UBIS โดนปลดปล่อยแล้ว!!
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 60 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ปลดเครื่องหมายห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ (SP) ของ UBIS นับตั้งแต่การซื้อขายในช่วงรอบเช้าของวัน หลังจากบริษัทเผยแพร่ข้อมูลงบการเงินได้ครบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คุณค่าบริษัท
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 60 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ปลดเครื่องหมายห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ (SP) ของ บริษัท ยูบิส (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ UBIS นับตั้งแต่การซื้อขายในช่วงรอบเช้าของวัน หลังจากบริษัทเผยแพร่ข้อมูลงบการเงินได้ครบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ด้วยผลการดำเนินงานงบปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทมีรายได้จากการขายขยับขึ้นมาอยู่ที่ 848.82 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 827.33 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 113.41 ล้านบาท หรือ 0.50 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 109.62 ล้านบาท หรือ 0.48 บาทต่อหุ้น
สำหรับผลกำไรสุทธิปี 2559 เพิ่มขึ้น เนื่องจากปี 2559 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้เท่ากับ 849 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 เป็นจำนวนเงิน 22 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 สาเหตุหลักมาจากบริษัทมีรายได้จากสัดส่วนการขายในต่างประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2559 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรขั้นต้น 342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 เป็นจำนวน 18 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 40 (ปี 2558 อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 39) ผลประกอบการที่ดีขึ้นเนื่องจากการบริหารการขายสินค้า และการควบคุมประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น
ปรากฏการของผลการดำเนินงานในปี 59 ออกมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทำให้หลังปลดเครื่องหาย SP ราคาหุ้นรับอานิสงส์ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง โดยราคาหุ้น UBIS เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ปรับตัวขึ้นมาปิดที่ 6.70บาท บวกไป0.85 บาท หรือขึ้นไป 14.53 % มูลค่าการซื้อขาย 64.89 ล้านบาท เป็นการปรับตัวขึ้นอย่างสวยงามตามท้องเรื่อง…จริงๆ
สิ่งสำคัญเมื่อดูค่า P/E ถือว่าถูก เนื่องจากค่า P/E ของบริษัทยังอยู่ที่ 9.37 เท่า
ถือว่า UBIS เป็นบริษัทที่พื้นฐานดี หากดูจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นมากขึ้น ด้วยการดูผลประกอบย้อนหลังพอสังเขป ด้วยปี 2556-2559 ตามลำดับ สำหรับปี 2556 บริษัทมีกำไรสุทธิ 87.08 ล้านบาท ต่อมาในปี 2557 บริษัทมีกำไรสุทธิ 82.44 ล้านบาท ส่วนในปี 2558 บริษัทมีกำไรสุทธิ 109.62 ล้านบาท และในปี 2559 บริษัทมีกำไรสุทธิ 113.41 ล้านบาท
นับว่าเป็นเรื่องดี ที่บริษัททำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากบริษัทยังมีจุดแข็งทางด้านตัวธุรกิจเอง อย่างเช่นตลาดยางยาแนวฝากระป๋อง เพราะในประเทศมีผู้ผลิตและขายสินค้าเพียง 2 ราย คือ UBIS และบริษัทคู่แข่งอีก 1 รายเท่านั้น การแข่งขันจึงขึ้นอยู่กับการยอมรับของเทคโนโลยีการผลิตและความเชื่อถือในด้านคุณภาพของผู้ผลิต
ขณะที่ในตลาดต่างประเทศคู่แข่งเป็นบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ จึงมีความได้เปรียบกว่า ฉะนั้นบริษัทจึงมุ่งเน้นด้านการวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ คุณภาพ กระบวนการผลิต และระบบการบริหาร เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้และให้เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมอย่างเท่าเทียมกัน
ส่วนตลาดแลคเกอร์เคลือบกระป๋อง UBIS ถือเป็นผู้ผลิตไทยรายเดียวที่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ในกลุ่มห้าอันดับแรกของตลาดในประเทศใกล้เคียงกับผู้ผลิตแลคเกอร์ต่างประเทศ โดยสัดส่วนการตลาดจะเฉลี่ยใกล้เคียงกัน
อนึ่งสภาพการแข่งขันในตลาดแลคเกอร์เคลือบกระป๋องอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เนื่องจากคู่แข่งในตลาดแต่ละรายมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งมีฐานลูกค้าเป็นของตนเอง ทำให้ไม่มีรายใดเป็นผู้กำหนดทิศทางการตลาดอย่างชัดเจน อีกทั้งลักษณะจำเพาะของธุรกิจ และเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในธุรกิจนี้มากนัก
UBIS มีดีที่ผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง!!
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- นายพิชัย สถาวรมณี 18,120,000 หุ้น 7.95%
- นายสวัสดิ์ ทั่งวัฒโนทัย 14,030,850 หุ้น 6.15%
- นายวีรโชติ พรสมหมาย 13,420,500 หุ้น 5.89%
- นายวีระพงษ์ รัตนประภาต 10,270,000 หุ้น 4.50%
- นายศิริศักดิ์ ปิยทัสสีกุล 10,000,000 หุ้น 4.39%
รายชื่อกรรมการ
- นายฉัฐภูมิ ขันติวิริยะประธานกรรมการบริษัท
- นายฉัฐภูมิ ขันติวิริยะประธานกรรมการบริหาร
- นายณวรรธน์ ตริยพงศ์พัฒนากรรมการผู้จัดการ
- นายณวรรธน์ ตริยพงศ์พัฒนากรรมการ
- นายสว่าง ทั่งวัฒโนทัยกรรมการ