SCB – ADVANC วิ่งคู่! โบรกเชียร์ “ซื้อ” มองบวกแผนจับมือปล่อย “สินเชื่อดิจิทัล”

SCB – ADVANC บวกคึก! โบรกแนะนำ “ซื้อ” มองบวกแผนจับมือปล่อย “สินเชื่อดิจิทัล” เนื่องจาก SCB จะได้ประโยชน์จากฐานลูกค้า AIS ที่เป็นเบอร์ 1 ในกลุ่มมือถือ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ เวลา 10.01 น. ราคาหุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB อยู่ที่ระดับ 111 บาท บวก 3.50 บาท หรือ 3.26% สูงสุดที่ระดับ 113 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 110 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1.05 พันล้านบาท

ด้านราคาหุ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC อยู่ที่ระดับ 197.50 บาท บวก 4.50 บาท หรือ 2.33% สูงสุดที่ระดับ 198.50 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 196 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 616.80 ล้านบาท

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ กรณี SCB แจ้งลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ ADVANC ในการจัดตั้ง บ.เอไอเอสซีบี จำกัด (AISCB) ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท แบ่งเป็น SCB และ ADVANC ถือหุ้นในสัดส่วน 50% เพื่อรุกสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม

โดยภาพรวมมองว่าแม้หากพิจารณาจากฐานทุนจดทะเบียนตามข้างต้น เมื่อเทียบกับ asset size ของ SCB (0.03% ของสินเชื่อ) แต่คาดหมายการเติบโตในอนาคตผ่านช่องทาง Digital ตามแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งจากสินเชื่อ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ในลำดับถัดไป สอดคล้องกับแผนของธนาคารที่เน้นไปทาง Digital platform มากขึ้น (ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ราว 4% ของรายได้รวมมาจากช่องทาง digital) โดยธุรกรรมนี้จะทำให้ SCB ได้ประโยชน์จากฐานลูกค้า AIS ที่เป็นเบอร์ 1 ในกลุ่มมือถือ

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ระบุแนะนำ “ซื้อ” หุ้น ADVANC เป้า 210 บาท และแนะนำ “ซื้อ” หุ้น SCB ราคาเป้า 125 บาท โดยมอง slightly positive กับการจับมือกันครั้งนี้ เนื่องจากมอง Synergy ที่จะเกิดขึ้นจากที่ AIS มีฐานลูกค้ามือถือถึง 43.2 ล้านหมายเลข อันดับ 1 ของประเทศ

ขณะที่ SCB ก็มีฐานลูกค้าสินเชื่อที่เป็น Retail อันดับ 1 เช่นกัน โดย JV จะนำ Technology AI Analytics เข้ามาช่วยวิเคราะห์สินเชื่อและจับตลาด digital lending เนื่องจากประชากร 60% ของประเทศที่ไม่มีรายได้ประจำ เข้าถึงการปล่อยกู้แบบเดิมๆ ไม่ได้ แต่ความเสี่ยงก็มีมากเช่นกัน

ด้าน Digital lending ยังมีฐานที่ต่ำระดับหลักพันล้านบาท – หมื่นล้านบาท (หมื่นต้นๆ) สำหรับแบงค์สินเชื่อระดับนี้ถือว่าไม่มาก เพราะ SCB มีฐานสินเชื่อระดับ 2 ล้านล้านบาท แต่ถือเป็นตลาดที่เติบโตสูงมากๆ เนื่องจากฐานต่ำ และความต้องการสูงมาก

อย่างไรก็ตาม ยังมองว่าต้องใช้เวลาอีกสักพักถึงจะเห็นเป็นรูปธรรม โดยตลาด digital lending ในประเทศไทยค่อนข้างที่จะยาก และมีผู้เล่นอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แล้วยังไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก ได้แก่ LINE BK ที่ก่อนหน้านี้ กสิกรไทย เคยเปิดตัวการปล่อยกู้แบบ Digital Lending ผ่านช่องทาง K PLUS Mobile Banking Platform มาก่อนแล้วเมื่อปี 2562 ซึ่งมีผู้ใช้งานแล้วกว่า 11 ล้านคน และธนาคารกรุงศรี ได้เปิดบริการสินเชื่อส่วนบุคคล Krungsri iFIN ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในการขอสินเชื่อ ทำให้ต้นทุนสามารถลดลงกว่า 30-40% แต่มันเป็น new ecosystem ในยุคใหม่เป็น business model ที่ใครมีฐานลูกค้ามากๆ ต้องทำสำหรับโอกาสในอนาคต

Back to top button