โบรกชี้ “หุ้นโรงไฟฟ้า” กระทบช่วงสั้น ห่วงแผน PDP ปี 61-80 ล่าช้า เหตุร้องศาล รธน.

โบรกชี้ “หุ้นโรงไฟฟ้า” กระทบช่วงสั้น กังวลแผน PDP ปี 61-80 ล่าช้า หลังนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 51


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวเผยแพร่ผลการประชุม โดยมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องกรณีที่นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 51 ว่า กระทรวงพลังงาน กำหนดยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน (พ.ศ. 2559 – 2563) พัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(PDP) พ.ศ. 2561 – 2580 ทำให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสองหรือไม่ไว้พิจารณาวินิจฉัย

เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 51 ประกอบพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 45 และให้กระทรวงพลังงานในฐานะผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

ด้านนายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผ่านข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ ว่า จากกรณีดังกล่าว คาดหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า และพลังงานทางเลือก คาดได้รับผลกระทบระยะสั้น เนื่องจากประเด็นแผน PDP ปี 2561-2580 ถือเป็น “โกรท สตอรี่” ใหม่ของกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ตลาดรออยู่ ดังนั้นคาดว่าระยะสั้นหุ้นโรงไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น เนื่องจากแผนดังกล่าวคาดว่าจะสะดุด ขณะที่นักลงทุนรอความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ขณะที่ นายสุวัฒน์ สินสาฎก กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟเอสเอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ FSSIA เปิดเผยผ่านข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ โดยจากกรณีการยืนฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อแผน PDP ปี 2561-2580 เนื่องจากรัฐยังมีสัดส่วนการถือหุ้นผ่าน EGAT โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน RATCH และ EGCO ดังนั้นรัฐยังมีสัดส่วนเกิน 50% จึงน่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตามจากข่าวดังกล่าวอาจจะเป็น sentiment เชิงลบต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าระยะสั้น

โดยก่อนหน้า บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ภายหลังจากที่บริษัทลงนามสัญญาความร่วมมือในการลงทุนและพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนกับกลุ่มบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เพื่อพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ทั้งพลังงานลมและโซลาร์ โดยในส่วนของโครงการพลังงานลมในประเทศ คาดว่าภาครัฐจะเปิดประมูลรวม 1,500 เมกะวัตต์

สำหรับ GUNKUL คาดหวังที่จะได้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ไว้ที่ 500 เมกะวัตต์ ในระยะเวลา 5 ปี โดยบริษัทได้เตรียมพื้นที่รองรับโครงการไว้ทั้งหมดแล้ว ขณะเดียวกันเมื่อคำนวณจากโครงการพลังงานที่ 500 เมกะวัตต์ในช่วง 5 ปี

Back to top button