“โนมูระฯ” คาดกนง.หั่นดบ.เหลือ 0.25% พร้อมส่อง 2 ธีมหุ้นได้-เสียประโยชน์
“โนมูระฯ” คาดกนง.หั่นดบ.เหลือ 0.25% พรุ่งนี้! พร้อมส่อง 2 ธีมหุ้นได้-เสียประโยชน์ กรณีปรับลด-คงดอกเบี้ยที่ 0.50%
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการสำรวจและรวบรวมมุมมองนักวิเคราะห์ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันพุร่งนี้ (29 กันยายน 2564) ว่าจะมีมุมมองการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายหรือคงดอกเบี้ยหรือไม่ โดยครั้งนี้จะนำเสนอมุมมอง ของบล.โนมูระ พัฒนสิน พร้อมกลยุทธ์ลงทุนซึ่งระบุไว้ดังนี้
โดยบล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า นักเศรษฐศาสตร์ 19 ใน 22 ท่าน ประเมินดอกเบี้ยนโยบายจะคงดอกเบี้ยที่ 0.5% ในการประชุมวันพรุ่งนี้ ขณะที่บล.โนมูระ พัฒนสิน เป็น 1 ใน 3 มุมมองคาดจะที่เกิด Surprise ปรับดอกเบี้ยลดลงสู่ 0.25% ด้วยเหตุผลมีดังนี้
1) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังอ่อนแอ โดยเฉพาะอุปสงค์ในประเทศ
2) ธปท. ยังมีช่องให้ลดดอกเบี้ยได้ Nomura คาดว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ยังไม่ใช่ระดับต่ำสุดที่ยังรักษาประสิทธิภาพของนโยยายการเงิน (effective lower bound (ELB) โดย ธปท. เคยระบุว่า อัตราค่าธรรมเนียมที่ 0.23% ของกองทุน FIDF (Financial Institution Development Fund) นั้นไม่ควรมองว่าเป็น ELB (FIDF) ดังนั้น “โนมูระ พัฒนสิน” คิดว่า ELB ของ ธปท.น่าจะอยู่ที่ 0.00-0.25%
3) เงินเฟ้อกลับมาอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายอย่างรวดเร็ว: เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. อ่อนลงเหลือ -0.02%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจาก 0.45% ในเดือน ก.ค. และเงินเฟ้อพื่นฐาน เพิ่มแค่ 0.1% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 1.2% ในช่วงปี 2553-2562 อยู่มาก สะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจากอุปสงค์จำกัดมาก และReal Returnเป็นบวก(ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเป็นบวกมาก จากเงินเฟ้อติดลบ)
4) ธปท.ไม่ได้กังวลมากนักเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนลง เนื่องจากการอ่อนค่าเกิดจากคาดการณ์การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด “โนมูระ พัฒนสิน” คาด -2.1% ของ GDP
5) การเพิ่มเพดานหนี้ภาครัฐไม่ได้หมายความว่าจะมีการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในระยะสั้น ในภาวะที่อุปสงค์ในประเทศยังอ่อนตัส
6) มติคงดอกเบี้ยทีไม่เป็นเอกฉันท์ในการประชุมเดือนส.ค สะท้อนสัญญาณเรื่องการลดดอกเบี้ย
ด้านกลยุทธ์ลงทุน : แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) กรณีลดดอกเบี้ย 0.25% และ 2) กรณีคงดอกเบี้ย 0.5%
1) กรณีลดดอกเบี้ย 0.25% ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าเร่งตัว รับคาดการณ์นโยบายการเงินมี Downside ผลกระทบต่อตลาด
กลุ่มธนาคาร : จะพักฐานระยะสั้นในวันนี้ และพรุ่งนี้ กรณีลดดอกเบี้ย Surprise ตลาด กลุ่มธนาคารจะมีแรงกดเพิ่มเติมรับ Downside การปรับสมมติฐานลงจากส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิ(NIM) ที่แคบลง โดยธนาคารใหญ่ Downside กำไรสุทธิราว 12-18% แต่ชดเชยได้ด้วยการขยายระยะเวลาลดเงิน FIDF ดังนั้น ให้เน้นอ่อนตัวซื้อ BANK เพื่อระยะยาว เนื่องจากเป็นจุดสิ้นสุดดอกเบี้ยขาลง SCB, KBANK, BBL น่าสนใจตั้งรับ ขณะที่ TISCO เป็น Hire-purchase ที่ได้ผลบวกมากสุด
กลุ่ม Consumer Finance : จะฟื้นตัวจากภาพบวกต่อ Cost of Fund โดยแบ่งเป็นสินเชื่อรถบรรทุก บวกต่อ THANI มากสุด 0.61-1.42% รองลงมาเป็น MICRO +0.45%-1.39% ส่วนกลุ่มจำนำทะเบียนบวก TIDLOR มากสุด 0.39%-0.69% รองลงมา MTC 0.3%-0.67% ขณะที่ความเสี่ยงด้านการแข่งขันจากการปรับโครงสร้างของธนาคารจะกระทบฐานกำไรกลุ่นปีที่ 3 เป็นต้นไป ดังนั้น ช่วง 2 วันที่ผ่านมาตลาดซึมรับเรื่องนี้ไปแล้ว เน้น MTC,TIDLOR, JMT, SINGER เด่น
กลุ่มส่งออกจะได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อาจอ่อนค่าเร่งตัว ถึง 34.5 บาทต่อเหรียญฯ ในระดับเดือน หุ้น KCE, HANA, TU, ASIAN เด่น
2) กรณีคงดอกเบี้ย 0.5% กลุ่มธนาคารจะประคองตลาดต่อจากวงจรดอกเบี้ยขาลงสิ้นสุดเช่นกัน เน้น SCB, KBANK, BBL ส่วนกลุ่ม Consumer Finance จะค่อยๆ ฟื้นตาม เน้น TIDLOR, JMT, SINGER ขณะที่ค่าเงินบาทจะค่อยๆ zigzag อ่อนค่าขึ้น 34-34.25 บาทต่อเหรียญฯ บวกต่อ TU, KCE