CPF พลักดันองค์กรสู่ครัวโลก ปั้น “นวัตกร” ตามแนว TRIZ สูงสุดในอาเซียน

CPF จัดงาน “CPF CEO Awards 2015” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 พร้อมมอบรางวัลแก่บุคลากรซีพีเอฟที่มีผลงานนวัตกรรมโดดเด่น  และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ ตามแบบฉบับ “ซีพีเอฟเวย์” ในปีนี้มีบุคลากรให้ความสนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 4,248 ผลงาน โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 18 รางวัล


นายวิโรจน์ คัมภีระ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน “CPF CEO Awards” เปิดเผยว่า ซีพีเอฟให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยเล็งเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง ฉะนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะสร้างความแตกต่างทางธุรกิจในฐานะผู้นำครัวโลก จากความมุ่งมั่นในการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ซีพีเอฟเป็นองค์กรที่มีนวัตกร TRIZ มากที่สุดในอาเซียน ปัจจุบันนวัตกรของซีพีเอฟตามแนวทาง TRIZ มีทั้งหมด 381 คน ในปีนี้มีผลงานที่ได้รับอนุสิทธิบัตร และ สิทธิบัตรเพิ่มขึ้นมา 35 ผลงาน รวมเป็น 59 ผลงาน จากเดิมที่มีเพียง 24 ผลงาน

 

 

“ในแต่ละปีบุคลากรของบริษัทฯ ต่างให้ความสนใจ ระดมความคิดสร้างสรรค์ คิดค้นและส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด “CPF CEO Awards” เวทีแห่งการแจ้งเกิดนวัตกร  ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน แม้จะจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แต่มีบุคลากรซีพีเอฟจากทั่วโลกร่วมส่งผลงานทั้งสิ้น 4,248 ผลงาน  โดยมีผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำมาจัดแสดงภายในงานรวม 187 ผลงาน ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิต  ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed), ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Farm), อาหาร (Food) และ ค้าปลีก (Retail)  เวทีนี้จึงถือเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางธุรกิจ ส่งเสริมบรรยากาศความคิดสร้างสรรค์ รวมพลังซีพีเอฟเวย์ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างทางธุรกิจ” นายวิโรจน์กล่าว

 

ซีพีเอฟ ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์กรเป็น 3 ลำดับ ได้แก่ ลำดับแรก “การสร้างวัฒนธรรมองค์กรนวัตกรรม”  ผ่านการสร้างแรงจูงใจและบรรยากาศการพัฒนางาน จากการสนับสนุนของผู้บริหารในแต่ละสายธุรกิจ ผ่านการประกวดและแสดงผลงานนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานที่โดดเด่นจะได้นำมาจัดแสดงในเวที CPF CEO Awards เป็นประจำทุกปี ลำดับที่สอง “ความร่วมมือของเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก” จะทำให้คุณค่าของนวัตกรรมสูงขึ้นขณะที่ต้นทุนและเวลาในพัฒนาลดลง ซึ่งการผนึกกำลังของซีพีเอฟ ก่อให้เกิดพลังสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทำให้มีสินค้าดี มีประสิทธิภาพในการบริการสูงขึ้น ลำดับสาม คือ “สร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น”  ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ชุมชน และสังคม ทำให้เกิดการบูรณาการจากทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด และอื่นๆ ซึ่งเหล่านี้จะนำพาซีพีเอฟไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

รางวัล CPF CEO Awards 2015 จัดขึ้นภายใต้เแนวคิด “วัฒนธรรมองค์กร ความร่วมมือ นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ อันนำไปสู่ซีพีเอฟที่ยั่งยืน (Culture Collaborate Commercialize)” มีผลงานได้รับรางวัลทั้งสิ้น ทั้งสิ้น 18 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลระดับ i1 การปรับปรุงงาน จำนวน 8 รางวัล, รางวัลระดับ i2 การสร้างสิ่งใหม่ จำนวน 7 รางวัล, รางวัลระดับ i3 นวัตกรรม จำนวน 3 รางวัล นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลรางวัลสิทธิบัตรออกแบบ จำนวน 2 รางวัล และรางวัล อนุสิทธิบัตร จำนวน 33 รางวัล

 

 

สำหรับผลงานนวัตกรรมดีเด่นปีนี้ “เมจิ ไฮโปรตีน” จากกลุ่มธุรกิจ ซีพี เมจิ ที่ได้รับรางวัล ระดับ i3 ประเภท นวัตกรรม เกิดจากแนวคิด ที่ปัจจุบันเทรนด์การออกกำลังกายได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีนวัตกรรมโปรตีนนมเกิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ เมจิ ไฮโปรตีน ที่รับประทานแล้วเห็นผลได้จริง โดยเวย์โปรตีน รสช็อคโกแลต เหมาะสำหรับท่านที่เล่นเวท เพื่อสร้างกล้าม อย่างไรก็ตามต้องลดการบริโภคแป้ง โปรตีน และไขมันลง จะทำให้เห็นชั้นกล้ามเนื้อได้ชัดขึ้น ในส่วนของสูตรแอลคาร์นิทีน รสจืด ที่ช่วยในเรื่องการเบิร์น เอาไขมันที่สะสมอยู่มาใช้ ควรรับประทานก่อนออกกำลังกาย 30 นาที จะทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค

 

 

“Meat as Meals เม็ดเนื้อนุ่มมัดใจน้องหมา” จาก ได้รับรางวัล ระดับ i3 ประเภท นวัตกรรม เกิดจากแนวคิดที่ต้องการพัฒนาอาหารหลักสำหรับสุนัข โดยใช้วัตถุดิบหลักเป็นเนื้อไก่สดที่มีคุณภาพดี ให้มีลักษณะเนื้อสัมผัสคล้ายชิ้นเนื้อ มีความหอมอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนตรงตามที่สุนัขต้องการ มีความเป็นโฮลิสติกส์ ทำให้สุนัขชื่นชอบ อร่อย และเพลินเพลินในการรับประทาน ปลอดภัยต่อสุนัข ช่วยทำให้เกิดการย่อยอาหารที่ดี

 

“อบวุ้นเส้นอย่างไรให้ความยั่งยืน” เป็นโครงการจากกลุ่มธุรกิจอาหารสำเร็จรูปที่ได้รับรางวัล ระดับ i2 ประเภท สร้างสิ่งใหม่ โดยมีแนวคิดที่ต้องการผลิตอาหารที่เป็น Food destination ที่ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ทั้งมื้อหลักและมื้อรอง ที่เป็นเมนูระดับภัตตาคาร จึงเป็นที่มาของเมนูกุ้งอบวุ้นเส้น โดยทางทีมได้มีการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วุ้นเส้นที่มีความเหนียวนุ่ม และการคัดเลือกกุ้งคุณภาพดี รสชาติหวาน เนื้อสัมผัสดี นอกจากนี้ยังมีการนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้บรรจุสินค้าโดยใช้เครื่อง Microwave work station เพื่อยืนยันผลการออกแบบการบรรจุ และหาเวลาที่ทำให้วุ้นเส้นและกุ้งมีความอร่อยสูงสุด ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าที่มีความชื่นชอบ ทำให้บริษัทสามารถนำวัตถุดิบกุ้งมาใช้ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

 

อีกหนึ่งผลงานที่น่าสนใจ คือ “การเพิ่มลูกแรกเกิดมีชีวิตในแม่สุกรสายพันธุ์คุโรบุตะ” ที่ได้รับรางวัล ระดับ i1 ประเภท การปรับปรุงงาน คิดค้นโดยกลุ่มธุรกิจสุกร มีแนวคิดมาจากความต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตหมูซีพีคุโรบุตะ ซึ่งในอดีตมีการออกลูกในปริมาณต่ำ จึงต้องการเพิ่มปริมาณการออกลูกให้มากขึ้น โดยนำพ่อพันธุ์มาผสมพันธุ์กับแม่สายพันธุ์ลูกดก ทำให้ปัจจุบันสามารถผลิตลูกสุกรจากเดิม 9 ตัว เพิ่มเป็น 10.3 ตัว คิดเป็น 1.3 ตัวต่อแม่ ทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้น โดยยังคงคุณภาพความนุ่มเหมือนเดิม

ซีพีเอฟ วางระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ตามแนวทางของ CEN16555 โดยมีการพัฒนา นวัตกร อย่างต่อเนื่องตามแนวทางของ TRIZ และพัฒนาตัวแทนสิทธิบัตรภายในองค์กร โดยร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาการบริหารจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ โดยในปีนี้สามารถสร้างนวัตกรรมเพิ่มได้กว่า 500 คน ตั้งเป้าอีก 3 ปีข้างหน้า จะสามารถสร้างนวัตกรได้มากกว่า 1,000 คน พร้อมวางงบด้านการวิจัยและพัฒนาไว้ประมาณ 1-2% เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม.

Back to top button