“เอเชีย พลัส” คัด 36 หุ้นได้-เสียประโยชน์ “ดอกเบี้ยขาขึ้น”

“เอเชีย พลัส” คัด 36 หุ้นได้-เสียประโยชน์ “ดอกเบี้ยขาขึ้น” เน้น 4 กลุ่มหลัก “โภคภัณฑ์-แบงก์-ปันผลสูง-ส่งออก” 25 ตัว ส่วนเสียประโยชน์แนะเลี่ยงลงทุน 11 ตัว กลุ่ม”ค้าปลีก-อสังหาฯ-เช่าซื้อ” พร้อมชูกลยุทธ์แนะนำถือเงินสด 10% แนะลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ราคาผันผวนต่ำ ADVANC, MAKRO และหุ้นมีเกราะป้องกันดอกเบี้ยขาขึ้น KBANK เป็น Top picks


บล.เอเชีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (11 ก.พ. 2565) กรณีประเด็นที่นักลงทุนให้น้ำหนักเมื่อวานคือ รายงาน US inflation   เดือน ม.ค. ออกมา 7.5% (สูงสุดในรอบ 40 ปี) และสูงกว่าที่ Consensus คาดที่ 7.2% เช่นเดียวกับ Core inflation ในเดือนเดียวกันอยู่ที่ 6% ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้มุมมองตลาดในปัจจุบัน อิงผลสำรวจใน Bloomberg  คาดเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 6 ครั้งจากการประชุมเฟดในปีนี้เหลือ 7 ครั้ง และคาดการณ์ขึ้นครั้งแรกยังคงมุมมองเดิม คือ ขึ้นรอบ มี.ค. แต่คาดโอกาสจะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอยู่ที่ 0.75% (จากเดิมคาดขึ้นแค่ 0.25%)  โดยรวมสรุป

ทั้งนี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า Consensus ในตลาดมีมุมมองต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในปีนี้ในอัตราเร่งมากขึ้น เชื่อว่าสินทรัพย์เสี่ยงยังผันผวนรอรายงาน Fed Minutes  วันที่ 16 ก.พ.2565 (คาดรอรายละเอียดเรื่องดอกเบี้ยการลด Balance sheet)

โดยรวมช่วงสั้นเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง เห็นจากตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อวานปรับฐานลง  (ดัชนี Nasdaq ปรับลงมากสุด 2.1% Dow jones -1.8%   S&P500 -1.47%)  คาดจะเป็น Sentiment ลบต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้   ขณะที่ Bond Yields สหรัฐอายุ 2 ปี และ 10 ปีปรับขึ้นแรง และทำจุดสูงสุดในรอบมากกว่า 2 ปี  อยู่ที่  1.58% และ 2.035%  ตามลำดับ  (Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มประกันชีวิต อาทิ BLA)

อย่างไรก็ตามคำแนะนำลงทุนช่วงที่ความกังวลเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูง บล.เอเซีย พลัส ทำการศึกษาในอดีตช่วงที่เงินเฟ้อโลกและไทยเป็นขาขึ้นในช่วงปี 50-51  พบว่า Sector ที่ Outperform ของไทย เช่น กลุ่มปิโตร-น้ำมัน ตามราคาน้ำมัน, กลุ่มประกัน  กลุ่มอาหาร และกลุ่ม ICT  และอีกการศึกษาในล่าสุดช่วง ระหว่าง 5-27 ม.ค.65 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยฯ พบว่า Sector ที่ Outperform คือกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ กลุ่มท่องเที่ยว  กลุ่ม ICT  และกลุ่มปิโตรเคมี โดยรวมยังแนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ Outperform

นอกจากนี้ได้คัดเลือกกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เพื่อเป็นเกราะป้องกันเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้นมานำเสนอ โดยเน้น 4 กลุ่มหลัก “โภคภัณฑ์-แบงก์-ปันผลสูง-ส่งออก” ซึ่งมีหุ้นทังหมด 25 ตัว ขณะเดียวกันหุ้นที่เสียประโยชน์แนะเลี่ยงลงทุน 11 ตัว ได้แก่กลุ่ม”ค้าปลีก-อสังหาฯ-เช่าซื้อ” นอกจากนี้ยังชูกลยุทธ์แนะนำถือเงินสด 10% และแนะลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ราคาผันผวนต่ำได้แก่ ADVANC, MAKRO และหุ้นมีเกราะป้องกันดอกเบี้ยขาขึ้น KBANK เป็น Top picks ดังตารางประกอบ

นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มน่ากังวล หลังจำนวนผู้ติดเชื้อยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นที่สังเกตว่าจำนวนผู้ป่วยหนักกลับไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามไป ซึ่งจากสถานการณ์ข้างต้น ส่งผลให้ภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง โดยวานนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นที่เตรียมจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมศบค.ในวันนี้ อาทิ  ยกเลิกโรค COVID-19 ออกจากบริการยูเซป (UCEPCOVID) และให้ประชาชนหันไปใช้สิทธิ์ UCEP ทั่วไปแทน โดยผู้ติดเชื้อต้องไปใช้สิทธิ์รักษาตามที่ผู้ป่วยมี อาทิ บัตรทอง, ประกันสังคม, สิทธิ์ข้าราชการ และประกันสุขภาพต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังมีการปรับราคาการใช้บริการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR  ตามวิธีการตรวจ โดยตรวจ 2 ยีนส์ ภาครัฐฯจะจ่าย 900 จากเดิม 1,300 ส่วนตรวจ 3 ยีนส์ จ่าย 1,100 บาท จากเดิม 1,500 บาท คาดให้เริ่มมีผลในวันที่ 1 มี.ค. 2565 นี้

ดังนั้น บล.เอเซีย พลัส ประเมินเป็น Sentiment ลบต่อกลุ่มโรงพยาบาลประกันสังคม จากความเสี่ยงจำนวนผู้ป่วยเข้ามาตรวจ/รักษา COVID-19 น้อยลง เพราะต้องไปโรงพยาบาลที่ตนมีสิทธิ์เท่านั้นโดยยังให้เน้นลงทุน BH, BDMS จากความคาดหวังการฟื้นตัวได้ชัดจากผู้ป่วยต่างชาติ และหลีกเลี่ยงกลุ่มโรงพยาบาลประกันสังคม

Back to top button