ลงทุนโครงการประยุกต์เทคโนโลยี-สร้างต้นแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากขยะชุมชนภายในโรงไฟฟ้าขยะจีเดค อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วงเงิน 125 ลบ. มีอัตราผลตอบแทนของโครงการไม่น้อยกว่า 14.19% ระยะเวลาคืนทุนภายใน 7 ปี
บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC ระบุว่า จากการที่คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาโครงการประยุกต์เทคโนโลยีและสร้างตัวแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากขยะชุมชน (A Prototype of Very Small Power Plant for MSW Using Applied Technology) เห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์เพราะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ (Body of Knowledge Development) ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือก (Alternative Technological Development) เพื่อสร้างตัวแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากขยะชุมชน (Prototype of Very Small Power Plant) ที่ปราศจากมลภาวะ (Pollution) และความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Damage) ซึ่งสามารถย่อและขยายส่วนให้เหมาะสมกับขนาดของชุมชน ซึ่งมีจานวน MSW ตั้งแต่ 40 ตันต่อวันขึ้นไป
ขณะที่ปัจจุบันบริษัท ไออีซี กรีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (IECG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้พัฒนาตัวแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากขยะชุมชน ภายใต้ชื่อ ImperialSINO ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มบริษัท IEC กับศูนย์วิศวกรรมอุณหภาพ (Thermal Engineering Centre) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ Centre of Bio-Inspired Technology, Imperial College London พัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่มีกาลังการผลิตไฟฟ้าขนาด 500 KW ขึ้นไป ด้วยเทคโนโลยี Gasification เพื่อให้เป็นระบบไฟฟ้าสารองภายในโรง ไฟฟ้า ที่สามารถนาไปประยุกต์ใช้กับโรงไฟฟ้าต่างๆในกลุ่มบริษัท IEC เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงงาน
รวมถึงการให้เช่าหรือขายโรงไฟฟ้าขนาดเล็กนี้ให้กับองค์กรอื่นได้ ซึ่งทาง IECG มีแผนที่จะนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากนี้ติดตั้งและให้เช่าแก่บริษัท จีเดค จำกัด (GIDEC) (บริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท) เพื่อใช้เป็นแหล่งไฟฟ้าหมุนเวียนภายใน (Parasite Load) ของ GIDEC
ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัท จึงมีมติที่ประชุมครั้งที่ 14/2558 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 เห็นชอบให้ IECG ลงทุนในโครงการประยุกต์เทคโนโลยีและสร้างต้นแบบโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจากขยะชุมชนภายในโรงไฟฟ้าขยะจีเดค ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งคาดว่าจะมีผลตอบแทนจากการให้เช่าโรงไฟฟ้าต้นแบบขนาดเล็กดังกล่าวจาก GIDEC โดยมีอัตราผลตอบแทนของโครงการอยู่ในระดับที่น่าพอใจ คิดเป็น IRR ของโครงการร้อยละ 14.19 และมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการประมาณ 7 ปี
สำหรับขนาดรายการ ตามเกณฑ์มูลค่ารวมสิ่งตอบแทนมีขนาดเท่ากับร้อยละ 2.84 ของสินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน ได้แก่ วงเงินงบประมาณลงทุนการจัดซื้อ/จัดจ้างทั้งสิ้น 125,000,000 บาท โดยโครงการนี้เป็นโครงการนำร่องในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าต้นแบบขนาดเล็กจากพลังงานขยะ โดยมีอัตราผลตอบแทนของโครงการ (IRR) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 14.19 และมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการภายใน 7 ปี