ส่อง “หุ้นได้-เสีย” ประโยชน์ ยุโรปเสี่ยงขาดแคลนก๊าซ ชูท็อปพิก “พลังงาน-ปิโตรฯ”
ส่องหุ้น “ได้-เสีย” ประโยชน์ ยุโรปเสี่ยงขาดแคลนก๊าซ ชูท็อปพิก “PTTEP-BANPU-SPRC” แนะเลี่ยงลงทุนอิเล็กฯ อ่วมสุดนำโดย KCE
บล.เคทีบีเอสที ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (26 ก.ค. 65) ว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนก๊าซฯในยุโรป(EU) อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากอุปทานก๊าซฯขาดแคลนก่อนฤดูหนาวจะมาถึง ซึ่งทางสหภาพยุโรป (EU) กำลังประสบปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานขั้นสุดท้ายที่สำคัญ (ประมาณ 22% ของพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดใน EU ในปี 63) เป็นผลจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานโดยอุปสงค์การใช้พลังงานในปีนี้สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.) เนื่องจากมีคลื่นความร้อน (heat wave) ทั่วยุโรปทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ
ขณะเดียวกัน อุปทานก๊าซฯก็มีน้อยลง ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากข้อขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยุโรปจากการทำสงครามในยูเครน โดยในปี 63 ทางยุโรปได้มีการนำเข้าก๊าซฯจากรัสเซียคิดเป็น 40% ของความต้องการใช้ก๊าซฯทั้งหมดปริมาณก๊าซจาก Nord Stream 1 ยังมีความผันผวนสูง รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซฯรายสำคัญสำหรับยุโรปประมาณ 40% ของความต้องการใช้ก๊าซฯทั้งหมดของยุโรปในปี 64
ทั้งนี้ตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และมีการใช้มาตรการคว่ำบาตร (sanction) พลังงานจากรัสเซีย การจัดส่งก๊าซฯจากรัสเซียก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง บริษัท Gazprom (บริษัทก๊าซฯของรัสเซีย) หลังจากที่ประกาศลดปริมาณการจ่ายก๊าซฯลง 60% ในเดือน มิ.ย. 65 แล้ว ได้ประกาศว่าจะกลับมาจ่ายก๊าซฯผ่านท่อ Nord Stream 1 ที่ระดับ 40% หลังจากปิดซ่อมบำรุงประจำปีในระหว่างวันที่ 11-21 ก.ค. 65
อย่างไรก็ดี Gazprom ได้ประกาศเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) แก่ลูกค้าในยุโรป เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 65 เพื่อเป็นการแจ้งว่าบริษัทไม่สามารถรับประกันอุปทานก๊าซฯ ให้กับลูกค้าได้ และล่าสุดแจ้งว่าปริมาณก๊าซฯจะลดลงเหลือ 20% (ประมาณ 33 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน (bcm)) ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 65
โดยเป็นผลมาจากบริษัทต้อง ปิดซ่อมกังหันที่สถานี compressor ปริมาณสำรองก๊าซฯจะเป็นปัจจัยท้าทายสำหรับความมั่นคงด้านพลังงาน ในช่วงปลายปีตามข้อมูลของ Gas Infrastructure Europe (GIE) (องค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร) ปริมาณสำรองก๊าซฯของยุโรป
ล่าสุด (ณ วันที่ 21 ก.ค. 65) อยู่ที่ 722 Terawatt hour (TWh) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 65.0% ของความสามารถ ในการสำรองก๊าซฯโดยรวม ทั้งนี้ EU ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มปริมาณสำรองให้ได้ 80% ภายในเดือน พ.ย. เพื่อรองรับฤดูหนาวที่จะมาในช่วงปลายปี
อย่างไรก็ดีเป้าหมายนี้ยังมีความท้าทายอยู่ เนื่องจากว่ายุโรปกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ heat wave ซึ่งทำให้เกิดอุปสงค์การใช้ไฟฟ้า (หลักๆสำหรับเครื่องปรับอากาศ) ที่สูงขึ้น Gas rationing ยากที่จะหลีกเลี่ยงแต่อาจจะไม่เท่ากันสำหรับทุกประเทศยุโรป เนื่องจากความกังวลว่าอุปทานก๊าซฯจากรัสเซียที่ส่งให้ยุโรปจะหายไปและจะทำให้ ปริมาณสำรองก๊าซฯไม่เพียงพอในฤดูหนาว
ส่วนในสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการ ยุโรป (EC) จึงได้มีการเสนอให้ประเทศสมาชิกในยุโรป ทั้ง 27 ประเทศ โดยลดการใช้ก๊าซฯ 15% ในช่วงเดือน ส.ค. 65-มี.ค. 66 อย่างไรก็ดี ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้าน โดยประเทศสมาชิกหลายประเทศ ซึ่งรวมถึง สเปน โปรตุเกส และโปแลนด์ เนื่องจากการจำกัดการใช้ก๊าซฯอาจจะทำให้เกิดไฟดับได้เนื่องจากพลังงาน ทางเลือกอื่นไม่เพียงพอที่จะชดเชยปริมาณก๊าซฯที่ลดลง
ด้านบล.เคทีบีเอสที เชื่อว่าหุ้นกลุ่มพลังงานต้นน้ำจะยังน่าลงทุน “outperform” ขณะที่หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และโรงไฟฟ้าจะเลี่ยงการลงทุน “underperform” จากความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะขาดแคลนก๊าซฯในยุโรปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเมื่อยุโรปเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเต็มตัว โดยเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ยุโรปจะต้องมีการใช้นโยบายปันส่วน (rationing) ซึ่งจะส่งให้อุปสงค์การใช้ไฟฟ้าลดลงโดยเฉพาะการใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งจะกระทบ ต่อห่วงโซ่การผลิตในยุโรป เพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าไฟฟ้าเพียงพอสำหรับกลุ่มที่ จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัยและโรงพยาบาล
โดยหุ้นที่คาดว่าจะน่าลงทุน “outperform” จากความเป็นไปได้ที่ยุโรปจะขาดแคลนก๊าซฯ ได้แก่ 1) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 190.00 บาท ซึ่งจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ยืนสูง จากอุปสงค์ gas-to-oil ที่น่าจะเกิดขึ้นหากราคาก๊าซฯปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราส่วนรายได้ gas:liquid ในไตรมาส 1/65 อยู่ที่ 52:48
รวมทั้ง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 16.00 บาท ซึ่งจะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหิน (67% ของไตรมาส 1/65 consolidated EBITDA) ที่จะสูงขึ้นจากความต้องการทดแทน ก๊าซฯ และราคาก๊าซฯ US (28% ของ consolidated EBITDA) ที่ยืนสูง ตามแนวโน้มราคาก๊าซฯ LNG ที่น่าจะเห็นอุปสงค์ดีขึ้นจากความต้องการ ในยุโรป
ขณะที่ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 15.50 บาท ซึ่งจะได้ประโยชน์จากราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยเฉพาะ diesel (44% ของปริมาณการผลิตในไตรมาส 1/65) ที่สูงขึ้นเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซฯ
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะต้องเลี่ยงการลงทุน “underperform” จากความเป็นไปได้ที่ทางยุโรปจะขาดแคลนก๊าซฯ ได้แก่ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE น่าจะได้รับคำสั่งซื้อที่ลดลงจากลูกค้าในยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่คิดเป็นประมาณ 50% ของรายได้บริษัท
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ผลกระทบจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นกดดันmargin โดยลูกค้าราว 45-50% เป็นลูกค้าอุตสาหกรรมซึ่งส่งผ่านต้นทุนไม่ได้
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผลกระทบจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นกดดันmargin โดยลูกค้าราว 20-25% เป็นลูกค้าอุตสาหกรรมซึ่งส่งผ่านต้นทุนไม่ได้
ขณะเดียวกันกลุ่มที่ได้รับผลบวกจากความเป็นไปได้ที่ทางยุโรปจะขาดแคลนก๊าซฯ เรียงตามลำดับ ได้แก่
กลุ่มพลังงาน พลังงานต้นน้ำได้ประโยชน์จากราคาพลังงานที่น่าจะสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวตอนปลายปีเมื่อความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้น ในขณะที่อุปทานและปริมาณส ารองยังคงตึงตัว โดยเราคาดว่าความไม่สมดุลจะน าไปสู่ราคาก๊าซฯ LNG ที่สูง ซึ่งจะท าให้ราคาถ่านหินและน้ำมันดิบ/ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสูงขึ้นตาม
กลุ่มปิโตรเคมีอาจจะได้ผลบวกต่อส่วนต่างราคาปิโตรเคมี (product pricespread) จากการที่กลุ่มอุตสาหกรรมในยุโรปลดการผลิต จากการทำ gasrationing Sector ที่ได้รับผลลบจากความเป็นไปได้ที่ยุโรปจะขาดแคลนก๊าซฯ เรียงตามลำดับ ได้แก่
กลุ่มไฟฟ้า ต้นทุนหลักของโรงไฟฟ้า SPP กว่า 70% มาจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเชื่อมโยงกับราคาน้ำมันและราคา LNG spot (บางส่วน) เรียงลำดับจากหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากไปน้อย บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 72.00 บาท, บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 45.00 บาท, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF แนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 47.00 บาท
กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับผลกระทบจาก supply chain ที่ถูกกดดันโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์จึงมองว่า บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE จะได้รับผลกระทบมากสุดเนื่องจากรายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ และประเทศยุโรปเป็นหลัก
กลุ่มสายการบิน มีโอกาสได้รับผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวเดินทางลดลงโดยบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA มีสัดส่วนรายได้จากเที่ยวบินยุโรป 15%-20% ส่วน บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV กระทบจำกัดเนื่องจากไม่มีเที่ยวบินยุโรป นักท่องเที่ยวยุโรปต่อเครื่องบินสายการบินไทยแอร์เอเชียน้อย
กลุ่มท่องเที่ยว บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 44.00 บาท มีสัดส่วนรายได้จากโรงแรมในยุโรปราว 60% แต่เชื่อว่าผลกระทบจ ากัดเพราะจะถูกชดเชยไปกับ ADR ที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วง High season ที่ยุโรป
หุ้นกลุ่มอื่นๆ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP แนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 56.00 บาท ได้รับผลกระทบจากต้นทุนถ่านหินที่สูงขึ้นซึ่งมีสัดส่วนราว 6% ต้นทุนรวม ส่วนบริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TOG แนะนำ ”ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 10.00 บาท มีสัดส่วนรายได้จากยุโรป 25% แต่ประเมินผลกระทบจำกัด จากรายได้ภูมิภาคอื่นที่ยังฟื้นดีต่อเนื่อง รวมถึงได้อานิสงส์จาก high season ของลูกค้ากลุ่มประกัน