นักรัฐศาสตร์ แนะ “ก้าวไกล” เร่งทำความเข้าใจส.ว. ก่อนโหวตนายก

นักรัฐศาสตร์เสนอ พรรคก้าวไกล เร่งอธิบายทำความเข้าใจขอเสียงส.ว. ชี้ยังมีเวลา 2 เดือน พร้อมย้ำยังไม่เชื่อปมการทำ MOU จะเป็นปมร้อนทำพรรคร่วมฯมีรอยร้าว ฟากเรื่องถือหุ้นไอทีขออย่ากังวลกระบวนการยังอีกนาน


รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมือง  ถึงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล โดยระบุว่า อันดับแรกในตอนนี้คือเรื่องของการหาเสียงของส.ว. ถึงแม้จะต้องหาเสียง 63 เสียง เพื่อให้โหวตผ่านให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแล้วเป็นเรื่องยาก แต่ก็พอจะมีเวลาไปจนกว่าจะโหวตนายกรัฐมนตรีในอีก 2 เดือน ในการหาเสียงส.ว.  ถ้าหากดำเนินการราบรื่นก็คิดว่าจะมีโอกาสได้สูง อย่างไรก็ดีตอนนี้อย่าตื่นเต้นกับท่าทีส.ว.บางคน

รศ.ดร.ธนพร กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องมาตรา 112 ที่เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่แต่ละพรรคมีมุมมองต่างกัน ซึ่งก็ไม่คิดว่าเรื่องนี้จะเป็นระเบิดเวลาของพรรคร่วมรัฐบาลร่วมกัน เพราะแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ใน MOU แต่หากมีเรื่องที่พรรคตัวเองต้องการขับเคลื่อน  ก็สามารถดำเนินการได้ตามระบบของสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนเรื่องประเด็นการทำ MOU ที่มองว่าจะเป็นการกดดันพรรคร่วมรัฐบาลของก้าวไกลนั้น ตรงนี้มองว่าไม่เป็นปัญหา เพราะการกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันนั้นถือเป็นเรื่องดีจนสามารถตรวจสอบเรื่องๆต่างตามที่สัญญาดี ส่วนพรรคใดที่ไม่พอใจก็สามารถออกจากการร่วมรัฐบาลได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิที่ทำได้ โดยไม่ต้องกังวล ซึ่งพรรคก้าวไกลสามารถหาพรรคใหม่มาร่วมรัฐบาลได้

ส่วนปมปัญหาเรื่องของนายพิธา กรณีเกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อสารมวลชนไอทีวี รศ.ดร.ธนพร มองว่าเรื่องนี้เป็นไปตามกระบวนการ กว่าจะวินิจฉัยก็อีก 8-9เดือน หากศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายพิธาในตอนนั้น ใครก็สามารถมารักษาการนายกรัฐมนตรีได้ โดยเรื่องนี้เคยเกิดมาแล้วกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องตัดสินขณะวินิจฉัยปมเรื่องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี ซื่องเรื่องแบบนี้ถือว่าผ่านมาหมดแล้ว

ขณะเดียวกันเรื่องที่มีการยื้อการโหวตเลือกนากยรัฐมนตรีของส.ว.นั้น ในทางทฤษฎีสามารถทำได้ เพราะวิธีนี้ก็มีประเทศอื่นทำได้ แต่ในความเป็นจริงจะไม่ใช้วิธีแบบนี้ เพราะอาจจะมีพรรคที่รวมเสียงกันระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ จนมีเสียงอันดับหนึ่ง ก็อาจจะเป็นการพลิกเกมได้

ทางด้านของ รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระบุว่า เรื่องการที่จะยกมือโหวตของส.ว.นั้น ในตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะออกมาทิศทางอย่างไร แต่อยากจะขอร้องให้คนที่เป็นส.ส.ที่ไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล น่าจะรวมพลังกันปลดแอดพลังอำนาจนอกระบบสักที แล้วให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งส.ส. ซึ่งก็ต้องยอมรับส.ว.นั้นไม่ใช่เด็ก ซึ่งการที่มีม๊อบไปกดดันให้ส.ว.ให้โหวตตามต้องการ ก็มองว่าสงว.นั้นไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไป

ส่วนเรื่องการถือหุ้นสื่อของนายพิธานั้น เรื่องนี้ก็มีตัวอย่างมาแล้วในการตัดสินนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ว่ามีหุ้นแต่ไม่ได้มีมากมายที่จะมีอิทธิลพล อีกทั้งตัวบริษัทก็ไม่ได้มีการดำเนินการ และไม่ได้ทำงานที่เป็นสื่อ เรื่องนี้จึงยังไม่น่าเป็นห่วงกับเรื่องที่ยังไม่เกิด

สำหรับ คืบหน้าการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. หลังจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 85 กำหนดให้ กกต. ต้องตรวจสอบเบื้องต้นก่อนและเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงจะประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

โดย พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 127 กำหนดให้ต้องรับฟังรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้ง และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง กรณีความปรากฏและข้อมูลเบาะแสต่างๆ ว่า มีกรณีใดที่มีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่

ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด และตามหลักปฏิบัติที่ผ่านมาการดำเนินการที่จะต้องปฏิบัติก่อนจะนำไปสู่การประกาศผลการเลือกตั้งประเภทต่างๆ ซึ่ง กกต. จะพยายามดำเนินการให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็วไม่ชักช้า.

Back to top button