IFEC อนาคตบนเส้นลวดแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น
การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งสำคัญในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2556 ของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC หากจะมีใครคิดว่าไม่มีควาหมายอะไรเลย...ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น
การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งสำคัญในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2556 ของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC หากจะมีใครคิดว่าไม่มีควาหมายอะไรเลย…ไม่ควรเข้าตลาดหุ้น
การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นในราคาที่ราคาหุ้นของบรำทอยู่ในภาวะไซด์เวย์ดาวน์ มีนัยสำคัญที่ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เพราะมีข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดิม ร่วมขายหุ้นทิ้งต่อเนื่องตลอดปีนี้ โดยอ้างเหตุผลข้างๆคูๆ …แต่กลับมีผู้ถือหุ้นรายใหม่ดอดเก็บหุ้น จนมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ต้องรายงานต่อตลาดฯ
กลุ่มทุนใหม่ตระกูล เตชะนาวากุล ที่เป็นผ็ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ได้แก่ นายทวิช เตชะนาวากุล และนายเทพฤทธิ์ เตชะนาวากุล ได้แจ้งต่อตลาดไล่เลี่ยนยกัน เพื่อแจ้งการได้มาหุ้น IUFEC เกินกว่าสัดส่วน 10.21%
นายทวิช ซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด (นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค) แจ้งการได้มาของหุ้น IFEC เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน จำนวน 13.82 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.69% ราคาเฉลี่ย 6.70 บาท ทำให้หลังการได้มามีหุ้นเพิ่มเป็น 101.53 ล้านหุ้นหรือคิดเป็น 5.12% ของหุ้นทั้งหมด
ส่วนนายเทพฤทธิ์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเงินนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (กบินทร์บุรี) แจ้งการได้มาหุ้น IFEC จำนวน 13.44 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.677% ราคาเฉลี่ย 6.35 บาท ทำให้หลังการได้มามีหุ้นเพิ่มเป็น 101.08 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 5.09% ของหุ้นทั้งหมด
.ในทางตรงกันข้าม 2 ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม อย่าง นพ.วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ IFEC และนายสิทธิชัย พรทรัพย์อนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IFEC แอบทยอยตัดขายหุ้นทิ้ง จนเกลือถือหุ้นรายละต่ำกว่า 5%
จากการตรวจสอบข้อมูล รอบปี 2559 เห็นได้ชัดว่าทั้ง 2 คน มีลักษณะการเข้ามาซื้อและขายหุ้นเหมือนกัน คือซื้อและขายชนิดที่เรียกว่า “ซื้อเช้าขายบ่าย” หรือ “ซื้อบ่ายขายเช้า” สลับกันมาโดยตลอด
นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นพ.วิชัย มีตัวเลขเข้าซื้อหุ้น 77.55 ล้านหุ้น มูลค่า 540.93 ล้านบาท และขายหุ้น 120.26 ล้านหุ้น มูลค่า 664.10 ล้านบาท เท่ากับขายหุ้นสุทธิ 42.71 ล้านหุ้น รวมมูลค่า 123.18 ล้านบาท
ขณะที่นายสิทธิชัย มีตัวเลขซื้อหุ้น 16.11 ล้านหุ้น มูลค่า 131.63 ล้านบาท และขายหุ้น 44.61 ล้านหุ้น มูลค่า 214.98 ล้านบาท จึงเท่ากับขายหุ้นสุทธิ 28.50 ล้านหุ้น รวมมูลค่าขาย 83.35 ล้านบาท
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับข้ออ้างของทั้งสองคนที่เคยประกาศว่าจะทำตามความฝันในการผลักดันให้ IFEC เป็นหุ้นพลังงานทางเลือกระดับหัวแถวของไทย
ปี 2556 กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ นำโดยนพ. วิชัย และนักการเงินอย่างนาย สิทธิชัย ได้ร่วมกันลงขันซื้อหุ้นบริษัท IFEC จากผู้ถือหุ้นใหญ่เดมิมกลุ่มสหพัฒน์ฯ ที่เผชิญกับธุรกิจขาขงในธุรกิจถ่ายเอกสาร เพราะเจ้าของแบรนด์ในญี่ปุ่นอย่าง Konica Minolta Business Solution Asia Pte Ltd. (KM BSA) ไม่ต่อสัญญาให้แก่ IFEC ซึ่งสัญญาได้สิ้นสุดมรวันที่ 31 มีนาคม 2557
กลุ่มนี้ ต้องการพลิกฐานะของ IFEC ไปสู่ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่กำลังเป็นขาขึ้น เริ่มต้นด้วยความฝันในการก้าวเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานทดแทน(ด้วยความร่วมมือของที่ปรึกษาการเงิน) ด้วยเงินสดมากเกินพอที่จะพร้อมรุกเข้าไป “ซื้อเพื่อสร้าง” ประสบการณ์จริงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถึง 4 ประเภท สอดคล้องแผนพัฒนาพลังงานของประเทศที่ต้องการโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก 1.4 หมื่นเมกกะวัตต์
ในช่วงแรกนั้น นพ.วิชัย และ นายสิทธิชัยถือเป็น”ดาวรุ่งคนล่าสุด”ที่ได้รับความสนใจจากนักวิเคราะห์ และกองทุนต่างๆอย่างมาก ที่มีมุมมองว่านับแต่ปี 2558 เป็นต้นไป IFEC จะมีกำไรสุทธิโดดเด่นมาก จากการเติบโตก้าวกระโดด ที่เป็นโมเมนตัมใหม่
คำแนะนำ “ซื้อ”ของนักวิเคราะห์ทุกสำนักในตลาดหุ้นไทยยามนั้น ทำให้ ราคาหุ้น IFEC สุดแสนจะหวือหวา…โดยสตอรี่เรื่องการลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในและต่างประเทศ ดันราคาหุ้นปรับขึ้นสูงสุดเกือบ 18 บาท ช่วงต้นเดือน กุมภาพันธ์ 25.58 แต่หลังจากนั้นราคาปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยกลับไปสู่จุดสูงสุดเดิมได้เลย
กลางปี 2558 IFEC ปฏิบัติการ “หักข้อศอก 90 องศา” เบี่ยงเบนจากธุรกิจพลังงานทางเลือก ด้วยการทุ่มเงินสด 2.5 พันล้านบาท ผ่านบริษัทลูกชื่อ ICAP เข้าซื้อกิจการโรงแรมดาราเทวี เชียงใหม่ โดยเป็นการซื้อโรงแรมมา 1.5 พันล้านบาท และหนี้ของโรงแรมที่มีอยู่ประมาณ 1 พันล้านบาทด้วย จากเจ้าของเดิมที่มีหนี้ท่วมหัว แม้จะมีกำไร แต่ก็ไล่ไม่ทันดอกเบี้ยเงินกู้ ด้วยข้ออ้างว่าเป็นการซื้อที่”ถูกมาก” และสามารถคืนกำไรได้ทันทีจากการพากิจการออกจากแผนฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลาง
นพ.วิชัยอ้างว่า เพียงแค่IFEC ขายหุ้นส่วนหนึ่งที่ถือในโรงแรมดาราเทวี 5-10% ซึ่งจะมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท ก็สามารถสร้างฐานทุนเพื่อที่จะเดินหน้ารุกโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกที่เป็นรายได้หลักได้แล้ว พร้อมกับหลดคำพูดชนิด “ตกม้าตาย” ว่า ที่ต้องลงทุนแบบใหม่นี้ เพราะว่า “…ธุรกิจพลังงานทดแทน ค่อนข้างมีความไม่แน่นอนสูง…”
ผลพวงของปฏิบัติการดังกล่าว แม้จะทำให้กำไรระยะสั้นของ IFEC กลับมาโดดเด่น แต่ก็ไม่สามารถปิดบังข้อเท้จริงได้ว่า นพ.วิชัย ละนายสิทธิชัย พากัน”แข่งกันขายทิ้ง”หุ้น IFEC อย่างจริงจัง
ปรากฏการณ์ ”คนเก่าขายทิ้ง คนใหม่ดอดเก็บ”ของหุ้น IFEC นี้ มีนัยมากกว่าธรรมดา แต่ยังไม่มีใครเปิดไต๋มา…ยังมีเรื่องให้ติดตามกันต่อไป
อิ อิ อิ