มาดู! สรุปลำดับเหตุการณ์ศึกชิงประมูล 4G คลื่น 1800 MHz
มาดู! สรุปลำดับเหตุการณ์ศึกชิงประมูล 4G คลื่น 1800 MHz
ผู้สื่อข่าวรายงานสรุปเหตุการณ์การประมูล 4G คลื่น 1800 MHz ที่ครบรอบ 24 ชั่วโมงใน 10.00 น.วันนี้(12 พ.ย.) จากการเริ่มตันประมูลตั้งแต่เช้า 10.00 น.วานนี้(11 พ.ย.)
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ยังคงเคาะราคาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ 10.00 น.ของเมื่อวานนี้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วในเช้าวันนี้ โดยล่าสุด การเคาะราคารอบที่ 71 มีผู้เสนอราคาใบอนุญาตล็อตที่ 1 เพิ่มเป็น 36,608 ล้านบาท ส่วนใบที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคาเพิ่ม จึงยังคงอยู่ในระดับเดิมที่ 36,210 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz โดยมีเอกชน 4 รายที่เข้าร่วม ประกอบด้วย บริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด
ในชั่วโมงแรกของการประมูลวานนี้ (10.00-11.00 น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขันอยู่เพียงรายเดียว เริ่มเคาะราคารอบแรก 16,708 ล้านบาทที่ทุกรายต้องเคาะราคาและรอบ 2 เคาะเพิ่มเป็น 17,504 ล้านบาท ส่วนรอบ 3 ยืนราคาเดิม
ส่วนชุดที่ 2 ราคาประมูลชั่วโมงแรก ราคาประมูลขึ้นมาที่ 18,300 ล้านบาท โดยชุดที่ 2 มีเอกชนเข้าร่วมเคาะราคา 3 รายตั้งแต่รอบแรกเคาะที่ราคา 16,708 ล้านบาท รอบที่ 2 มีผู้แข่งราคา 2 ราย เคาะราคาที่ 17,504 ล้านบาท ส่วนอีกราย อาจจะใช้สิทธิไม่เสนอราคา(Waiver) หรืออาจจะเป็นผู้ชนะชั่วคราวในรอบที่แล้วและใช้สิทธิยืนราคาเดิม และรอบ 3 ได้มีผู้เข้าแข่งราคา 2 ราย ที่ราคา 18,300 ล้านบาทระหว่างนี้รอการประมูลรอบที่ 4 โดยชุดที่ 2 ราคาเคาะขึ้นไปที่ 19,096 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 1 ยังยืนราคาเดิม
สำหรับการประมูลในชั่วโมงที่สอง (11.00-12.00น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขัน 1 รายย้ายจากชุดที่ 2 มาแข่งขันในชุดที่ 1 และไต่ราคาจาก 17,504 ล้านบาท ในรอบที่ 4 และเพิ่มเป็น 18,300 ล้านบาท ในรอบที่ 5 ส่วนรอบที่ 6 ไม่มีผู้ประมูล ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท
ส่วนชุดที่ 2 ยังมีการแข่งขันสู้ราคาแบบไม่ถอย โดยมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 4 เป็น 19,892 ล้านบาท แต่รอบที่ 5 กลับมามีผู้แข่งขัน 3 ราย และแข่งราคาขึ้นมาที่ 19,892 ล้านบาท และรอบที่ 6 เพิ่มมาเป็น 20,290 ล้านบาทซึ่งมากกว่าราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประมูลราคาในชุดที่ 2 เห็นว่ามีการแข่งขันสูง เพราะเป็นช่วงคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นชุดที่อยู่ติดกับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 61 ทำให้ผู้ประกอบการสนใจประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ชุดที่ 2 มากกว่าชุดที่ 1 จึงประเมินว่าผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขันในชุดที่ 2 คือผู้ประกอบการรายเดิม คือ ดีแทค, ทรูมูฟ และดีพีซี (บริษัทลูกของเอไอเอส) เพราะ 3 รายเดิมเตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz อีกในอนาคต ส่วนชุดที่ 1 น่าจะเป็นกลุ่ม บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS)
สำหรับการประมูลในชั่วโมงที่สาม (12.00น.-13.00น.) เริ่มเห็นการแข่งขันราคาในชุดที่ 1 โดยราคาประมูลสิ้นชั่วโมงที่สาม อยู่ที่ 19,096 ล้านบาท จากสิ้นชั่วโมงที่สอง ราคายืนที่ 18,300 ล้านบาท
ส่วนชุดที่ 2 ยังคงการแข่งขันดุเดือด โดยราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 7 เป็น 20,688 ล้านบาท รอบที่ 8 ปรับขึ้นมาเป็น 21,086 ล้านบาท หรือคิดเป็นราคา 106% โดยมีราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท แต่ในรอบที่ 9 ไม่มีการแข่งขัน ราคาจึงยืนที่เดิม
ในการประมูลชั่วโมงที่สี่ (13.00-14.00 น.) ราคาในชุดที่ 1 รอบที่ 10 มีการเคาะเพิ่มราคา 1 ราย โดยราคามาอยู่ที่ 19,892 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ราคาในรอบที่ 10 ยังคงไม่มีผู้แข่งขัน จึงยืนราคาเดิมที่ 19,892 ล้านบาท
ขณะที่รอบที่ 11 ในชุดที่ 1 คงราคาเดิม จากรอบที่แล้ว และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาเพิ่มจำนวน 2 ราย ราคาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท และรอบที่ 12 ชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคายังคงราคาเดิม ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาอยู่ที่ 21,882 ล้านบาท
การประมูลในชั่วโมงที่ 5 (14.00-15.00 น.) ราคารอบที่ 13 มีผู้เคาะเพิ่มราคา ในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย โดยมีราคาล่าสุด 20,290 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่ 21,882 ล้านบาท
รอบที่ 14 มีผู้เคาะราคา ในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มมาอยู่ที่ 20,688 ล้านบาท และชุดที่ 2 ยังคงไม่มีผู้เสนอเพิ่ม ราคาคงเดิม
รอบที่ 15 มีผู้เสนอราคาในชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย โดยมีราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,086 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาจึงขึ้นมาอยู่ที่ 22,280 ล้านบาท
สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 6 (15.00-16.00 น.)รอบที่ 16 ใบอนุญาตชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมจากรอบก่อนหน้า และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาเพิ่มเป็น 2 ราย ราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ 22,678 ล้านบาท
รอบที่ 17 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาจึงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 23,076 ล้านบาท
และรอบที่ 18 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาจำนวน 1 ราย ราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 21,882 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา ยืนราคาเดิมจากรอบที่แล้ว
นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กล่าวว่า โดยการแข่งขันในขณะนี้ยังมีผู้แข่งขันเคาะราคาสู้กันอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเคาะราคาสู้กันไปอีกอย่างน้อย 3 รอบ
การประมูลชั่วโมงที่ 7 (16.00-17.00 น.)รอบที่ 19 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่ 21,882 ล้านบาท ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23,474 ล้านบาท
รอบที่ 20 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย ทำให้ราคาประมูลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 22,280 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิม
รอบที่ 21 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาจำนวน 1 ราย ราคาจึงเพิ่มไปถึง 22,678 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาจำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23,872 ล้านบาท
สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 8 (17.00-18.00 น.) รอบที่ 22 ในชุดที่ 1 ยืนราคาเดิมจากรอบก่อน และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย ราคามาอยู่ที่ 24,270 ล้านบาท
รอบที่ 23 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย ราคาอยู่ที่ 23,076 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา จึงยืนราคาเดิม
รอบที่ 24 ในชุดที่ 1 กลับมามีผู้เข้าร่วมแข่งราคาเพิ่มเป็น 2 ราย เคาะราคาที่ 23,474 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ยังไม่มีผู้เสนอราคาจึงยืนราคาที่ 24,270 ล้านบาท
สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 9 (18.00 -19.00 น.) รอบที่ 25 ในชุดที่ 1 ยืนราคาเดิมจากรอบก่อนที่ 23,474 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาจำนวน 1 ราย เปลี่ยนจากการแข่งราคาในชุดที่ 1 ราคาจึงขึ้นมาอยู่ที่ 24,668 ล้านบาท
รอบที่ 26 ในชุดที่ 1 ไม่มีใครเสนอราคา และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 2 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 25,066 ล้านบาท
รอบที่ 27 ในชุดที่ 1 กลับมามีผู้เข้าร่วมแข่งราคาเพิ่ม 1 ราย เคาะราคาที่ 23,872 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 25,464 ล้านบาท
การประมูลชั่วโมงที่ 10 (19.00 -20.00 น.)การแข่งขันราคายังคงเข้มข้น มีการเคาะราคาคลื่นความถี่ชุดที่ 1 คึกคัก โดยรอบที่ 28 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ราคา 25,464 ล้านบาท และในชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะ ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 25,464 ล้านบาท
รอบที่ 29 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาแข่ง 1 ราย เสนอราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 24.668 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา
รอบที่ 30 ในชุดที่ 1 ยังคงมีผู้เข้าร่วมแข่งราคา 1 ราย เคาะราคาเพิ่มขึ้นเป็น 25,066 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีใครเสนอราคาแข่งขัน ทำให้ราคาคงเดิมที่ 25,464 ล้านบาท
สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 11 (20.00 -21.00 น.) รอบที่ 31 ในชุดที่1 ไม่มีการเคาะราคา ยังยืนราคาที่ 25,066 ล้านบาท และ ในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 25,862 ล้านบาท
รอบที่ 32 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 26,260 ล้านบาท
รอบที่ 33 ในชุดที่ 1 มีผู้เข้าร่วมแข่งราคา 1 ราย เคาะราคาเพิ่มมาที่ 25,464 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีใครเสนอราคาแข่งขัน ราคาคงเดิมที่ 26,260 ล้านบาท
หลังจากที่พักการประมูล 30 นาทีแล้ว (21.30 น.)เริ่มแข่งขันราคารอบที่ 34 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เคาะราคา จึงคงราคาเดิม และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 26,658 ล้านบาท
รอบที่ 35 เวลาประมาณ 22.05 น.ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เคาะราคา ทำให้ยืนที่ราคาเดิม 25,464 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 2 ราย ทำให้ราคาปรับขึ้นมาที่ 27,056 ล้านบาท
สำหรับการประมูลชั่วโมงที่ 13 (22.05-23.05 น.) การแข่งขันยิ่งดุเดือด รอบที่ 36 ในชุดที่ 1 เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 25,862 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 27,454 ล้านบาท
รอบที่ 37 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 26,260 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 รายราคาเพิ่มเป็น 27,852 ล้านบาท
รอบที่ 38 ในชุดที่ 1 มีผู้เข้าร่วมแข่งราคา 1 ราย เคาะราคาเพิ่มเป็น 26,658 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 28,250 ล้านบาท
รอบที่ 39 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคา 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 27,056 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 28,648 ล้านบาท
รอบที่ 40 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 2 ราย ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 27,454 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะแข่งราคา 1 ราย ราคาขึ้นมาที่ 29,046 ล้านบาท
รอบที่ 41 ชุดที่1 มีการเสนราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 27,852 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง1รายราคาเพิ่มเป็น 29,444 ล้านบาท
รอบที่ 42 เข้าสู่ชั่วโมงที่ 15 ของการประมูล ชุดที่ 1 มีผู้เคาะแข่งราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 28,250 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะแข่งราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 29,842 ล้านบาท
รอบที่ 43 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 28,648 ล้านบาท และชุดที่ 2 ก็มีผู้แข่งขันราคา 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 30,240 ล้านบาท
รอบที่ 45 ชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 29,444 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้แข่งราคา 1 รายราคาขึ้นมาที่ 31,036 ล้านบาท
รอบที่ 46 ชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่งขัน ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 29,842 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่งขันทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 31,434 ล้านบาท
รอบที่ 47 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาขึ้นมาเป็น 30,240 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 31,832 ล้านบาท
รอบที่ 48 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 30,638 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น32,230 ล้านบาท
รอบที่ 49 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา. 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 31,036 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 32,628 ล้านบาท
รอบที่ 50 เข้าสู่ชั่วโมงการประมูลที่ 18 โดยชุดที่1 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาขึ้นมาที่ 31,434 ล้านบาท และชุดที่2 มีผู้เคาะราคา1รายราคาเพิ่มเป็น 33,026 ล้านบาท
รอบที่ 51 การประมูลยังคงเข้มข้น ในชุดที่1 มีผู้เสนอราคา 2รายเช่นเดิมราคาเพิ่มมาเป็น 31,832 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1ราย ราคาปรับขึ้นมาเป็น 33,424 ล้านบาท
รอบที่ 52 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคาแข่ง 2 ราย ราคาเพิ่มมาเป็น 32,230 ล้านบาท และในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาขึ้นมาที่ 33,822 ล้านบาท
รอบที่ 53 ในชุดที่1 ยังคงเห็นการแข่งขันต่อเนื่องโดยมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น 32,628 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา ราคายืนที่เดิมที่ 33,822ล้านบาท
รอบที่ 54 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคาเหลือ 1 ราย ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 33,026 ล้านบาท และในชุดที่ 2 คงไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาเดิมที่33,822 ล้านบาท
รอบที่ 55 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา ราคายืนที่ 33,026 ล้านบาท และชุดที่ 2 กลับมามีผู้เคาะราคาแข่ง 1 ราย ราคาจึงเพิ่มเป็น 34,220 ล้านบาท
รอบที่ 56 ในชุดที่ 1 กลับมาแข่งราคากัน โดยมีผู้เสนอ 1 ราย ราคาปรับขึ้นเป็น 33,424 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา ทำให้ยืนราคาเดิมที่ 34,220 ล้านบาท
รอบที่ 57 ในชุดที่ 1 ยังคงมีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 33,822 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่ม
รอบที่ 58 ในชุดที่ 1 ยังมีผู้เคาะราคาเพิ่ม 1 ราย ราคาจึงปรับขึ้นไปเป็น 34,220 ล้านบาท และชุดที่ 2 ยังคงราคาเดิมที่ 34,220 ล้านบาท
รอบที่ 59 ในชุดที่ 1 ไม่มีผู้เสนอราคา จึงยืนราคาที่ 34,220 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1ราย ราคาขยับขึ้นเป็น 34,618 ล้านบาท
รอบที่ 60 ในชุดที่ 1 ยังไม่รายใดสู้ราคา ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 34,220 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 35,016 ล้านบาท
รอบที่ 61 ชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ทำให้ราคาขยับขึ้นเป็น 34,618 ล้านบาท และชุดที่ 2 ไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่ม
รอบที่ 62 และรอบ 63 ไม่มีผู้เสนอราคาทั้งสองรอบ ทำให้ราคาขุดที่ 1 ยืนอยู่ที่ 34,618 ล้านบาทและชุดที่ 2 ยืนราคาที่ 35,016 ล้านบาท
รอบที่ 64 กลับมีผู้เคาะราคาในชุดที่ 1 ทำให้ราคาขยับขึ้นเป็น 35,016 ล้านบาท เท่ากับราคาประมูลในชุดที่ 2
รอบที่ 67 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 35,414 ลบ.-ใบสองคงราคา 35,812 ลบ.
รอบที่ 68 ไม่มีผู้เคาะราคาทั้ง 2 ใบอนุญาต
รอบที่ 69 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 35,812 ลบ.เท่าใบสอง
ครบ 24 ชม.รอบ 71 เคาะใบแรกเพิ่มเป็น 36,608 ลบ.-ใบสองคงเดิม
ขณะที่ระหว่างวันผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ออกมาเปิดเผยว่า กสทช.คาดเอกชน 1 รายหยุดเคาะราคาประมูล 4G แล้วแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นรายใด
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเวลา 9.30 น.(12 พ.ย.)ได้เกิดกระแสข่าวลือว่า 1 เจ้าใหญ่ในการร่วมประมูลในครั้งนี้คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้หยุดเคาะประมูลแล้ว
สำหรับการเข้าร่วมประมูล 4G คลื่น 1800MHz ที่ยืดเยื้อนาน 24 ชั่วโมงมาถึงเช้าวันนี้ (12 พ.ย.) ยังไม่สิ้นสุด การเคาะราคาประมูลทั้ง 2 ใบอนุญาตขณะนี้ทะลุ 7 หมื่นล้านบาทไปแล้ว โดยใบแรกและใบที่สองราคาขึ้นมาอยู่เท่ากันที่ใบละ 35,016 ล้านบาท รวมมูลค่าที่ 70,032 ล้านบาท ยังเดินหน้าประมูลต่อ
สำหรับการเคาะราคาประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในรอบที่ 75 ก่อนหยุดพักการประมูล 3 ชั่วโมง ปรากฎว่ามีผู้เคาะราคาใบอนุญาต ชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย ทำให้ราคาสูงขึ้นมาที่ 37,006 ล้านบาท ส่วนใบอนุญาตชุดที่ 2 คงอยู่ในระดับเดิมของรอบที่แล้วคือ 37,404 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ รอบที่ 72 ชุดที่ 1 ไม่มีผู้เคาะราคา ยืนราคาเดิมที่ 36,608 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคาเพิ่มจำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 36,608 ล้านบาท
รอบที่ 73 ชุดที่ 1 ยืนราคาเดิมต่อ แต่มีผู้เคาะราคาเพิ่มในชุดที่ 2 เป็นจำนวน 2 ราย ราคาจึงขยับขึ้นมาที่ 37,006 ล้านบาท
รอบที่ 74 ยังคงไม่มีผู้เคาะราคาเพิ่มในชุดที่ 1 ขณะที่ชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 37,404 ล้านบาท
เวลา 11.00-14.00 น.วันนี้ บอร์ด คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)มีมติให้พักเคาะราคาประมูล 4G คลื่น 1800 MHz ได้ 3 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 11.00-14.00 น.
เวลา 14.30 น. การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่เริ่มขึ้นอีกครั้งใน ยังเดินหน้ากันต่อไป หลังจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)อนุญาตให้หยุดชั่วคราวเป็นเวลา 3 ชั่วโมงเพื่อให้ผู้เข้าประมูลได้พักผ่อน
โดยเริ่มจากประมูลในรอบที่ 76 มีผู้เคาะราคาประมูลใบอนุญาตล็อตแรกขึ้นไปเป็น 37,404 ล้านบาท ส่วนใบอนุญาตล็อตที่ 2 ยังคงเดิมที่ 37,404 ล้านบาท
จากนั้นในการประมูลรอบที่ 77 ไม่มีผู้เคาะราคาใบแรก ราคาจังยังคงเดิมที่ 37,404 ล้านบาท แต่มีผู้เคาะราคาใบที่ 2 จึงทำให้ราคาปรับขึ้นมาเป็น 37,802 ล้านบาท
รอบ 78 ใบแรกคงเดิม-เคาะใบที่ 2 เพิ่มเป็น 38,200 ลบ.
รอบ 79 เคาะใบแรกมาที่ 37,802 ลบ.-ใบที่ 2 เป็น 38,598 ลบ.
รอบที่ 80 เคาะใบแรก 38,200 ลบ.-ใบที่ 2 มาที่ 38,996 ลบ.
ด้านกทค.มีมติให้พักประมูล 4G เวลา 17.30 น.วันนี้(12 พ.ย.) เริ่มอีกครั้ง 10.00 น.พรุ่งนี้(13 พ.ย.)