4 โมเดล ของ “EARTH” ที่นักลงทุนต้องรู้
4 โมเดล ของ "EARTH" ที่นักลงทุนต้องรู้
นายขจรพงษ์ คำดี ประธานกรรมการบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) หรือ EARTH เปิดเผยผ่านรายการ “ข่าวหุ้นเจาะตลาด ออนเรดิโอ” ทาง FM 98.5 MHz สถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ ช่วงเวลา 9.30-11.00 น. ว่า การที่จีนปรับลดกำลังการผลิตถ่านหินลงนั้นเป็นการเคลียร์สต็อกทุก 1 ปี เพื่อควบคุมสต็อกไม่ให้มากเกินไป ซึ่งเป็นการเคลียร์ในภาพรวมเท่านั้น
ทั้งนี้ การเคลียร์สต็อกจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ การเคลียร์เพื่อเช็คจำนวนสต็อก และการเคลียร์สต็อกเพื่อปรับปรุงแผนการผลิต สำหรับการเคลียร์สต็อกครั้งนี้ประโยชน์จะเกิดกับผู้ค้าถ่านหิน เนื่องจากหลังเคลียร์สต็อกแล้วจะมีการควบคุมเหมืองในประเทศจีนที่ได้มาตรฐานเท่านั้นที่จะได้ผลิต ถ้าไม่ได้มาตรฐานจะมีการสั่งหยุดการผลิต ทำให้ซัพพลายในประเทศจีนบางส่วนหายไป จึงต้องมีการนำเข้าทดแทน
ขณะเดียวกัน EARTH มีโมเดลบริษัทอยู่ 4 โมเดลด้วยกัน คือ
1) Trading ซึ่งบริษัททำอยู่แล้ว โดยนำของพันธมิตรส่งไปจีนประมาณ 50% หรือ 30% ที่เหลือส่งไปเกาหลีใต้, บังกลาเทศ, อินเดีย, ฮ่องกง และล่าสุดไต้หวัน
2) Mining บริษัทมีเหมืองอยู่ที่อินโดฯ ซึ่งสามารถดูว่าสถานการณ์ถ่านหินตรงไหนดี ถ้าราคาถ่านลงบริษัทจะเน้น Trading แต่ถ้าราคาถ่านขึ้นเราจะเน้น Mining แทน
3) Retailing คือการที่บริษัทนำเข้ามาขายในเมืองไทย ขายลูกค้าประมาณ 200 กว่าราย ซึ่งบริษัทเป็นเบอร์ 1 ของตลาดค้าปลีกในเมืองไทยประมาณ 3 ล้านกว่าตัน
และ 4) Collecting จริงๆ บริษัทรู้ล่วงหน้าแล้วว่าจะมีการปรับปรุงลดกำลังการผลิต ดังนั้นโรงไฟฟ้าจีนจึงต้องการตัวแทนไปรวบรวมถ่านที่มีคุณภาพในเมืองจีนส่งมอบให้แก่โรงไฟฟ้า เท่ากับว่าทางจีนต้องการคิดตัว Supply ในประเทศไว้ส่วนหนึ่ง จึงมอบหมายให้บริษัทจัดการ ซึ่ง EARTH มีบริษัทลูกฝั่งเอ็นเนอร์ยี่ที่เมืองจีน ถือหุ้นโดย EARTH 100% โดยปีที่ผ่านมาบริษัทได้ Collecting ผ่านจากจีนส่งไปจีนประมาณ 2,000 ล้านบาท
โดยใน 4 วิธีนี้ จะต้องดูเป็นช่วงเวลาว่า ถ้าราคาถ่านขึ้นควรจะเน้น Volume จากจุดไหน ถ้าถ่านราคาลงเราควรใช้จุดไหน ยกตัวอย่างเช่นถ้าถ่านขึ้นธุรกิจจะไปอยู่ใน Mining ส่วน Trading คือราคาถ่านลง Retailing คือเอาราคาต้นทุนบวกกับค่าขนส่งและกำไรแล้วขาย เนื่องจาก Retailing จะไม่เปรียบเทียบกับราคาตลาดโลก จะเอาเชื้อเพลิงถ่านหินไปเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงเหลว คือพวกน้ำมัน ซึ่งอย่างไรราคาของถ่านหินจะถูกกว่าพวกน้ำมันอยู่แล้ว อยู่ที่ดีมานด์ของบริษัทมีอยู่ที่จำนวนเพียงพอ
ดังนั้นสิ่งที่บริษัทได้เปรียบคู่แข่งหรือผู้ประกอบการประเภทเดียวกันคือ บริษัทมีเหมืองเป็นของตัวเอง ต้นทุนจึงถูกกว่าผู้ประกอบการอื่น เวลามี Volume เยอะลูกค้าจึงประทับใจและอุ่นใจ เนื่องจากถ้าเกิดปัญหาขึ้นบริษัทยังมี Supply ที่แน่นอน คือเรื่องของ Security Supply ส่วน Collecting คือบริษัทสามารถรวบรวมถ่านในเหมืองที่ลูกค้าเค้าปรูฟแล้ว วอลุ่มจะเยอะ เพียงแต่ GP (Gross Profit) จะบาง แต่ความเสี่ยงต่ำ
ทั้งนี้ EARTH มี 4 โมเดลต่างจากบริษัทอื่นๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและบริหารความเสี่ยง บริหารผลประกอบการเพื่อให้อยู่ได้ทั้งในสภาวะทั้งขาขึ้นและขาลง และพยายามกระจายประเทศ ซึ่งตอนนี้บริษัทมีลูกค้าทั้งหมดอยู่ 7 ประเทศ
ล่าสุดบริษัทได้เชิญสถาบันการเงินที่สนับสนุนอีก 1 สถาบันคือ ธนาคารกสิกรไทย โดยวันนี้ธนาคารกสิกรไทยและกสิกรเซินเจิ้นกับทีมงาน กำลังไป Structure กับลูกค้าที่เมืองจีนเพื่อวางแผนในการเพิ่มตัว Working Cap ในการ Collecting ถ่านให้ได้ตามเป้ากับลูกค้าที่เมืองจีน ซึ่งประเด็นทั้งหมดคือโอกาสของ EARTH