กสทช.ยัน 4 เจ้าสู้ไม่ถอย! ล่าสุดรอบ 125 ใบแรก 52,792 ลบ. ใบสอง 54,724 ลบ.
กสทช.ยันทั้ง 4 เจ้ายังสู้ไม่ถอย! ล่าสุดรอบ 122 ยอดพุ่ง 105,584 ลบ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประมูลคลื่น 900 MHz รอบ 125 เคาะใบแรก 52,792 ลบ. ใบสอง 54,724 ล้านบาท
จากรอบ 122 ใบแรกคงเดิมที่ 51,826 ล้านบาท ใบสองขึ้นมาที่ 53,758 ล้านบาท โดยกสทช.ยืนยันยังไม่มีเอกชนรายใดออกจากการประมูล ยังอยู่ครบทั้ง 4 ราย พร้อมทั้งคาดราคาประมูล 900 MHz รวมทั้ง 2 ใบอนุญาตพุ่งไปไม่เกิน 1.2 แสนลบ.
ขณะที่รอบที่ 109 ยังคงมีผู้เสนอราคาในใบที่ 1 มีจำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 47,962 ล้านบาท ใบที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 49,572 ล้านบาท รวมราคา 97,534 ล้านบาท
รอบที่ 110 ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาที่ 48,284 ล้านบาท ใบที่ 2 มีผู้เสนอราคามาที่ 49,894 ล้านบาท รวมราคา 98,178 ล้านบาท
รอบที่ 111 ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาที่ 48,606 ล้านบาท และใบที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคามาที่ 50,216 ล้านบาท รวมราคา 98,822 ล้านบาท
ชั่วโมงที่ 38 รอบที่ 112 ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาเพิ่มมาที่ 48,928 ล้านบาท ใบที่สองมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคามาที่ 50,538 ล้านบาท รวมราคา 99,466 ล้านบาท
จากนั้น ในรอบที่ 113 ยังคงมีผู้เสนอราคาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาประมูลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยราคารวมแตะ 100,110 ล้านบาท ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาที่ 49,250 ล้านบาท ใบที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาที่ 50,860 ล้านบาท
รอบ 114 เคาะใบแรก 49,572 ลบ.ใบสอง 51,182 ลบ.
รอบที่ 115 ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาที่ 49,894 ล้านบาท ใบที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคามาที่ 51,182 ล้านบาท รวมราคา 101,398 ล้านบาท,
รอบที่ 116 ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาที่ 50,216 ล้านบาท และใบที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคามาที่ 51,826 ล้านบาท รวมราคา 102,042 ล้านบาท
และ รอบที่ 117 ใบที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคามาที่ 50,538 ล้านบาท ใบที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคามาที่ 52,148 ล้านบาท รวมราคา 102,686 ล้านบาท
รอบ119 เคาะใบแรก 51,182 ลบ.ใบสอง 52,792 ลบ.
รอบ 120 เคาะใบแรกเป็น 51,504 ลบ.ใบสอง 53,114 ลบ.
ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ขณะนี้ยังยืนยันได้ว่าไม่มีผู้ประมูลรายใดถอนตัวจากการประมูล และยังคงเคาะราคาแข่งกันครบทั้ง 4 ราย แต่บางช่วงอาจใช้กลยุทธการยืนราคาเพื่อรอดูคู่แข่ง ซึ่งสามารถเห็นได้จากการวิเคราะห์จากเส้นกราฟ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ผู้เข้าประมูลยังคงเคาะราคาทั้ง 2 ใบอนุญาตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มองว่าราคารวมทั้ง 2 ใบอนุญาตคงจะเพิ่มขึ้นไปไม่เกิน 120,000 ล้านบาท เนื่องจากหากราคาสูงกว่านี้จะส่งผลกระทบต่อ EBITDA ของบริษัทที่ชนะประมูลให้ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้การลงทุนที่จะเกิดขึ้นอนาคต เช่น โครงข่าย เกิดข้อจำกัด
ขณะที่แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดการประมูล ประเมินว่า ในการประมูลครั้งนี้ AIS ความจำเป็นจะต้องมีคลื่นความถี่ในย่านนี้ เพื่อเสริมการส่งสัญญาณการให้บริการในเชิงเทคนิคทั้งระยะสั้น-ยาวของคลื่นที่มีอยู่ เพราะหากได้มาจะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก ขณะที่ทรูมูฟเอช เป็นผู้ที่มีเงินลงทุนค่อนข้างสูง และไม่ว่าจะลงสนามแข่งขันเมื่อใดก็มักเป็นฝ่ายที่ชนะ
สำหรับ DTAC ยังไม่รู้อนาคตว่าคลื่นที่ถือครองอยู่และกำลังจะหมดอายุสัมปทานจะถูกนำไปใช้ในด้านใด ซึ่งไม่แปลกที่ดีแทคจะต้องแข่งราคาเพื่อให้ได้ใบอนุญาตคลื่น 900 MHz มาให้ได้ด้วย ส่วนค่ายจัสมิน ก็ถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย และยมีความต้องการคลื่นดังกล่าวไปต่อยอดธุรกิจ จึงมีความตั้งใจที่จะสู้ราคาค่อนข้างมาก
อนึ่ง ผู้เข้าร่วมประมูล 4 รายได้แก่
1) บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด บริษัทในเครือบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS
2) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
3) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC
4) บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE