“ฟินันเซีย” คัด 9 หุ้น Value Play รับมือ FED ขึ้นดอกเบี้ยชุดใหญ่ เน้น “พลังงาน-แบงก์”
“ฟินันเซีย” คัด 9 หุ้น Value Play รับมือ FED ขึ้นดอกเบี้ยชุดใหญ่ เน้น ”พลังงาน-แบงก์-ค้าปลีก-อสังหาฯ-ยานยนต์ BCP,CPALL,CPN,HMPRO,ORI,SC,STANLY TOP,TTB นำทีมเด่น
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(15 ก.พ.65) ว่า ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนอย่างมากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาจากความกังวลสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกที่ พุ่งแรงกว่าคาดโดยเฉพาะฝั่งสหรัฐฯ ล่าสุดตัวเลข CPI เดือน ม.ค.2565 โต 0.6% เทียบเดือนก่อนหน้า,โต 7.5% เทียบช่วงเดียวกันของกัน สูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ Bond Yield อายุ 2 ของสหรัฐฯพุ่งขึ้นทะลุ 1.5-1.6% กลับไปใกล้เคียงช่วงก่อนเกิด COVID-19 ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กดดันสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้น
ทั้งนี้หากอ้างอิงช่วงเดือน ต.ค.2559-ก.ค.2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจาก -0.25-0.50% เป็น 2.25-2.50% โดย SET Index (ต.ค.2559-ก.ค.2562) ให้ผลตอบแทนโต 17% Underperform ทั้งตลาดหุ้นโลก สหรัฐฯ และเอเชีย ขณะที่ด้านกระแสเงินทุนมีความผันผวนมากโดยปี 2560 ถึงต้นปี 2561 ไหลเข้าสะสมสูงสุดราวราว 1.8 แสนลบ. ก่อนที่จะไหลออกอย่างรุนแรงในปี 2561-2562 และมียอดขายสะสมสูงสุดกว่า 3 แสนลบ.
อย่างไรก็ตามยังคงมุมมองเดิมว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปี 2565 ซึ่งตลาดมองปรับขึ้น 6-7 ครั้งจะไม่ กระทบกับ SET Index และกระแสเงินทุนให้ไหลออกอย่างมีนัยยะ เนื่องจากช่วงปี 2563-2564 ที่ถึงแม้ FED จะอัดฉีดเม็ดเงิน Unlimited QE แต่กระแสเงินทุนไหลกลับออกจากไทยกว่า 3.2 แสนลบ. ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศของไทยที่ทยอยฟื้นตัวตามการ Reopen และโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะ เริ่มกลับมาในช่วงครึ่งหลังปี 2565 คาดว่ายังเป็นปัจจัยหลักและมีน้ำหนักบวกให้กระแสเงินทุนพลิกกลับมาไหลเข้า
โดยล่าสุดตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยแล้ว 6.2 หมื่นลบ. สอดคล้องกับที่ประเมินและคาดยังทยอยไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง หากอิงช่วงเวลาเดียวกันข้างต้นที่ FED ขึ้นดอกเบี้ย กลุ่มที่ปรับตัวได้โดดเด่นที่สุดคือ ขนส่ง พลังงาน และปิโตรเคมี PF&REIT ค้าปลีก อสังหาฯ ธนาคาร และยานยนต์ ตามลำดับ ซึ่งล้วนแต่ เป็นกลุ่ม Value Play สอดคล้องกับที่ประเมินว่าเป็นกลุ่มที่ทนทานและสามารถป้องกันความเสี่ยง (Hedge) เงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้นได้ดี
ขณะที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลงสูงสุด ซึ่งหากถึงผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 2565ถึงปัจจุบัน พบว่าการเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มมีความใกล้เคียงกัน และหุ้น PER สูงคาดยังถูกทำกำไร
โดยยังคงกลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้น Value และ Domestic Play ได้แก่ พลังงาน,ธนาคาร,ค้าปลีก,อสังหาฯ,ยานยนต์ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหลักของ SET Index และคาดว่ายังคงสามารถปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าตลาดอย่างต่อเนื่องและยังคงเป้าหมาย SET Target ปี 2565 ที่ 1,770 จุด (Bloomberg EPS 96 บาท อิง PER 18.5 เท่า) โดยมีหุ้นที่ PER/PBV เทียบกับตลาดหรือเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตช่วงก่อน COVID-19 ได้แก่ BCP,CPALL,CPN,HMPRO,ORI,SC,STANLY,TOP และ TTB