DTAC ความเสี่ยงบนปลายลิ้น

เคยบอกไปแล้วว่า สัญญาการเป็นคู่ค้าระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ในการให้บริการ 4G LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz มีความเสี่ยงหลายด้านรออยู่ข้างหน้า


แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

เคยบอกไปแล้วว่า สัญญาการเป็นคู่ค้าระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT  กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ในการให้บริการ 4G LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz มีความเสี่ยงหลายด้านรออยู่ข้างหน้า

แล้วก็มีจนได้ แต่ความเสี่ยงที่เกิดสูงสุด นี่เป็นความเสี่ยงที่จะไม่เกิดขึ้นในที่อื่นๆ นอกจากประเทศไทย

ถือเป็นอัตลักษณ์ไทยก็ว่าได้…ห้ามลอกเลียนแบบ แม้ไม่สงวนลิขสิทธิ์

ที่ว่าแปลกเพราะเป็นความเสี่ยงจากปลายลิ้นของคนที่มีอำนาจกำกับดูแลและออกกฎกติกาในธุรกิจโทรคมนาคม

ดังที่ทราบกันดี กรณีสัญญาการเป็นคู่ค้านั้น  มีอยู่ว่า  TOT ได้คัดเลือกพันธมิตรคลื่น 2300 MHz เพียงรายเดียว ที่เสนอผลประโยชน์ที่ดีที่สุด ให้เป็นคู่ค้าให้บริการไร้สายบนโครงข่ายคลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เป็นเวลา 8 ปี โดยมีจำนวนคลื่นภายใต้สัญญาคู่ค้าคิดเป็น 60% ของคลื่นที่ทีโอทีมีอยู่ ส่วนที่เหลืออีก 40% ทีโอที จะเป็นผู้ดำเนินการบริหารเอง

เงื่อนไขสำคัญของการเป็นคู่ค้าอยู่ที่ กลุ่ม บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DTAC จะเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีสถานีฐานจำนวนกว่า 20,000 แห่ง ให้ TOT เช่าใช้งานซึ่งมากที่สุดในบรรดาโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย โดย TOT เป็นผู้บริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารไร้สายนี้ด้วยตนเอง และจะให้บริษัทในกลุ่มฯ ใช้บริการโดย TOT จะมีรายได้ ปีละ 4,510 ล้านบาท สำหรับการใช้งานโครงข่าย 60% โดยอาศัยจุดเด่นของบริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งมีช่องสัญญาณที่กว้างถึง 60 MHz  สามารถให้บริการดาวน์โหลดได้ถึง 300 เมกะบิต โดยในอนาคต TOT มีแผนจะนำไปขยายเพื่อให้บริการให้พื้นที่ห่างไกลตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ

สาระหลักข้างต้น คนทั่วไปยังไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง เพราะว่าต้องรอความชัดเจนจากรายละเอียดสัญญาระหว่าง TOT และ DTAC ที่มีกำหนดส่งไปยัง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้

แล้วจู่ๆ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ไม่รู้กินยาผิดซองมาจากไหน ออกมาประกาศว่า  สัญญาการเป็นคู่ค้าระหว่าง TOT  กับ DTAC บนคลื่นความถี่ 2300 MHz  จะต้องไม่เกินขอบเขตตามที่กสทช.อนุญาตไว้ โดยเฉพาะการให้ทำแพ็กเกจและโปรโมชั่น สำหรับการให้บริการ 4G

ถ้าข้อห้ามที่เลขาฯ กสทช.ว่ามา จะทำให้ DTAC ไม่สามารถนำคลื่นความถี่ 2300 MHz ไปออกแพ็กเกจบริการเสียง (วอยซ์) รวมกับบริการดาต้าได้

เหตุของที่มา เกิดจากเดิมทีนั้น กสทช. อนุญาตให้ TOT สามารถปรับปรุงคลื่นความถี่ 2300 MHz จำนวน 60 MHz โดยสามารถให้บริการได้เฉพาะประเภทบริการดาต้าเท่านั้น และมีสิทธิใช้งานจนถึงปี 2568 …ไม่ได้รวมถึงบิรการเสียงด้วย

ตามข้อมูลที่มีอยู่ ระบุว่า  TOT ยื่นขออนุญาตการใช้คลื่นความถี่ 2300 MHz ในรูปแบบของการให้บริการด้านข้อมูล หรือดาต้าอย่างเดียว เพื่อนำไปพัฒนาสำหรับธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในรูปแบบเสียง

ประเด็นนี้ ทำให้ กสทช. ต้องย้อนมาพิจารณาว่าการดำเนินงานในการเป็นคู่ค้าระหว่าง TOT กับ DTAC นั้นเกินขอบเขตการใช้งานของใบอนุญาตคลื่นความที่ 2800 MHz หรือไม่

นักวิเคราะห์ได้ยินข่าวนี้เข้า ตาลุกกันเลยทีเดียว เพราะหากเป็นจริงตามที่ว่ามา กสทช. อนุญาตใช้เฉพาะดาต้า ห้ามออกแพ็กเกจรวมกับวอยซ์   ถือเป็นความเสี่ยงต่อ DTAC ที่จะไม่สามารถนำใบอนุญาตใหม่ดังกล่าวมาให้บริการเต็มรูปแบบชดเชยของเดิมที่จะหมดอายุลงในเดือน ก.ย. 2561

จ่ายเงินตั้งปีละ 4,510 ล้านบาท แต่ได้ผลิตภัณฑ์ครึ่งๆ กลางๆ มา ไม่คุ้มเงินลงทุนแน่นอน

การฟันธงของนักวิเคราะห์ ที่แนะให้ “ขาย” จึงตามมาเมื่อเปิดตลาดหุ้นไทยเช้าวันอังคารที่ 6 มิถุนายน ที่ราคาหุ้นของ DTAC ปรับลดลงทันที 1.60% หรือ  0.75 บาท โดยระหว่างวันราคาปรับลดลงต่ำสุด 1.75 บาท ที่ 44.50 บาท เนื่องจากมีแรงเทขายของนักลงทุนออกมาแบบแพนิคเซล  หลังมีข่าว กสทช.เตรียมส่งหนังสือทวงถามไปยัง TOT ให้ส่งสัญญาคู่ค้ากับ DTAC ในการให้บริการ 4G LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz พร้อมโปรโมชั่น มาให้ตรวจสอบ

ก่อนที่แรงซื้อปลายตลาดจะกลับมาช่วยประคอง ให้ราคามาปิดตลาดที่ 46 บาท ลบไป 0.75 ยาท

ความเสี่ยงจากนโยบายเช่นนี้ เป็นส่วนที่เติมเข้ามา นอกเหนือจากความเสี่ยงอื่นๆ ความเสี่ยงยังไม่หายไป เพราะยังมีความเสี่ยงอื่นๆ เช่น 1)  เครื่องโทรศัพท์ลูกข่ายที่ใช้กับคลื่นความถี่ 2300 MHz ยังมีจำนวนน้อยในตลาดเมืองไทย ดังนั้นในการทำการตลาด DTAC ต้องเสนอส่วนลดค่าเครื่องที่สูงเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้บริการย้ายไปใช้คลื่นความถี่ใหม่…2) การต้องลงทุนเพิ่มในเครือข่ายเพิ่มขึ้น  …3) คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ได้มา ก็ยังมีน้อยเกิน เทียบกบคู่แข่งอีก 2 รายในตลาด ทำให้ DTAC ยังต้องมีภาระจ่ายเงินเข้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 850 MHz ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในปี 2561 รองรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G และ 4G อยู่อีก

ทำท่าจะเป็นเทวดาตกสวรรค์มาได้ไม่ครบ 24 ชั่วโมง ก็เกิดข่าวดีแทรกเข้ามาพลิกผันสถานการณ์ เพราะบ่ายแก่ๆ วันเดียวกนั ทั่นเลขาฯฐากร ก็ออกมาให้สัมภาษณ์แบบหนังคนละม้วนว่า เป็นเรื่องเข้าใจไม่ครบถ้วน เพราะแม้จะมีปัญหาที่ TOT ไม่ได้ขออนุญาตบริการทางเสียง แต่หาก TOT ยื่นขออนุญาตให้คลื่นความถี่ 2300 MHz เพื่อใช้บริการวอยซ์เพิ่มเติมเข้ามา….ก็ไม่ใช่ประเด็น

ท่านเลขาฯ ฐากร ระบุชัดถ้อยชัดคำว่า หากคลื่น 2300 MHz ดังกล่าว ต้องการให้ กสทช.อนุญาต  ก็เป็นหน้าที่ให้ทาง TOT สามารถยื่นขอใช้บริการวอยซ์เพิ่มเติมไปด้วย

“…TOTสามารถส่งรายละเอียดสัญญาคู่ค้าดังกล่าวให้ กสทช.ตรวจสอบว่า การดำเนินงานนั้นเกินขอบเขตจากข้อกำหนดเดิมหรือไม่ ซึ่งเกินขอบเขตจากที่กำหนด TOT จำเป็นต้องยื่นคำขออนุญาตให้งานด้านเสียงหรือวอยซ์เพิ่มเติม แต่หากการดำเนินงานไม่เกินขอบเขต TOT ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นคำขอใช้งานเพิ่ม…” ชัดมั้ย?…ชัดมั้ย?

แต่ให้สัมภาณ์ 2 เวลาแบบกลับตาลปัตรอย่างนี้ …คนที่   “ขายหมู” ซวยตายห่าสิขอรับ…ท่านเลขาฯ

Back to top button