อย่างงง? IOD ให้ 3 ดาว CPALL ได้ไง!
อย่างงง? IOD ให้ 3 ดาว CPALL ได้ไง!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ได้ผ่านการประเมินการประเมินบรรษัทภิบาล (Corporate Governance : CG) ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ด้วยคะแนน 3 ดาว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวปรากฏอย่างชัดเจนในข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แน่นอนการให้คะแนนดังกล่าวทำให้นักลงทุนเกิดข้อกังขา เนื่องจากก่อนหน้า สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้ประกาศกฎเกณฑ์ออกมาอย่างชัดเจนว่า CPALL จะไม่สามารถนำมาประเมินและให้คะแนน CG ได้
สืบเนื่องมาจากนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์, นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล, นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล, นายอธึก อัศวานันท์, นายสมศักดิ์ เจียรวิสิฐกุล และนางสาวอารียา อัศวานันท์ ได้อาศัยข้อมูลภายในซื้อหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) ในช่วงช่วงปี 58 จนทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับผู้บริหารและพรรคพวกจำนวน 6 ราย วงเงินรวมกว่า 34 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ถือว่าผิดกฏเกณฑ์ของการบรรษัทภิบาล (Corporate Governance : CG) และขัดแย้งกับข้อประกาศอย่างชัดเจน
รูปภาพสรุปข้อมูลสารสนเทศของ CPALL
อนึ่ง สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ขอเรียนว่า ที่ประชุมคณะกรรมการโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2559 มีมติปรับคุณสมบัติของบริษัทที่ทำการประเมินและเหตุแห่งการไม่ประกาศผลของโครงการ CGR โดยให้มีผลตั้งแต่การประเมินประจำปี 2559 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
คุณสมบัติของบริษัทที่ทำการประเมินในโครงการ CGR โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะได้รับการประเมินตามโครงการ CGR ยกเว้น
- บริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ
- บริษัทที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
- บริษัทที่ไม่มีการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นในปีที่ทำการสำรวจ
- บริษัทหรือกรรมการบริษัทใดที่สำนักงาน ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับ หรือกล่าวโทษ ในเรื่องดังต่อไปนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค. ของปีก่อนปีที่ทำการสำรวจจนถึงวันที่ประกาศผลของปีที่ทำการสำรวจ จะไม่ได้รับการประเมินในโครงการ CGR เป็นเวลา 2 ปี
(1) กระทำการ หรือละเว้นกระทำการโดยไม่สุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการทำธุรกรรมของบริษัทหรือบริษัทย่อย และเป็นเหตุให้บริษัทหรือ ผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายหรือเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์โดยมิชอบ หรือ
(2) เปิดเผย หรือเผยแพร่ข้อมูล หรือข้อความเกี่ยวกับบริษัท หรือบริษัทย่อยอันเป็นเท็จที่อาจทำให้สำคัญผิด หรือโดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ
(3) มีการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
…
*ขณะที่ล่าสุด สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้ออกมาชี้แจงต่อกรณีดังกล่าวแล้วดังต่อไปนี้