AIS เอาใจเหล่า“ครีเอเตอร์ไทย” เปิดสูตรเด็ดใช้โซเชียลโกยรายได้

AIS จัดใหญ่เอาใจชาวครีเอเตอร์ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเคล็ดลับต่อยอดการใช้โซเชียล สร้างรายได้และการเติบโตอย่างยั่งยืน..


เมื่อวัน 14 พ.ค. 67  AIS จัดเสวนา Global Creator Culture Summit เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดตัวเลขการเติบโตของครีเอเตอร์ในเวทีโลก ตอกย้ำบริบทแห่งการสื่อสารในโลกใบใหม่ ควงพันธมิตรครบทั้ง Ecosystem และสุดยอดครีเอเตอร์ไทย มาพูดถึงแรงบันดาลใจ ในการสร้างครีเอเตอร์สู่อาชีพที่สามารถต่อยอดให้เติบโต

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด กลุ่มลูกค้าทั่วไป บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC (AIS) กล่าวว่า ในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว เรายังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม

จึงเป็นที่มาของการจัดงานเสวนา “Global Creator Culture Summit” ที่นอกจากจะได้รับเกียรติจากนักวิชาการระดับโลกอย่าง โปรเฟสเซอร์เดวิด เครค (Professor David Craig) หนึ่งในนักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกา มาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทยแล้ว เรายังได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องใน Ecosystem การขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย

นายคณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด AIS กล่าวว่า เอไอเอสมีความพร้อมที่จะซัพพอร์ตบริหารออเดอร์ระบบของคนที่อยู่หลังบ้านได้อีกด้วย เช่น แพ็กเกจ AIS 5G TikTok Shop ให้พ่อค้าแม่ค้าได้ไลฟ์สด กับเน็ต 5G เต็มสปีด ในราคา 699 บาท/เดือน   นอกจากนี้ยังมี แพ็กเกจ AIS All in One ที่อินเตอร์เน็ตแรง กับ Microsoft 365 Family ที่ใช้งานได้สูงสุด 6 ผู้ใช้งาน พร้อม One Drive 1 TB ต่อผู้ใช้งาน ซึ่งเหล่านี้คือตัวอย่างที่เอไอเอสมีการศึกษามาอย่างเข้าใจและตอบโจทย์กับลูกค้า ซึ่งก็มีความเชื่อว่าที่ทำอยู่ตอนนี้มาถูกทางแล้ว

ทางด้าน  โปรเฟสเซอร์เดวิด เครค กล่าวว่า วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

“นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์มและ Ecosystem ที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้” โปรเฟสเซอร์เดวิด กล่าว

ทั้งนี้จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”

สำหรับงานเสวนา “Global Creator Culture Summit” จัดขึ้นโดย AIS และเหล่าพันธมิตร มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ที่มาพูดถึงความสำเร็จจากการใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างรายได้และคอนเทนต์ที่น่าสนใจ อาทิ นายอติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9) Founder of Spin 9 ที่มาพูดในหัวข้อ “โอกาสของ Creator ไทยที่ได้รับการยอมรับจากแบรนด์ระดับโลก” ที่มาเล่าถึงความสำเร็จจากการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างคอนเทนต์และการร่วมงานกับแบนรด์ใหญ่ระดับโลก

นายธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) TikToker ชื่อดัง ในหัวข้อ “เปิดความไม่ธรรมดาของ “ธรรมชาติ” LGBTQ+ ผู้ทลายทุกความกลัว สู่ Drag Queen Creator ที่รันวงการโซเชียล”  ซึ่งเป็นการพูดการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร แตกต่าง และตรงตามความสนใจของผู้ชม จนทำให้ยอดวิวนั้นมากกว่าหลายสิบล้านครั้งในการเข้าชม

นายศรัณย์ แบ่งกุศลจิต CEO Uppercuz Creative ในหัวข้อ “How to ทำอย่างไรให้สร้างรายได้จากการเป็น Content Creator” ที่มาพูดถึงวิธีการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และตรงใจคนดู นอกจากนี้ยังตรงตรงใจกับสปอนเซอร์ต่างๆที่จะเข้ามา ทำให้เกิดรายได้จากการเล่นโซเชียลมีเดีย.

 

Back to top button