ทำไป..เจ๊งไป
เอาจนได้.!?..ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตร ช่วงแรกจากกรุงเทพ-นคราชสีมา ระยะทาง 253 กิโล เมตร วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่ออาเซียนเข้ากับจีน และเริ่มลงมือก่อสร้างตอนแรก 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 425 ล้านบาท เดือนตุลาคม 2560 ช่วงที่สอง คือนครราชสีมา-หนองคาย จะดำเนินการเหลื่อมกันไปประมาณ 1 ปี(ยังไม่ระบุมูลค่าลงทุน)
พลวัตปี 2017 : สุภชัย ปกป้อง (แทน)
เอาจนได้.!?..ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตร ช่วงแรกจากกรุงเทพ-นคราชสีมา ระยะทาง 253 กิโล เมตร วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่ออาเซียนเข้ากับจีน และเริ่มลงมือก่อสร้างตอนแรก 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 425 ล้านบาท เดือนตุลาคม 2560 ช่วงที่สอง คือนครราชสีมา-หนองคาย จะดำเนินการเหลื่อมกันไปประมาณ 1 ปี (ยังไม่ระบุมูลค่าลงทุน)
พร้อมกำหนดอัตราค่าโดยสารช่วงกรุงเทพ-นคราชสีมา จะใช้อัตราเริ่ม 80 บาท บวกเพิ่ม 1.8 บาทต่อกิโลเมตร ระยะทาง 253 กิโลเมตร ค่าโดยสารอยู่ที่ 535 บาท หากลงที่ปากช่อง ค่าโดยสารอยู่ที่ 393 บาท ลงสระบุรี ราคา 278 บาท ลงอยุธยา ราคา 195 บาท โดยรัฐบาลอ้างราคาที่ไม่ถูกและไม่แพงเกินไป เพราะใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
โดยแนวเส้นทางมีทั้งเป็นระดับพื้นดิน ยกระดับและจุดตัดต่างๆมีสะพานข้าม ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด 6 ขบวน ใช้ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่วิ่งจริงเฉลี่ย 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ละขบวนมี 600 ที่นั่ง ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพ-นครราชสีมา 1.17 ชั่วโมง มีกำหนดเปิดบริการปี 2564 โดยปีแรกจะมีผู้โดยสาร 5,310 คนต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น 26,830 คน ในปี 2594 รถจะออกทุก 90 นาที หรือประมาณ 1.30 ชั่วโมง
ดูจากข้อมูลเบื้องต้น..อาจทำให้เคลิบเคลิ้ม..ฝันหวานกันไปว่า..นี้คือผลงานด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แต่ต้องย้อนถึงที่มาโครงการมีการใช้ม.44 ยกเลิกกฎหมายและระเบียบจัดซื้อจัดจ้างถึง 7 ฉบับ เพื่อเอื้อประโยชน์กับประเทศจีน ที่เลวร้ายกว่านั้น มีการยกเว้นหากต้องดำเนินการลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมอีกด้วย
เอาง่ายๆ คือเสมือนประเคนโครงการนี้ให้กับจีนไปโดยปริยาย แม้จะมีข้อแก้ตัวจากรัฐบาลไทยว่า เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงก็ตามที จึงมีคำถามต่อมาว่า..ประเทศไทยและคนไทยได้อะไรจากโครงการนี้..!!?
สาระสำคัญของโครงการนี้..ที่รัฐบาลพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงและอธิบายกับคนไทย นั่นคือ..ผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการนี้ได้อย่างชัดเจน
เมื่อดูจากข้อมูลสาระสำคัญโครงการดังกล่าว มีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง..นั่นก็คือ
1) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ มีมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ(Net Present Value : NPV) เท่ากับ -59,286 ล้านบาท ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์(EIRR) เฉลี่ยอยู่ที่ 8.56% (โดยทั่วไปไม่ควรต่ำกว่า 10-15%)
2) ผลตอบแทนทางด้านการเงิน มีมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ(Net Present Value : NPV)เท่ากับ -220,197 ล้านบาท หากมีการพัฒนาเมืองและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(TOD) จะทำให้มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) เฉลี่ย 2.5% (โดยทั่วไปเฉลี่ยควรอยู่ที่ระดับ 5-10%)
เมื่อดูจากข้อมูลเบื้องต้น พอเป็นคำตอบได้ว่า..ในเชิงเศรษฐศาสตร์โครงการนี้ ถือว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ขืนทำไป..มีแต่เจ๊งกับเจ๊ง..!!??