KBANK ดีด 2% หลังกำไร Q3 โต 7% แตะ 1.1 หมื่นล้าน
KBANK ดีด 2% หลังเปิดกำไรไตรมาส 3/66 โต 7% แตะ 1.1 หมื่นล้านบาท จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 1.05 หมื่นล้านบาท รับรายได้เงินลงทุน-สินเชื่อพุ่ง แม้มีการตั้งสำรองจำนวน 12,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.60% จากความกังวลไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกรวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (20 ต.ค.66) ราคาหุ้น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ณ เวลา 10:16 น. อยู่ที่ระดับ 128.50 บาท บวก 2 บาท หรือ 1.58% สูงสุดที่ระดับ 129 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 128 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 640.89 ล้านบาท
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK รายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/2566 และงวด 9 เดือนแรกของปี 66 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ดังนี้
สำหรับราคาหุ้น KBANK ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ตอบรับผลประกอบการไตรมาส 3/66 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 11,281.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.69% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 10,573.99 ล้านบาท เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 38,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.90% ส่วนใหญ่มาจากเงินลงทุนและเงินให้สินเชื่อ รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 9,096 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.19% ส่วนใหญ่มาจากรายได้อื่น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 12,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.60% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 9,948 ล้านบาท
ขณะที่ผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 66 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 33,017.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.35% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 32,578.69 ล้านบาท เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 109,595 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.16% สอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 32,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.09% โดยหลักๆ มาจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่เพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด และรายได้จากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 38,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.35% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 29,135 ล้านบาท
ด้าน บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า แนวโน้มกำไรปี 2566 อยู่ที่ 40,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยหากกำไรงวดไตรมาส 3/66 ออกมาใกล้เคียงคาดจะทำให้กำไรงวด 9 เดือน ปี 66 คิดเป็นราว 79.5% ของประมาณการทั้งปี โดยคาดกำไรไตรมาส 4/66 อาจอ่อนตัวจากค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้จะยังคงอยู่ในระดับสูงไปจนถึงครึ่งหลังของปี 67 เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากลูกหนี้บางกลุ่มที่พ้นมาตรการช่วยเหลือและกลับมาเป็น NPL โดยเฉพาะในกลุ่ม SME ขนาดเล็ก รวมถึงผลกระทบจากนโยบายการแก้หนี้ครัวเรือนของ ธปท. ที่เพิ่มยอดการจ่ายขั้นต่ำสำหรับหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดย Credit Cost ในปี 2567 ที่คาดไว้ที่ 1.85% ได้สะท้อนปัจจัยดังกล่าวไปแล้ว แต่อาจสูงกว่าระดับที่ตลาดคาดหวังไว้