TIA จับมือ “ธปท.” เดินหน้าตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือผู้ลงทุน” รับมือภัยตลาดเงิน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย จับมือ ธปท. "ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุน" เพื่อรับมือกับภัยที่จะเกิดขึ้นจทั้งจากตลาดเงินและตลาดทุน พร้อมให้ความรู้ฟ้องคดีแบบกลุ่ม Class Action หลังเจอ “STARK” ทำตลาดปั่นป่วน


ปฏิเสธไม่ได้ว่าในตอนนี้ในตลาดของนักลงทุนมีเรื่องให้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด นั่นก็คือเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STARK ว่าสุดท้ายแล้วจะมีบทสรุปอย่างไร ไม่ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการไม่ส่งงบการเงินประจำปี 65 หรือเรื่องการผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ของบริษัท ที่มีมูลค่าหนี้สูงถึง 9,198 ล้านบาท ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการตรวจพบที่อาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กร จนเรื่องดังกล่าวต้องถึงมือตำรวจและเจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษในตอนนี้ ซึ่งสุดท้ายแล้วจะมีคนผิดหรือไม่ ก็ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าบทสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรกับหนังม้วนยาว และบทสรุปเรื่องนี้จะมีใครเป็นผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด

ล่าสุดมีคำแนะนำของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย หรือ TIA  ที่ได้ร่วมมือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงเดินหน้าเพื่อการยกร่างที่จะจัดตั้ง “ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์” พร้อมกับให้ความรู้การดำเนินคดีแบบกลุ่ม “Class Action”  โดยหวังว่าจะเป็นกลไกหนึ่งในการดูแลและรับมือ เกี่ยวกับภัยในตลาดเงิน และ ภัยในตลาดทุน

นายยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) เปิดเผยว่า กฎหมายฟ้องคดีแบบกลุ่ม Class Action จะเป็นกลไกลในการช่วยเยียวยาผู้ลงทุนที่ได้รับความเสียหาย หากเกิดกรณีถูกฉ้อฉล ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการลงทุน ซึ่งหากดูตัวเลขสถิติการทำผิดในตลาดทุนยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และจากตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ตอนสิ้นไตรมาสแรก ปี 2566 พบว่า มีการดำเนินการปรับทางแพ่ง รวมทั้งสิ้น 11 ราย 4 คดี มีมูลค่าปรับทางแพ่งรวมกว่า 84 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่มากกว่า ปี 2565 ทั้งปี ที่มีการปรับทางแพ่ง ทั้งสิ้น 42 รายจำนวน 8 คดี มี มูลค่าปรับ74.03 ล้านบาท  โดยในส่วนกรณีของบมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ การที่ตลาดทุนไทยมีกฎหมาย Class Action ก็น่าจะเข้ามาดูแลนักลงทุนได้  

สำหรับขั้นตอนขณะนี้ อยู่ในการพิจารณาว่า มูลฐานความผิดที่จะเข้าข่ายและใช้ Class Action ได้ จะมีประมาณ 7 มูลฐานประกอบด้วย  1.ผิดสัญญา 2.การเปิดเผยข้อมูล 3.การเสนอขายหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต 4.การทุจริตของกรรมการและผู้บริหาร 5.การสร้างราคา 6.การใช้ข้อมูลภายใน และ 7.การครอบงำกิจการ

ขณะที่ นายภูมิศิริ ดำรงวุฒิ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจและนิติ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำวิจัย เรื่องการดำเนินคดีแบบกลุ่มสำหรับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ระบุว่า  Class Action สามารถนำมาใช้กับความผิดในตลาดทุน ได้หลายรูปแบบ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ การผิดสัญญาชำระหนี้ในตราสารหนี้ต่างๆ เช่น หุ้นกู้ หากไม่ ปฏิบัติตามสัญญาแล้วก็ก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้ลงทุนสามารถรวมกันฟ้องได้ การทำผิดเกี่ยวกับ เปิดเผยข้อมูลต่างๆ หากเมื่อถึงเวลา

ซึ่งเรื่องนี้เองหากว่า ข้อมูลที่เคยการเปิดเผยไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น เปิดเผยข้อมูลจะมีโปรเจ็กต์ที่จะดำเนินการในอนาคต ที่มีนัยสำคัญต่อการเติบโต มีผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น แต่ไม่ได้ดำเนินโครงการ เมื่อผลปรากฎต่อสาธารณะชัดเจนว่าไม่ได้ลงทุนในโครงการดังกล่าว นักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นในช่วงที่ราคาวิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรวมกลุ่มฟ้องได้  อย่างไรก็ดี Class Action มีผลบังคับใช้มานานแล้ว แต่ที่ยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติ เพราะทนายความยังไม่ค่อยให้ความสนใจ ยังไม่ทราบว่ามีเรื่องของคดีกลุ่ม ซึ่งน่าจะมาจาก Class Action ยังเป็นเรื่องใหม่

อีกข้อที่ยน่าสนใจก็คือ  ทางทีมวิจัย ยังพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานแล้วก็รวบรวมข้อมูลต่างๆ หรือว่าช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีต่างๆ การจะเป็น Class Action ได้ส่วนใหญ่จะต้องมีผู้เสียหายเยอะมากๆ แต่ในทางกลับกันการทำงาน  กับผู้เสียหายจำนวนมากๆที่อยู่กระจัดกระจายกันทั่วประเทศ ก็เป็นเรื่องยาก

เมื่อดูเรี่องของ  Class Action ในต่างประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนนาดา พบว่าโมเดล ที่เหมาะกับประเทศไทย คือ แคนนาดา ซึ่ง เป็นโมเดลที่มีการจัดตั้ง  ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ขึ้นมาอยู่ภายใต้ในเครือข่ายของรัฐ สามารถพูดคุยกับหน่วยงานของรัฐ ประสานงานในลักษณะที่เป็นส่วนกลางได้  ทำให้เกิดการช่วยเหลือคดี ได้จริงๆ และศูนย์ฯ  สามารถ เผยแพร่ความรู้ข้อมูลต่างๆ อำนวยความสะดวกต่างๆ มี Network กับ องค์กร ทั้งภาครัฐหรือเอกชนเพื่อช่วยเหลือผู้ลงทุนรายย่อยได้และยังสามารถช่วยตั้งต้นนำเข้าสู่การดำเนินคดีดีแบบกลุ่มหรือ Class Action ได้

ทั้งนี้ที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ออกมาตรการและเดินสายให้ความรู้กับประชาชนต่อเนื่อง ได้รับผลตอบรับที่ดี เพราะหากดูสถิติตัวเลขต่างๆ ได้ลดลงจากช่วงก่อนหน้ามาก และ แบงก์ชาติก็พร้อมสนับสนุนการสัญจร เพื่อให้ประชาชนและนักลงทุนได้รับข้อมูล มีความเข้าใจ พร้อมรับมือกับภัยที่จะเกิดขึ้นจทั้งจากตลาดเงินและตลาดทุนได้ในอนาคต

Back to top button