“พิธา” วืดเป็น “นายก” ติดด่าน ส.ว. งดออกเสียง-ไม่เห็นชอบ
“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ถูกดับฝัน ไม่ผ่านโหวตในสภาครั้งแรก ส.ว.งดออกเสียง-ไม่เห็นด้วย เตรียมลุ้นอีกครั้ง 19 ก.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 13 ก.ค. 66 หลังจากที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกเสนอชื่อเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกเป็นนายกฯ ได้อภิปรายสรุปเสร็จสิ้น จากนั้นได้เข้าสู่ขั้นตอนการลงคะแนนด้วยการขานชื่อสมาชิกรัฐสภาที่ละคน โดยในเวลาต่อมา นายมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศเริ่มขั้นตอนลงคะแนนเสียงเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นายกรัฐมนตรี โดยเมื่อเวลา 16.04 น. ประธานรัฐสภาระบุว่ามีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 676 คน และเริ่มให้มีการลงคะแนน ด้วยการขานชื่อที่ละบุคคล ทั้งนี้นายโดยต้องมีเสียงเห็นชอบเกิน 375 คะแนน นายพิธา ถึงจะได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ต่อมา พบว่าผลการลงคะแนน เห็นชอบนายพิธา ได้เพียง เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 และ งดออกเสียง 199 เสียง
อย่างไรก็ดีก่อนเปิดให้โหวตนั้น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวสรุปการอภิปราย และแสดงวิศัยทัศน์ ครั้งสุดท้ายในการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงสุดที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย โดยในการแสดงวิสัยทัศน์ครั้งนี้
โดยนายพิธา ยังได้อธิบายถึงการแก้ไขกฎหมาย ม.112 การผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นการธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตย์ให้อยู่กับสังคมไทย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งนำเรื่องสถาบันมาโจมตีทางการเมือง หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 นับว่าเป็นปีที่เป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งกฎหมายม.112 ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนที่ไม่มีอำนาจโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน กลุ่มธุรกิจ ที่มีการนำเอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง กระทบมาจนถึงคนรุ่นใหม่ที่จะต้องแบกรับภาระ
“ที่ผ่านมาเราเห็นมาโดยตลอดว่ามีการสกัดไม่ให้ตน เพราะกลุ่มนั้นกำลังจะสูญเสียผลประโยชน์ด้านการสัมปทาน ธุรกิจของกลุ่มทุน การแก้ไขกฎหมายม.112 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใดแอบอ้างสถาบันได้อีก เพราะความขัดแย้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดจากการดึงเอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง” นายพิธา
ส่วนการโหวตนายกฯรอบ 2 ก็ต้องจับตาในวันที่ 19 ก.ค.นี้ อีกครั้ง ว่าพรรคก้าวไกลจะเดินเกมอย่างในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องรู้ดูว่าผลจะออกมาอย่างไร.