SUPER สวรรค์อยู่ที่ BBL ส่วนนรก อยู่ที่….?
หลายคนตั้งคำถามว่า เหตุใดกำไรสุทธิของบริษัทผู้ผลิตโซลาร์ฟาร์มรายใหญ่อันดับหนึ่งของไทย บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER จึงต่ำเตี้ยติดพื้น ทั้งที่มีสัดส่วนกำลังการผลิตมากกว่า 542.15 เมกะวัตต์ เทียบไม่ได้เลยกับกำไรสุทธิของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทุกอย่างรวมกันต่ำกว่า 300 เมกะวัตต์
แฉทุกวันทันเกมหุ้น
หลายคนตั้งคำถามว่า เหตุใดกำไรสุทธิของบริษัทผู้ผลิตโซลาร์ฟาร์มรายใหญ่อันดับหนึ่งของไทย บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER จึงต่ำเตี้ยติดพื้น ทั้งที่มีสัดส่วนกำลังการผลิตมากกว่า 542.15 เมกะวัตต์ เทียบไม่ได้เลยกับกำไรสุทธิของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทุกอย่างรวมกันต่ำกว่า 300 เมกะวัตต์
คำตอบอาจจะมีหลากหลาย ภายใต้ประเด็นหลัก 2 กลุ่ม คือ 1) การรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้า จากกรณีที่กลุ่มบริษัทมีจำนวนสัญญาขายไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขกกำหนดอัตราที่แตกต่างกัน 2) การซื้อสินทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และอื่นๆ ในฐานะที่เป็นผู้มาทีหลังในธุรกิจที่มีต้นทุนแพงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
เพียงแต่….คำตอบที่ชัดเจนสุดอยู่ในงบการเงินของ SUPER เอง และอยู่ในคำชี้แจงของผู้บริหาร ที่มีนายจอมทรัพย์ โลจายะ เป็นประธานกรรมการบริษัท
ตัวเลขงบกำไรขาดทุนสิ้นงวดปี 2559 ระบุชัดเจนว่า แม้จะกลับมาทำกำไรได้งดงาม จากเดิมที่เคยขาดทุน 817.70 ล้านบาทในปี 2558 มาเป็นกำไรสุทธิ 1,339.91 ล้านบาท หรือเติบโต 164% จากรายได้รวม 3,611.60 ล้านบาท ก็ยังน้อยอยู่ดีเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของ EA ที่มากถึง 3,251.51 ล้านบาท จากรายได้รวม 10,439.25 ล้านบาท
รายได้น้อยกว่ากัน ไม่ใช่ประเด็น เพราะเข้าใจกันได้ว่า โครงการของ SUPER นั้นมียิบย่อย รวมแล้วเฉพาะที่ส่งไฟฟ้าเข้าระบบไปแล้ว 96 โครงการ แต่มีการส่งไฟฟ้าเข้าระบบไม่พร้อมกันทำให้รายได้ที่รับรู้กะปริบกะปรอยไม่เต็มปี แต่…อัตรากำไรสุทธิที่ต่ำกว่าแค่ 9.5% นี่สิ เป็นเครื่องหมายคำถามที่ค้างคาใจ
คำตอบมีอยู่ชัดเจน ทั้งในงบการเงินและในคำสารภาพอย่างเป็นทางการของ ท่านประธานจอมทรัพย์ เองว่า ต้นทุนการเงินหรือดอกเบี้ยจ่ายที่หนักหนาสาหัส โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา มากถึง 1,201.08 ล้านบาท มาจากสาเหตุสำคัญคือ “…การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องใช้แหล่งเงินทุนจากเงินกู้ยืมของสถาบันการเงิน”…ซึ่งก็เป็นที่เปิดเผยทั่วกันว่า คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ผู้ให้กู้หลักของบริษัทมาตั้งแต่ต้น นั่นเอง
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยดังกล่าว คิดเป็น 33% ของ รายได้รวมเลยทีเดียว แต่หากคิดเป็นเดือนก็คงตกเดือนละ 100 ล้านบาท หรือวันละ 3.3 ล้านบาท ….ไม่มีหยุดพักเสาร์-อาทิตย์ หรือ วันนักขัตฤกษ์ใดๆ ทั้งสิ้น
คิดง่ายๆ ก็แล้วกันว่า ….. หากต้นทุนการเงินจากภาระดอกเบี้ยจ่ายหนี้เงินกู้ส่วนนี้หายไป กำไรสุทธิของ SUPER ในปี 2559 ควรจะอยู่ที่ 1,723.29 ล้านบาท ….ป่านนี้ราคาหุ้น SUPER คงวิ่งเหนือ 2.00 บาทไปไกลแล้ว ไม่ต่ำเตี้ยระดับรอบๆ 1.30 บาท ยามนี้
ผู้บริหารของ SUPER ก็คงไม่ต้องดิ้นรนปวดตับกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอย่างทุกวันนี้ที่มีอาการ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” ต่อเนื่อง
เจ้าหนี้นั่งนับดอกเบี้ยเพลิน แต่ลูกหนี้ต้องหาเงินมาหมุนหนี้ตัวเป็นเกลียว …อธิบายสาเหตุกำไรน้อยกว่าที่ควร ของ SUPER ได้ชัดเจน
ปัญหาทางการเงินที่ยังมีสภาพขาดสภาพคล่องของSUPER ในช่วงเวลาที่ยังต้องการลงทุนต่อเนื่องในธุรกิจพลังงานทางเลือกในอีกหลายปีข้างหน้ายามนี้ เป็นรเองใหญ่เกินคาดทำนอง”ดินพอกหางหมู”
มิน่าละ ยามไหนที่มีข่าวว่า SUPER มีรายได้และกำไรจากการส่งไฟฟ้าเข้าระบบต่ำว่าคาด ราคาหุ้นในกระดานถึงพร้อมที่จะลดลงได้เสมอ …เพราะนักลงทุนกลัวว่า ดอกเบี้ยจ่ายจะกินตัวเสียหมด
ร้ายไปกว่านั้น แผนรุกเข้าไปในต่างประเทศของSUPER อีกหลายปีข้างหน้า ทั้งเจรจาเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้า 1-2 แห่งในญี่ปุ่นและจีน รวมทั้งการเตรียมขยายการลงทุนในพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น พลังงานลม และพลังงานชีวมวล ต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท
ก็ยิ่งทำให้ความต้องการเงินสด และสภาพคล่องที่เพียงพอ กลายเป็นความจำเป็น ไม่ใช่แค่ทางเลือก…ยอ่าที่ว่า มีเงินสด ก็จ้างผีโม่แป้งได้
ค่าดี/อี เมื่อสิ้นงวดปี 2559 ของ SUPER ที่ระดับ 2.7 เท่า และ ค่า current ratio ที่ถึงขั้นฝืดเคือง 0.18 เท่า ทำให้เห็นว่า เหตุใด การเร่งตั้งกองทุนขนาด 12,000 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อขายทรัพย์สินออกจากบริษัท เพื่อทั้งลดหนี้ และ เสริมสภาพคล่องทางการเงิน มีความสำคับอันดันแรกอย่างไร หลังจากสิ้นสุดเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป ….เพราะคนถือ SUPER-W3 มากกว่า 2,000 ล้านหน่วย ไม่ยอมแปลงเป็นหุ้นสามัญในราคาแปลงสิทธิ์ 4.00 บาท ดังที่หวังเอาไว้
การที่SUPER จะเกิดสภาพ “สวรรค์อยู่ที่เจ้าหนี้ ส่วนนรกอยู่ที่ผู้ถือหุ้น”…เพราะกำไรมาเท่าไหร่ เอาไปใช้หนี้มากกว่าจ่ายปันผลเสมอ ถือเป็นปกติธรรมดา
ยังไม่รู้อีกนานแค่ไหน
อิ อิ อิ