6 หุ้นส่งออกวิ่ง! รับเงินบาทอ่อนรอบ 3 เดือน ทะลุ 36 บ./ดอลลาร์
6 หุ้นส่งออกวิ่ง! รับเงินบาทอ่อนรอบ 3 เดือน ทะลุ 36 บาท/ดอลลาร์ ITC-AAI-CFRESH นำทีมบวกคึก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(15 ก.พ.67) ราคาหุ้นส่งออกบวกคึก นำโดยบริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ AAI ณ เวลา 15:17 น.อยู่ที่ระดับ 4.30 บาท บวก 0.16 บาท หรือ 3.86% ราคาสูงสุด 4.34 บาท ราคาต่ำสุด 4.10 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 95.17 ล้านบาท
บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ITC ณ เวลา 15:23 น.อยู่ที่ระดับ 20.20 บาท บวก 0.60 บาท หรือ 3.06% ราคาสูงสุด 20.60 บาท ราคาต่ำสุด 19.50 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 161.35 ล้านบาท
บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ CFRESH ณ เวลา 15:25 น. อยู่ที่ระดับ 1.82 บาท บวก 0.09 บาท หรือ 5.20% ราคาสูงสุด 1.93 บาท ราคาต่ำสุด 1.73 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 29.66 ล้านบาท
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ณ เวลา 15:27 น. อยู่ที่ระดับ 18.00 บาท บวก 0.10 บาท หรือ 0.56% ราคาสูงสุด 18.00 บาท ราคาต่ำสุด 17.80 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 79.82 ล้านบาท
บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) หรือ GFPT ณ เวลา 15:29 น. อยู่ที่ระดับ 11.40 บาท บวก 0.10 บาท หรือ 0.88% ราคาสูงสุด 11.50 บาท ราคาต่ำสุด 11.30 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 4.25 ล้านบาท
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ณ เวลา 10:50 น. อยู่ที่ระดับ 14.00 บาท บวก 0.10 บาท หรือ 0.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 47.20 ล้านบาท
ด้านผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(15 ก.พ.67) ค่าเงินบาทล่าสุด ณ เวลา 15:31 น. เคลื่อนไหวที่ระดับ 36.1570 บาท/ดอลลาร์ โดยอ่อนค่าในรอบ 3 เดือน โดยเทียบตั้งแต่ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36.2430 บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 26 ต.ค.66
ส่วนบล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์( 14 ก.พ.67) ว่า นักลงทุนเริ่มเปลี่ยนความคิด ว่า Fed มีโอกาสลดดอกเบี้ยจาก 6 ครั้งในปีนี้ เหลือเพียง 3-4 ครั้ง และเริ่มปรับตัวลงช้ากว่าเดิม กดดันให้ ในปีนี้ Bond Yield10 ปีสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 43 bps. (ytd) จาก 3.88% เป็น 4.33%
สวนทางกับประเทศไทย ที่นักลงทุนคาดว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป (10 เม.ย. 67) หลังกนง.เสียงแตก 5:2 ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยตามสถิติพอ กนง.เสียงแตก มีโอกาสที่การประชุมครั้งต่อไปจะเปลี่ยนระดับดอกเบี้ยถึง75% ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ไทย ปรับตัวลดลงจาก 2.70% เป็น 2.55% (-15bps.)
ความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลง Bond Yield 10 ปี ไทยและสหรัฐกลับทิศกัน โดย Bond Yield 10 ปีมีแนวโน้มลดลง ส่วนสหรัฐเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลต่างระหว่างผลตอบแทนจากการถือพันธบัตร 10 ปี สหรัฐกับไทยกว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติจะกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเสมอ และล่าสุด Bond Yield 10 ปี สหรัฐสูงกว่าไทยถึง 1.78% ซึ่งสูงกว่าในอดีตมาก อาจกดดันให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่า และยืนในระดับสูงนานกว่าปกติได้
ดังนั้นเริ่มเห็นโอกาสที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าสูงขึ้น กลยุทธ์แนะนำกลับมาเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า อาทิ หุ้นส่งออก HANA, SVI, DELTA, KCE, TU, ITC, AAI, CPF, GFPT, STA, NER, STGT, SAT, AH, VNG ,SCC, หุ้นอิงการท่องเที่ยว AOT, AAV, BA, MINT, CENTEL, ERW และหุ้นโรงพยาบาลมักผันผวนต่ำกว่าตลาด BH, BDMS, PR9, BCH ดังตารางทางด้านล่าง