9 เหตุผลทำไมอังกฤษต้องออกจากสหภาพยุโรป
ผ่านไปสดๆร้อนกับการลงประชามติออกจาก EU ของประชาชนในสหราชอาณาจักร ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 52 ต่อ 48 และนายเดวิต คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบหลังได้สนับสนุนให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้สหราชอาณาจักรอยู่กับสหภาพยุโรป
ผ่านไปสดๆร้อนกับการลงประชามติออกจาก EU ของประชาชนในสหราชอาณาจักร ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 52 ต่อ 48 และนายเดวิต คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบหลังได้สนับสนุนให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้สหราชอาณาจักรอยู่กับสหภาพยุโรป
ซึ่งจากนี้ไปประเทศอังกฤษจะเดินไปในทิศทางใดและจะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นบ้างคงต้องเป็นเรื่องของอนาคตเพราะเป็นการตัดสินใจของชาวอังกฤษล้วนๆ ซึ่งคำถามคือเหตุใดชาวอังกฤษส่วนใหญ่ถึงตัดสินใจเช่นนี้
1) ไม่ต้องการอุ้มชูประเทศสมาชิกที่เศรษฐกิจตกต่ำ
ความแตกต่างกันของระบบเศรษฐกิจใน EU ที่มีเศรษฐกิจใหญ่และร่ำรวย เมื่อประเทศสมาชิกเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำโดยเฉพาะ กรีซ ที่เผชิญปัญหาจนเกือบล้มละลาย และเกือบจะถูกบีบให้ออกจาก สมาชิก EU เมื่อไม่นานมานี้ และยังมีสมาชิกอีกหลายประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ปัญหาเศรษฐกิจนี้ทำให้ประเทศร่ำรวย จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟู เพื่อพยุงไม่ให้ปัญหาลุกลาม และอาจส่งผลกระทบต่อ การรวมตัวเป็นสหภาพยุโรปได้
2) เสียค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์
อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องช่วยเหลือทางการเงินแก่ EU และต้องสูญเสียงบประมาณไปจำนวนมาก ทำให้ คนอังกฤษรู้สึกไม่พอใจ ว่าทำไม่รายได้ของพวกเขาต้องเอาไปช่วยเหลือคนอื่น และที่สำคัญ EU ยังไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำและปัญหาต่างๆ
3) ปัญหาผู้อพยพจากตะวันออกกลาง
จากแผนรับผู้อพยพของ EU ให้สมาชิกสหภาพยุโรปแบ่งรับผู้ลี้ภัย ภายใต้ระบบจัดสรรโควต้า โดยพิจารณาจากตัวเลขจีดีพี จำนวนประชากร อัตราการว่างงาน และจำนวนผู้ลี้ภัยที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้ว ทำให้ผู้อพยพจากตะวันออกกลางหลั่งไหลเข้ามาในยุโรปมากขึ้น และอังกฤษเองก็ไม่ต้องการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมถึงเกรงว่าจะเกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมายหลังจากการหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมากของผู้อพยพ
4) ปัญหาการก่อการร้าย
อังกฤษได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศเป้าหมายสำคัญแห่งหนึ่งของผู้ก่อการร้าย ยิ่ง EU ให้สมาชิกรับผู้อพยพจากตะวันออกกลางมากเท่าไหร่ การแฝงตัวเข้ามาก่อเหตุของผู้ก่อการร้ายก็มีมากขึ้นเท่านั้น และอังกฤษไม่อยากที่จะเสี่ยงอีกต่อไป
5) ปัญหาการว่างงาน
การไหลเข้ามาของแรงงานจากสมาชิกในกลุ่ม EU จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการแย่งงานของคนอังกฤษ และ การเข้ามาทำงานของคนนอกประเทศโดยเฉพาะคนจาก ยุโรปตะวันออกนั้น ยังได้รับสวัสดิการ การดูแล เหมือนกับแรงงานคนอังกฤษ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณของรัฐบาลอังกฤษทั้งสิ้น
6) ความเป็นเสรีและประชาธิปไตย
ในประวัติศาสตร์แล้วคนอังกฤษท้ายที่สุดมักจะมองคนในชาติของตนเองเป็นสำคัญ และยึดติดกับความภาคภูมิใจในเสรีภาพทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่และดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งคงจะเบื่อหน่ายกับปัญหาของ EU ที่เกิดขึ้นตลอดไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการโยกย้ายเข้าเมืองของสมาชิกสหภาพยุโรป
ปัญหาให้ความร่วมมือด้านผู้อพยพจากตะวันออกกลาง ปัญหาที่ต้องร่วมรับผิดชอบจ่ายค่าสมาชิกซึ่งจ่ายไปแล้วกว่า 11,000 ล้านปอนด์ในขณะที่มีผลตอบแทนกลับมาเพียงเล็กน้อย รวมถึงกฎระเบียบของอียูที่แผ่ปกคลุมอำนาจรัฐสมาชิก ทำให้พวกเค้ารู้สึกว่ากำลังถูกเอาเปรียบและขาดการพัฒนาประเทศอย่างอิสรเสรี
7) นโยบายทางการเมือง
นายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ ได้หาเสียงเลือกตั้งไว้ว่าหากได้เป็นนายกรัฐมนตรีจะมีการจัดทำประชามติให้ประชาชนลงมติการแยกตัวออกจาก EU โดยไม่ได้บอกเหตุผล ซึ่งนโยบายนี้ทำให้เขาได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย
และล่าสุดได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้วตามความคาดหมาย หลังจากที่ผลลงประชามติ ปรากฏว่าชาวอังกฤษต้องการออกจากสหภาพยุโรป ขณะที่นายคาเมรอนเป็นผู้นำรณรงค์ให้อังกฤษอยู่ต่อ
8) เสรีภาพในการจัดทำข้อตกลงการค้ากับประเทศอื่นๆ
การเป็นสมาชิกอียูทำให้อังกฤษไม่สามารถทำข้อตกลงการค้ากับประเทศอื่นได้อย่างเสรี เนื่องจากสหภาพยุโรปได้พัฒนาตลาดเดียวผ่านระบบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกรัฐ มีการยกเลิกการควบคุมหนังสือเดินทาง สหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคลากร สินค้า บริการและทุนอย่างเสรี
และคงไว้ซึ่งนโยบายการค้าเกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน นอกจากนี้การทำแผนพัฒนากระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำได้ยากลำบากเพราะธนาคารกลางของยุโรปเป็นผู้ควบคุมดูแลงบประมาณประเทศสมาชิกใน EU
9) การก้าวเข้ามาเป็นผู้นำของโลกอีกครั้ง
อังกฤษถูกมองว่าเป็นผู้นำโลกทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน แต่หลังจากที่เข้าร่วมสหภาพยุโรปก็ถูกมองว่าเป็นลูกเบี้ยของประเทศมหาอำนาจอื่นในยุโรปอย่างเช่น เยอรมัน ฝรั่งเศสและอิตาลี เนื่องจากว่า 3 ประเทศนี้มีอำนาจสูงสุดในการตัดใจของสหภาพยุโรป และด้วยเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ใน EU ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายทำให้อังกฤษเห็นว่า EU กำลังล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา
ด้วยกฎข้อบังคับที่เข้มงวดเกินไปของธนาคารกลางยุโรป ทำให้อังกฤษมองว่าเป็นปัญหาในการวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของตัวเอง หากออกจาก EU อังกฤษก็จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างเสรี รวมทั้งไม่ต้องเสียงบประมาณช่วยเหลือ EU เพื่อแก้ปัญหาที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้น ซึ่งจะทำให้อังกฤษกลับเข้ามาเป็นผู้นำของโลกอีกครั้งโดยไม่อยู่ภายใต้เงาของ EU อีกต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก thansettakij