DELTA ทรุด 26% โบรกแนะ “ขาย” หั่นเป้าเหลือ 71.50 บ. เซ่นกำไร Q4 หดแรง

DELTA ทรุด 26% หลังประกาศกำไรปี 67 โตเพียง 2.8% ที่ระดับ 18,938.58 ล้านบาท ต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 22,821 ล้านบาท และกำไรไตรมาส 4/67 ต่ำคาด 60% ด้านโบรกแนะ “ขาย” หั่นราคาเป้าหมายเหลือ 71.50 บาท


ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (17 ก.พ.68) ราคาหุ้น บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ณ เวลา 10:07 น. อยู่ที่ระดับ 84.00 บาท ลบ 29.00 บาท หรือ ลบ 25.6% สูงสุดที่ระดับ 84.75 บาท ต่ำสุด 79.25 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 2,185.71 ล้านบาท

โดยหลังจากเปิดตลาดภาคเช้า พบราคา DELTA ร่วงติดฟลอร์มาอยู่ที่ระดับ 79.25 บาท สาเหตุกำไรสุทธิปี 67 ของ DELTA อยู่ที่ 18,938.58 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.80% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 18,422.54 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ตลาดและนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

ขณะที่กำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 เหลือเพียง 2.15 พันล้านบาท ลดลง 64% จากไตรมาสก่อน และลดลง 54% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อน ต่ำกว่าที่ทาง บล. ฟินันเซีย ไซรัส และตลาดคาดถึง 60%  (นักวิเคราะห์คาดไว้ประมาณ 5.4 พันล้านบาท) โดยมีรายการพิเศษจำนวนมาก ตามที่ DELTA ชี้แจง รวม 3 พันล้านบาท ได้แก่ 1. FX loss ในต้นทุนขาย USD13.3m (หรือประมาณ 452 ล้านบาท), 2. FX loss จากการ hedging และการเปลี่ยนแปลงใน balance sheet 329 ล้านบาท 3. รายได้ชดเชยจากการผิดสัญญาของลูกค้า 436 ล้านบาท,

4.การให้ Rebate (การส่งเสริมการขาย) กับลูกค้า data center ราว USD6.8m (หรือประมาณ 231 ล้านบาท), 5. การตั้งสำรอง (Warranty provision) เพราะเกิด defect ในงาน Magnetics solution ราว USD16.2m (หรือประมาณ 551 ล้านบาท), 6. การกลับรายการตั้งสำรองสินค้าคงเหลือ 290 ล้านบาท, 7. ค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย 1,008 ล้านบาท, 8. ค่าใช้จ่าย R&D ที่สูงกว่าไตรมาสอื่น จาก project ของฝั่งเยอรมณี,

5.มีการปรับเพิ่มอัตราการจ่ายค่า Technical service fees (ให้กับ Delta Taiwan) สำหรับสินค้า Non-AI และมีการเก็บย้อนหลัง USD26m (หรือประมาณ 884 ล้านบาท), 10. ถูกอินเดียเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม INR400m (หรือประมาณ 156 ล้านบาท) และ 11. ค่าใช้จ่ายชดเชยให้กับคู่ค้าตามที่มีข้อพิพาทกันตั้งแต่ในอดีต แต่มารับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาสนี้ 141 ล้านบาท

ทั้งนี้หากบวกกลับตามที่ DELTA ให้ข้อมูลทั้งหมด จะได้กำไรปกติราว 5.2 พันล้านบาท

ขณะเดียวกัน บล.ลิเบอเรเตอร์ ระบุในบทวิเคราะห์หุ้น DELTA แนะ “ขาย” และปรับราคาเหมาะสมใหม่ 71.50 บาท จากกำไรสุทธิไตรมาส 4/67 หดตัวแรง ลดลง 54% จากงวดเดียวของปีก่อน และ ลดลง 63% จากไตรมาสก่อน มาที่ 2,155 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดอย่างมีนัยสำคัญจากต้นทุนขายเพิ่ม-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม และภาษีจ่ายเพิ่ม

พร้อมปรับประมาณการปี 68 ลงจากเดิม 20% อย่างไรก็ตาม ดว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Data center, Cloud และ AI ยังมีการเติบโตได้ตามการใช้ที่มากขึ้น ทำให้คาดยอดขายของ DELTA ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง

ขณะที่แนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นนั้นคาดจะเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวของปีก่อน ได้ เนื่องจากปีก่อนมีรายการพิเศษทำให้ต้นทุนเพิ่มและกระทบกับอัตรากำไรขั้นต้นราว 0.6% แต่ขณะเดียวกันเรามีปรับค่าใช้จ่ายขายและบริหารและค่าใช้จ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นขึ้นจากเดิมเช่นกัน เนื่องจากมีการคิดค่าสิทธิการจ่ายจากบริษัทแม่เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเฉพาะสินค้า AI แต่เริ่มมีการคิดในสินค้าอื่นด้วยรวมถึงผลกระทบจาก GMT ทำให้เราปรับประมาณการใหม่

โดยคาดยอดขาย 5,006 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 9% จากงวดเดียวของปีก่อน ปรับอัตรากำไร ขั้นต้นเป็น 26% และปรับสัดส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหาร

และพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็น 15% ทำให้กำไรสุทธิใหม่จะอยู่ที่ 17,839 ลบ. -6% y-y และปรับราคาเหมาะสมใหม่ 71.50 บาท อิง P/E 50 เท่า สะท้อนการปรับประมาณการลง

“แม้จะมีรายการพิเศษกดดันให้กำไรต่ำคาด แต่ค่าใช้จ่ายที่เร่งตัวขึ้นและลามสินค้าอื่นนอกจากกลุ่ม AI เป็นปัจจัยกดดันกำไรเพิ่มขึ้นนอกจากจะเริ่มได้รับผลจาก GMT ปีนี้ แม้ตลาดจะให้ premium กับ DELTA มากกว่ากลุ่ม จากการมีสินค้าเกี่ยวข้อง Data center และ AI ที่เติบโตตาม Mega Trend แต่จากงบที่ต่ำคาด และค่าใช้จ่ายที่เร่งตัวขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มที่อาจถูกลดสัดส่วนการถือตามเกณฑ์ฃคำนวนดัชนี SET50 ใหม่ตลาดฯ

อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน P/E25E ถึง 79 เท่า มองว่าแพงเกินไปเมื่อเทียบกับส่วนเพิ่มที่มีต่อประมาณการแล้ว คงแนะนำ “ขาย”

สำหรับผลประกอบการปี 67 มียอดขายรวม 1,199 ล้านเหรียญ +17% จากงวดเดียวของปีก่อน แต่หด -2% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเมื่อเทียบเป็นเงินบาทจะเท่ากับ 41,062 ล้านบาท เติบโต +10% จากงวดเดียวของปีก่อน แต่ -3% จากไตรมาสก่อน กลุ่ม Power electronic (สัดส่วน 55% ของยอดขาย)ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้า Data center server และ AI มียอดขายเติบโต +18% จากงวดเดียวของปีก่อน แต่ -4% จากไตรมาสก่อน

กลุ่ม Mobility (สัดส่วน 25%) ยอดขาย +1% จากงวดเดียวของปีก่อน แต่ -7%  จากไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม EV ซึ่งขายใน 2

ตลาดหลักคือ สหรัฐและจีน(42%) ตลาดดังกล่าวยอดขายหดตัว -27% จากงวดเดียวของปีก่อน และ -3% จากไตรมาสก่อน เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน ส่วนตลาดยุโรป (58%) ยอดขายโต +30% จากงวดเดียวของปีก่อน แต่หด -9% จากไตรมาสก่อน

กลุ่ม Infrastructure (สัดส่วน 17%) ยอดขายเติบโต เพิ่มขึ้น 45% จากงวดเดียวของปีก่อน  และเพิ่มขึ้น 15% จากไตรมาสก่อน ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มลูกค้าโทรคมนาคมและพลังงาน

กลุ่ม Automation (สัดส่วน 3%) ยอดขายขยายตัว +28% จากงวดเดียวของปีก่อน และทรงตัวจากไตรมาสก่อน กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ อัตรากำไรขั้นต้นหดจาก 27.5% ในไตรมาส 3/67 เหลือเพียง 22.2% เนื่องจากมีต้นทุนเพิ่มขึ้นสุทธิ +934 ล้านบาท มาจาก 1) ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนตามการปรับต้นทุนทุกไตรมาสและค่าเงินผันผวน 13.3 ล้านเหรียญ 2)การให้ส่วนลดลูกค้าในกลุ่ม Data center ตามยอดขายเพิ่มขึ้น 6.8 ล้านเหรียญ 3) สินค้ากลุ่ม Magnetic ที่ทำใช้ภายในเกิดปัญหาการผลิตและส่งผลต่อสินค้าสำเร็จรูปที่ส่งให้ลูกค้าทำให้ต้องตั้งสำรองประกัน 16.2 ล้านเหรียญ และ 4) ยอดขาย EV ที่อ่อนแอทำให้มีตั้งสำรองสินค้าแต่มีโอนกลับสำรองงสินค้า +300 ล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมรายการพิเศษที่เกิดขึ้นจะทำให้อัตรากำไรเพิ่มราว 2.3%ค่าใช้จ่ายขายบริหาร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น 62% จากงวดเดียวของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาสก่อน

1) ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย 1,008 ล้านบาท เดิมอยู่ในรายการพิเศษแต่ไตรมาสนี้อยู่ที่คชจ.ดำเนินงาน 2) ค่าใช้จ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื่องจากมีโครงการค้างในเยอรมัน สำหรับรายการดังกล่าวเป้าหมายระยะยาวจะอยู่ที่ 3% ของยอดขาย ปัจจุบันอยู่ที่ 2.5%

3) ค่าสิทธิการจ่ายที่จ่ายให้กับบริษัทแม่ในไต้หวันเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากมีการปรับอัตราจ่ายเพิ่มเติมจากเดิมจะคิดเฉพาะที่เกี่ยวข้อง AI แต่เริ่มนำสินค้าที่มียอดขายสูงมาคิดด้วยมีการคิดย้อนกลับตั้งแต่ต้นปีจำนวน 26 ล้านเหรียญ มีอัตราภาษีจ่าย เพิ่มขึ้นเนื่องจากรัฐบาลอินเดียมีเก็บภาษีเพิ่มขึ้นตามกฎหมายใหม่จำนวน 400 ล้านรูปี

Back to top button