SSI อนาคตที่หมิ่นเหม่ (ของนักลงทุนกับเจ้าหนี้)

ข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้มูลค่า 6.9 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ของบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากกลุ่ม 3 เจ้าหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันขนาดใหญ่ 3 รายคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) และ ธนาคารทิสโก้ (TISCO) เป็นแค่ขั้นตอนที่ทำให้บรรดาเจ้าหนี้ 36 ราย จาก 13 กลุ่ม ที่มีเงื่อนไขและสภาพบังคับต่างกัน คงต้องก้มหน้ารับสภาพ ตามคำสั่งศาล


แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

 

ข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้มูลค่า 6.9 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ของบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากกลุ่ม 3 เจ้าหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันขนาดใหญ่ 3 รายคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) และ ธนาคารทิสโก้ (TISCO) เป็นแค่ขั้นตอนที่ทำให้บรรดาเจ้าหนี้ 36 ราย จาก 13 กลุ่ม ที่มีเงื่อนไขและสภาพบังคับต่างกัน คงต้องก้มหน้ารับสภาพ ตามคำสั่งศาล

โดยเฉพาะเจ้าหนี้จำนวน 30 ราย จากทั้ง 12 กลุ่ม(ไม่รวม เจ้าหนี้ 6 รายในกลุ่มที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้การค้า ที่ยอดมูลหนี้แค่ 15.497 ล้านบาทเท่านั้น ที่จะได้รับการชำระจากกระแสเงินสดปกติ ภายใต้เงื่อนไขธุรกิจการค้าปกติ) ที่เจอกับโจทย์ใหญ่ภายใต้เงื่อนไขคล้ายกันคือ

1)ได้รับชำระหนี้จากกระแสเงินสดส่วนเกิน รายเดือน จำนวน 144 เดือน โดยมีดอกเบี้ยแตกต่างกัน โดยเจ้าหนี้กลุ่มแรกที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้รับดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี ส่วนกลุ่มอื่นๆ ได้รับอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1.00-2.75% ต่อปี

2)ต้องยินยอมลดหนี้ บวกดอกเบี้ยและดอกเบี้ยระหว่างตั้งพัก ลง

3)บางกลุ่มต้องยอมรับการแปลงหนี้เป็นทุนเป็นครั้งคราวตามเงื่อนไข (ดูตารางประกอบ)

เงื่อนไขในข้อสุดท้ายที่เจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ (ไม่นับกลุ่มแรกกที่ได้เปรียบเต็มที่ เพราะมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน) จำต้องยอมรับอย่างกล้ำกลืนว่า SSI (ในฐานะผู้บริหารแผนจากการทำ “เจ๊ง”มากับมือเอง) ที่กำหนดเงื่อนเวลาในการลดทุน และเพิ่มทุน 5 ขั้นตอน ที่สุดสยอง สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม และบรรดาเจ้าหนี้ แต่คนในตระกูลวิริยประไพกิจ รับผลดีเต็มที่

เงื่อนเวลาดังกล่าว กำหนดว่า ใน 3 ขั้นตอนแรกจะทำภายใน 90 วันนับแต่ศาลมีคำสั่ง ประกอบด้วย

1)การลดทุนจดทะเบียนเดิมที่ผ่านมติผู้ถือหุ้นมาแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดสรร 18,097.401 ล้านหุ้น

2)ลดทุนจดทะเบียนเดิมที่เคยมีอยู่จากเดิม 29 หุ้น ให้เหลือแค่ 1 หุ้น  ทำให้หุ้นเดิมที่เคยมีอยู่ 32,116.262 ล้านบาท เหลือเพียง 1,109 ล้านบาท(หุ้นราคาพาร์ 1.00 บาท)

3)เพิ่มทุนใหม่อีก 10,000 ล้านบาท (พาร์ละ 1.00 บาท) รองรับการแปลงหนี้เป็นทุนให้กับเจ้าหนี้กลุ่ม 2(เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่หลักทรัพย์ต่ำกว่ามูลหนี้) และ/หรือ กลุ่ม 3(เจ้าหนี้สถาบันการเงินร่วมอื่นๆตามแผนปรับโครงส้รางหนี้ 2556) และ/หรือ กลุ่ม 4(เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้) ในราคาแปลงหนี้เป็นทุน 0.05 บาท ต่อ 1 หุ้น

ที่น่าสนใจคือ ในเงื่อนเวลาข้อ 4 ที่กำหนดไว้ว่าจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อทำการแปลงหนี้เป็นทุนครั้งที่ 2 นั้น ไม่ได้มีการกำหนดเวลาเอาไว้ชัดเจน เพียงแต่มีข้อกำหนดอย่างซับซ้อนในการเพิ่มทุน และการแปลงหนี้เป็นทุน

เงื่อนไขข้อนี้ระบุว่า การเพิ่มทุนครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นได้ “ …ต่อเมื่อเจ้าหนี้ที่อาจได้รับการแปลงหนี้เป็นทุนครั้งที่ 2 ที่มีจำนวนหนี้คงค้างรวมกันเกินว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหนี้คงค้างของเจ้าหนี้ตามแผน…”ซึ่งสุดแสนจะเลื่อนลอย

ส่วนข้อสุดท้าย ว่าด้วยการเพิ่มทุนเพื่อแปลงหนี้เป็นทุนให้กับเจ้าหนี้กลุ่ม 7 (เจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท) กลุ่ม 9 (เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วม) และ กลุ่ม 12 (เจ้าหนี้ค่าธรรมเนียมในการให้บริการตามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา) ซึ่งไม่มีมูลค่ามากมายนัก ก็ไม่มีรายละเอียดอะไร นอกจากระบุว่า จะยังได้รับชำระตามสัญญาและข้อตกลงเดิม

 ทั้งหมดนี้ ไม่นับรวมยอดเงินต้นของมูลหนี้ ที่มีกำหนดว่าจะชำระทั้งหมดในเดือนสุดท้ายของปีที่ 12 ซึ่งหากถึงเวลาจริง จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

เพราะพ้นจากนั้นไปแล้ว เจ้าหนี้อาจจะต้องเกิดใหม่”ในชาติหน้าจริงๆ

“อิ อิ อิ”

Back to top button