(หุ้น) ทีคิวเอ็ม

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด หรือ TQM เป็นโบรกเกอร์ขายปร


ลูบคมตลาดทุน : ธนะชัย ณ นคร

 

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด หรือ TQM เป็นโบรกเกอร์ขายประกัน

มีการขายทั้งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และประกันวินาศภัย

รูปแบบของธุรกิจก็เหมือนกับหุ้น ASN หรือ บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด (มหาชน) นั่นแหละ

เพียงแต่ว่า ASN เป็นบริษัทนายหน้าขายประกันที่มีขนาดค่อนข้างเล็กกว่ามาก

และเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai

ส่วนทีคิวเอ็มฯ มีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเช่นกัน

ทว่าจะเข้าใน

ในปี 2559  ทีคิวเอ็มฯ มีเบี้ยประกันรับกว่า 9,500 ล้านบาท

และในปี 2560 ตั้งเป้าหมายว่า จะมีเบี้ยประกันรับเพิ่มขึ้นอีก 10% หรือคิดเป็น 10,500 ล้านบาท

เบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น นอกจากจะมาจากลูกค้าเก่าที่ต่ออายุเบี้ยประกันกับทีคิวเอ็มฯ มากกว่า 80-85% แล้ว

ก็ยังมีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเบี้ยประกันรับของ ทีคิวเอ็มฯ จะเห็นว่า มีจำนวนขนาด หรือมากกว่าบริษัทประกันชีวิต และวินาศภัยรายใหญ่ และกลางหลายๆ แห่งเสียอีก

ที่สำคัญกว่านั้น บริษัทนายหน้าขายประกันนั้น ไม่มีภาระการตั้งสำรองฯ ใดๆ ทั้งสิ้น

และแทบจะไม่มีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ

หรือหากมีก็จะต่ำมากๆ

อย่างบริษัทประกันภัย (วินาศภัย) ความเสี่ยงคือ การมีการเคลมสินไหมจากภัยต่างๆ ที่เป็นรายใหญ่  หรือเหตุการณ์ใหญ่ๆ เช่น เพลิงไหม้ น้ำท่วม

ค่ายประกันเหล่านี้ หากตั้งการ์ด หรือมีเงินกองทุนกันไม่แข็งแกร่ง

เจ็บตัวทันทีครับ

ส่วนบริษัทประกันชีวิตเองก็ต้องมีการตั้งสำรองฯ เช่นกัน

เช่น หากมีการออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตระยะสั้นออกมาจำนวนมาก ก็ต้องตั้งสำรองฯ ไปตามสัดส่วนที่มีเบี้ยประกันเข้ามา

เช่นของ บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA

ที่ 1-2 ปีก่อนหน้านี้ ออกกรมธรรม์ระยะสั้นมาขาย และทำให้ต้องมีภาระตั้งสำรองฯ กระทั่ง กำไรปรับลดลง

และบางไตรมาสถึงกับขาดทุน

แต่ในที่สุดก็ต้องบอกเลิกไป หรือขายในจำนวนที่น้อยลง

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งสำรองฯ กรณีไปลงทุนในพันธบัตร และอัตราดอกเบี้ยปรับลงมา ก็ต้องตั้งสำรองฯ เพิ่มเช่นกัน

แต่บริษัทนายหน้าขายประกันไม่ต้องมีภาระเหล่านี้

มีรายได้จากเบี้ยประกันมาเท่าไหร่

หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกไป ที่เหลือคือกำไร

ปัจจุบัน ทีคิวเอ็มฯ มีพนักงานอยู่กว่า 4,000 พันคน และในจำนวนนี้เป็นฝ่ายมาร์เก็ตติ้งประมาณ 2,000 คน

ที่เหลือเป็นพนักงานที่ทำงานด้านบริการหลังการขาย

เห็นไหมไม่ใช่แค่จำนวนเบี้ยประกันเท่านั้นที่มีขนาดใหญ่กว่าบริษัทประกัน แต่จำนวนพนักงานก็ยังมีมากกว่า

ทีคิวเอ็มฯ ในขณะนี้ มีการให้ที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามาเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับทางด้านภายในบริษัทแล้ว ก่อนจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

แต่ยังไม่กำหนดว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ และจะเข้าตลาดหุ้นในช่วงใด

“ดร.อัญชลิน พรรณนิภา” ซึ่งเป็นประธานของ ทีคิวเอ็มฯ บอกไว้อย่างน่าสนใจ

เขาบอกว่า ก็ต้องดูความพร้อมทั้งภายใน (บริษัท) และภายนอก

หากภายในพร้อมแล้ว แต่ภาวะตลาดยังไม่เอื้ออำนวยมากนัก ก็อาจจะต้องรอไปก่อน

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เมื่อทีคิวเอ็มฯ เข้าไปในตลาดหุ้นแล้ว ก็จะต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องที่ดี มีวอลุ่มการซื้อขายตลอดเวลา ไม่ใช่เข้าไปแล้วเงียบ และราคาก็ทรุดลง

หากเป็นแบบนี้ก็ไม่แฮปปี้

ทีคิวเอ็มฯ มีรายได้ และกำไรเติบโตขึ้นทุกปี

ที่สำคัญ มีผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยและชีวิต ที่ร่วมกับบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตร เพื่อขายผ่านช่องทาง หรือกับบริษัททีคิวเอ็มฯ เท่านั้น

ลักษณะของธุรกิจทีคิวเอ็มฯ สามารถต่อยอดธุรกิจไปขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบอื่นได้ด้วย เช่น กองทุน

หากทีคิวเอ็มฯ เข้าตลาดหุ้นสำเร็จ

ก็น่าจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจอีกตัวในกลุ่มการเงิน

Back to top button