ท่าจะยาว! ประมูล 4G รอบที่ 18 เคาะใบแรก 21,882 ลบ.-ใบที่สอง 23,076 ลบ.
ท่าจะยาว! ประมูล 4G รอบที่ 18 เคาะใบแรก 21,882 ลบ.-ใบที่สอง 23,076 ลบ.
ผู้สื่อข่าวรายงานการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในชั่วโมงแรก (10.00-11.00 น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขันอยู่เพียงรายเดียว เริ่มเคาะราคารอบแรก 16,708 ล้านบาทที่ทุกรายต้องเคาะราคาและรอบ 2 เคาะเพิ่มเป็น 17,504 ล้านบาท ส่วนรอบ 3 ยืนราคาเดิม
ส่วนชุดที่ 2 ราคาประมูลชั่วโมงแรก ราคาประมูลขึ้นมาที่ 18,300 ล้านบาท โดยชุดที่ 2 มีเอกชนเข้าร่วมเคาะราคา 3 รายตั้งแต่รอบแรกเคาะที่ราคา 16,708 ล้านบาท รอบที่ 2 มีผู้แข่งราคา 2 ราย เคาะราคาที่ 17,504 ล้านบาท ส่วนอีกราย อาจจะใช้สิทธิไม่เสนอราคา(Waiver) หรืออาจจะเป็นผู้ชนะชั่วคราวในรอบที่แล้วและใช้สิทธิยืนราคาเดิม และรอบ 3 ได้มีผู้เข้าแข่งราคา 2 ราย ที่ราคา 18,300 ล้านบาท
ระหว่างนี้รอการประมูลรอบที่ 4 โดยชุดที่ 2 ราคาเคาะขึ้นไปที่ 19,096 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 1 ยังยืนราคาเดิม
สำหรับการประมูลในชั่วโมงที่สอง (11.00-12.00น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขัน 1 รายย้ายจากชุดที่ 2 มาแข่งขันในชุดที่ 1 และไต่ราคาจาก 17,504 ล้านบาท ในรอบที่ 4 และเพิ่มเป็น 18,300 ล้านบาท ในรอบที่ 5 ส่วนรอบที่ 6 ไม่มีผู้ประมูล ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท
ส่วนชุดที่ 2 ยังมีการแข่งขันสู้ราคาแบบไม่ถอย โดยมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 4 เป็น 19,892 ล้านบาท แต่รอบที่ 5 กลับมามีผู้แข่งขัน 3 ราย และแข่งราคาขึ้นมาที่ 19,892 ล้านบาท และรอบที่ 6 เพิ่มมาเป็น 20,290 ล้านบาทซึ่งมากกว่าราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประมูลราคาในชุดที่ 2 เห็นว่ามีการแข่งขันสูง เพราะเป็นช่วงคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นชุดที่อยู่ติดกับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 61 ทำให้ผู้ประกอบการสนใจประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ชุดที่ 2 มากกว่าชุดที่ 1 จึงประเมินว่าผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขันในชุดที่ 2 คือผู้ประกอบการรายเดิม คือ ดีแทค, ทรูมูฟ และดีพีซี (บริษัทลูกของเอไอเอส) เพราะ 3 รายเดิมเตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz อีกในอนาคต ส่วนชุดที่ 1 น่าจะเป็นกลุ่ม บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS)
สำหรับการประมูลในชั่วโมงที่สาม (12.00น.-13.00น.) เริ่มเห็นการแข่งขันราคาในชุดที่ 1 โดยราคาประมูลสิ้นชั่วโมงที่สาม อยู่ที่ 19,096 ล้านบาท จากสิ้นชั่วโมงที่สอง ราคายืนที่ 18,300 ล้านบาท
ส่วนชุดที่ 2 ยังคงการแข่งขันดุเดือด โดยราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 7 เป็น 20,688 ล้านบาท รอบที่ 8 ปรับขึ้นมาเป็น 21,086 ล้านบาท หรือคิดเป็นราคา 106% โดยมีราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท แต่ในรอบที่ 9 ไม่มีการแข่งขัน ราคาจึงยืนที่เดิม
ในการประมูลชั่วโมงที่สี่ (13.00-14.00 น.) ราคาในชุดที่ 1 รอบที่ 10 มีการเคาะเพิ่มราคา 1 ราย โดยราคามาอยู่ที่ 19,892 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ราคาในรอบที่ 10 ยังคงไม่มีผู้แข่งขัน จึงยืนราคาเดิมที่ 19,892 ล้านบาท
ขณะที่รอบที่ 11 ในชุดที่ 1 คงราคาเดิม จากรอบที่แล้ว และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาเพิ่มจำนวน 2 ราย ราคาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท และรอบที่ 12 ชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคายังคงราคาเดิม ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาอยู่ที่ 21,882 ล้านบาท
การประมูลในชั่วโมงที่ 5 (14.00-15.00 น.) ราคารอบที่ 13 มีผู้เคาะเพิ่มราคา ในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย โดยมีราคาล่าสุด 20,290 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่ 21,882 ล้านบาท
รอบที่ 14 มีผู้เคาะราคา ในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มมาอยู่ที่ 20,688 ล้านบาท และชุดที่ 2 ยังคงไม่มีผู้เสนอเพิ่ม ราคาคงเดิม
รอบที่ 15 มีผู้เสนอราคาในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย โดยมีราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,086 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาจึงขึ้นมาอยู่ที่ 22,280 ล้านบาท
รอบที่ 18 เคาะใบแรก 21,882 ลบ.-ใบที่สอง 23,076 ลบ.
ด้านนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กล่าวว่า โดยการแข่งขันในขณะนี้ยังมีผู้แข่งขันเคาะราคาสู้กันอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเคาะราคาสู้กันไปอีกอย่างน้อย 3 รอบ