ถนนสายไหม และ คอคอดกระ

การจัดประชุมนานาชาติของจีน ที่เรียกว่า Belt and Road initiative หรือ One Belt One Road (เรียกสั้นๆ ว่า OBOR) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยวงเงินลงทุนมากกว่า 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านไปแล้ว โดยมีประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ของจีนเป็นแกนนำ และ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญ


พลวัตปี 2017 : วิษณุ โชลิตกุล

การจัดประชุมนานาชาติของจีน ที่เรียกว่า Belt and Road initiative หรือ One Belt One Road (เรียกสั้นๆ ว่า OBOR) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยวงเงินลงทุนมากกว่า 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านไปแล้ว โดยมีประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ของจีนเป็นแกนนำ และ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญ

แล้วก็คงเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง ที่โครงการก่อสร้างนานาชาติที่มีเจือปนด้วย “ความฝันยามเที่ยงหลากมิติ” ในระดับสำคัญ ย่อมมีคนตั้งคำถาม โต้แย้ง และสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ และข้อดีข้อเสีย

โครงการ OBOR สะท้อนให้เห็นการย้อนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนนอกประเทศของจีน โดยปัดฝั่น “ปลุกซากคืนชีพ” ที่ขยายการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค ในยุคโบราณมาทำให้ทันสมัย เพื่อผลประโยชน์ของจีน และของบรรดาประเทศที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้อยพัฒนา ถือเป็นเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21

ในอดีตยุคโบราณตั้งแต่ครั้งโรมันเรืองอำนาจในยุโรป และราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เส้นทางสายไหมทางบก ได้เป็นเส้นทางการค้าและวัฒนธรรมของชาวจีนผ่านภูมิภาคเอเชียกลาง (อันเป็นแหล่งเชื่อมต่อภูมิยุโรปและโลกตะวันตก มีความยาวประมาณ 6,437 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากสินค้าแล้ว ยังส่งผ่านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสารพัดไปมาระหว่างกัน โดยมีเส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นองค์ประกอบเสริม ก่อนที่จะสะดุดหยุดลงในช่วง “Great Divergence” เมื่อเทคโนโลยีของยุโรปแซงหน้าจีน หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม 2 ครั้ง ในคริสต์ศตวรรษที่ 18

นับแต่ปี ค.ศ. 2014 เศรษฐกิจจีนที่รุ่งเรืองจากการส่งออกได้แซงหน้าสหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนทางตรงมากที่สุดในโลก และมีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศระดับหัวแถวโลก แต่เริ่มเผชิญกับปัญหาโครงสร้าง ที่เกิด “กับดักชาติรายได้ปานกลาง” จนตัวเลขส่งออกถดถอย และกานรชะงักงันในประเทศ ต้องมองหาทางเลือกใหม่เพื่อสร้างระลอกใหม่ของการเติบโต หลังปรับดุลยภาพใหม่ระยะสั้น

ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง และนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อ เฉียง ทำการออกแบบและริเริ่มเป็น OBOR อย่างเป็นทางการ โดยวางกรอบเป็น 2 ส่วน คือ

– Silk Road Economic Belt การเชื่อมโยงทางบก ผ่านเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก เอเชียใต้ อาเซียน ตะวันออกกลาง และยุโรป

– Maritime Silk Road การเชื่อมโยงทางทะเล ระหว่างจีนกับประเทศในแถบภูมิภาคมหาสมุทร ได้แก่ อาเซียน โอเชียเนีย แอฟริกาเหนือ แปซิฟิก รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย

ทั้งสองโครงการนี้ หากบรรลุเป้าหมายแม้เพียงครึ่งเดียวก็ถือว่า โมเมนตัมของการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะถูกเคลื่อนย้ายจากภูมิภาคตะวันตกมาสู่ภาคตะวันออกอย่างเด่นชัด (Reversed Global Economic Shift) โดยมีจีนเป็นแกนหลักที่มีเดิมพันสูงสุด

กรณีของไทย ไม่ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทยจะได้รับเชิญเข้าร่วมในวาระสำคัญเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่จีนหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของจีนที่จะบรรลุได้สำหรับโครงการ  Maritime Silk Road จะต้องมีการขุดคอคอดกระในภาคใต้ของไทยรวมอยู่ในแผนด้วยเสมอ

เหตุผลหลักคือ การขุดคอคอดกระเป็นคำตอบที่สำคัญในการแก้ปัญหาความแออัดและอิทธิพลของสหรัฐฯ เหนือช่องแคบมะละกาอย่างมีนัยสำคัญ นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่โดดเด่นว่า คอคอดกระเหมาะสมหลายด้าน ทั้งการเป็นศูนย์กลางระหว่างเมียนมาและสิงคโปร์ ไม่ติดชายแดนมาเลเซีย และย่นระยะการเดินทางได้ 700 กิโลเมตร หรือ 40 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับช่องแคบมะละกา

จีนเอง ไม่เคยอำพรางท่าที แต่พร้อมจะรอคอย เนื่องจากรู้ดีว่าเป็นประเด็นเปราะบางทางการเมืองอย่างยิ่งในสังคมไทยมายาวนาน การไม่เชิญพลเอกประยุทธ์ไปร่วมงานครั้งที่ผ่านมา เพราะต้องการหลบเรดาร์เท่านั้น

แนวคิดการขุดคอคอดกระ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระนารายณ์แล้ว และนานๆ ครั้งจะมีการยกขึ้นมานำเสนอเป็น “ความฝันของดอน กิโฮเต้” มาตลอด โดยมีการศึกษากันไว้ อยู่ 2 แนว คือ แนวแรก 5A (สตูล-สงขลา) และแนวหลัง 9A ซึ่งเป็นแนวที่มีคนเห็นด้วยว่าเป็นไปได้มากสุด คือ แนว 9A ในพื้นที่คาบเกี่ยว 5 จังหวัด คือ จาก ระโนด สงขลา-ควนขนุน- นครศรีธรรมราช-กันตัง-อ่าวน้อยกระบี่ โดยอ้างว่าเป็นเส้นทางที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพป่าน้อยที่สุด โดยมีวงเงินลงทุนล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ว่าจะอยู่ที่ 48,000 เหรียญสหรัฐ คาดว่าจะใช้เวลาขุด 6 ปี
พิมพ์เขียวโครงการคอคอดกระ ยังรวมการนำดินที่ได้จากการขุดคลองไปถมทำเกาะเทียม 2 เกาะ ที่ฝั่งอ่าวไทย คือที่ “เกาะเหนือ” จ.สงขลา และฝั่งอันดามัน “เกาะใต้” ที่ จ.กระบี่ เพื่อทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว เขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่าเรือน้ำลึก ศูนย์โลจิสติกส์ สถานีขนส่ง และคลังสินค้า
นอกจากนั้นยังจะสร้างสะพานแขวนเชื่อม 2 ฝั่งของคลองขุด 4 สะพาน สำหรับรถยนต์และสำหรับรถไฟ และ 5 อุโมงค์ลอดใต้คลองสาขา เป็นถนน 3 ช่องจราจร แยกไปกลับ

ฝันของจีนที่วาดเอาไว้คร่งโลก โดยมีไทยเป็นเศษเสี้ยวที่สำคัญมากนี้ เริ่มนำเสนอออกมาโดยมีนายทหารนอกราชการและในราชการบางส่วนสนับสนุนในบานะนายน้าของจีน แต่จะบรรลุผลหรือไม่ เป็นเรื่องชี้ขาดในอนาคต

เพียงแต่ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของจีน และความเปราะบางในประเทศของไทย ยังคงท้าทายว่าจะลงเอยอย่างไร

 

Back to top button