ศึกใน-ศึกนอก

พลันที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ประกาศงบไตรมาส 2/60 ออกมาขาดทุนสุทธิ 1,245.42 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่ขาดทุนเพียง 82.49 ล้านบาท นั่นทำให้ครึ่งปีแรก TRUE พลิกขาดทุนสุทธิ 2,397 ล้านบาท จากครึ่งแรกปีก่อนกำไร 2,079 ล้านบาท


พลวัตปี 2017: สุภชัย ปกป้อง (แทน)

พลันที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ประกาศงบไตรมาส 2/60 ออกมาขาดทุนสุทธิ 1,245.42 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่ขาดทุนเพียง 82.49 ล้านบาท นั่นทำให้ครึ่งปีแรก TRUE พลิกขาดทุนสุทธิ 2,397 ล้านบาท จากครึ่งแรกปีก่อนกำไร 2,079 ล้านบาท

ทำให้ต้องตั้งคำถามกันละว่า..เมื่อไหร่ค่ายนี้จะมีกำไรกับเขาซะที..!?????

เมื่อเข้าไปดูโครงสร้างรายได้ไตรมาส 2/60 พบว่า 3 ธุรกิจหลัก TRUE ถือว่าไม่ได้ขี้เหร่..อะไรเลย

“ทรูวิชั่น” มีรายได้ 3,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5% จากเคยทำได้ 3,049 ล้านบาท

“ทรูมูฟ เอช” มีรายได้ 27,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 19.6% จากเคยทำได้ 23,032 ล้านบาท

“ทรูออนไลน์” มีรายได้ 7,173 ล้านบาท ลดลงประมาณ 0.9% จากเคยทำได้ 7,240 ล้านบาท

ทำให้รายได้รวมอยู่ที่ 34,942 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 13.6% จากเคยทำได้ 30,752 ล้านบาท

แต่ทว่า…สิ่งที่ตามหลอกหลอน TRUE คือ “ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย” ที่สูงถึง 8,302 ล้านบาท

พร้อมภาระดอกเบี้ยจ่าย 1,408 ล้านบาท

จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้เห็นปัญหา TRUE ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นั่นคือ “ปัญหาหนี้สิน” ที่ต้องแบกไว้กว่า 334,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 5.4% ที่สำคัญสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 463,881 ล้านบาท ดูจะปริ่มๆ กับหนี้สิน จนอดเป็นห่วงแทนไม่ได้ว่า..ขืน TRUE ปล่อยให้ “หนี้พอกพูเพิ่มขึ้น” ไปมากกว่านี้..มันสุ่มเสี่ยง “หนี้สินตีตัวเสมอทรัพย์สิน” ก็เป็นได้

จากกรณีดังกล่าวทำให้ TRUE ต้องเจอทั้ง ศึกใน” และ “ศึกนอก” กล่าวคือ ศึกใน เป็นการเผชิญกับความท้าทายเรื่องการลดต้นทุนทางการเงิน แม้ที่ผ่านมา TRUE มีการใช้วิศวกรรมการเงินหลากหลายช่องทางมาแล้ว แต่ยังไม่สามารถ “สูบน้ำออกจากทะเล” ได้

สุดท้าย “หนี้สินเยอะเหมือนเดิม” นำมาสู่ภาระดอกเบี้ยบดบังความฝันเห็นกำไรต่อไป

สำหรับ “ศึกนอก” คือการแข่งขันกับคู่แข่งในธุรกิจนี้ ไม่ว่า ADVANC-DTAC หรือ JAS ต้องยอมรับว่าจุดแข็งของ TRUE คือมีทรัพยากรคลื่นความถี่ดีกว่าคู่แข่งทุกค่าย ทั้ง คลื่น 900 MHz-1800 MHz-2100 MHz และความเป็นผู้นำธุรกิจ บรอดแบนด์ แต่ปัญหามันอยู่การทำตลาด จึงทำให้ TRUE มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ มีน้อยกว่าคู่แข่งอย่าง ADVANC หรือ DTAC อย่างชัดเจน

ขณะที่ความซับซ้อนของแพ็กเกจต่างๆ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาด ที่สำคัญมันกลาย “บูมเมอแรง” สะท้อนผลเชิงลบต่อค่าย TRUE ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทรูวิชั่น-ธุรกิจทรูมูฟ เอช-ธุรกิจทรูออนไลน์ ล้วนมีผลลัพธ์ที่ไม่ต่างกันมานัก

เมื่อดูตัวเลขรายได้ TRUE งวดล่าสุด ทำให้หลายคนสบายใจขึ้นได้ระดับหนึ่งว่า “ศึกนอก” ของทรู เริ่มสู้รบปรบมือกับคู่แข่งได้มากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือการเบียด DTAC ก้าวขึ้นสู่เบอร์ 2 มาได้ช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่ว่าการประหยัดต้นทุนต่อขนาด (Econnomies of scales) ต้องรอดูกันต่อไป

จากส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ในอนาคตเกิดประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนต่อขนาด (Econnomies of scales) ในเวลาที่ไม่นานนัก.!?

สุภชัย ปกป้อง (แทน)

Back to top button